หมอเลี้ยบยันไทยโมบายต้องไป 3G การลงทุนไม่มีปัญหา แต่ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันและการบริหารจัดการที่ขาดความคล่องตัว ส่วนเรื่องไอซีที ซิตี้ เดินหน้าเต็มที่นำร่องใน 3 จังหวัด ดันบรอดแบนด์ไปถึงเอ็นยูสเซอร์
พร้อมเร่ง จัดระเบียบเกมออนไลน์ให้เข้าที่ แต่ยังไม่การันตีว่าเสร็จเมื่อไหร่
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีกล่าวถึงการให้บริการของไทยโมบาย
โทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ว่าอนาคตของไทยโมบายจะต้องเข้าสู่โทรศัพท์มือถือในยุคที่
3 หรือ 3G ที่เป็นทั้งภาพ เสียง และข้อมูลแน่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้เมื่อไหร่
เพราะปัจจัยหลักคือเรื่องของแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่รู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
ส่วนเรื่องการลงทุน ไม่มีปัญหา เนื่องจากสถานี ฐานของระบบ 3G เริ่มถูกลงมาก แต่ปัญหาสำคัญคือ
เรื่องของความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ที่ขาดการบริหารจัดการที่ดีและขาดความคล่องตัว
เนื่องจากไทยโมบายเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) การดำเนินการด้านการตลาด หรือการทำโปรโมชันแต่ละครั้งต้องขออนุมัติจากบอร์ดแต่ละหน่วยงานก่อน
ซึ่งจะได้มีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในเร็วๆ นี้
"ผมไปดูงานที่สวีเดน ระบบ 1900 เขาเป็น 3G ในระบบวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ ซึ่งในไทยเรื่องนี้มาแน่แต่ไม่รู้เมื่อไหร่อย่างไรก็ตามตรงนี้ก็ยังไม่ถือว่าเราเสีย
โอกาส เพราะแอปพลิเคชั่น 3G ยังมาไม่ถึง โพสิชันของเราขณะนี้ยังเป็น 2 G อยู่"
เดินหน้าโครงการไอซีที ซิตี้
เขากล่าวว่าเรื่องของไอซีที ซิตี้มีการหารือกันมานาน แต่หลังจากมีการประชุมเมื่อต้นเดือนก.ค.ที่ผ่าน
มา ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการทันที โดยเริ่มที่ 3 จังหวัดเพื่อเป็นการนำร่องก่อนคือภูเก็ต
ขอนแก่นและเชียงใหม่ โดยภูเก็ตให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 ปีหลังที่ประชุมมีมติ
ส่วนอีก 2 จังหวัดจะดำเนินการในเขตเทศบาลก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีเช่นกัน
"ไอซีที ซิตี้ที่ภูเก็ตต้องเดินหน้าโดยกระทรวงไอซีทีเป็นผู้นำซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูว่ามีโครงข่ายอะไรบ้าง
เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน อินเทอร์เน็ตว่าจะทำให้ เป็นบรอดแบนด์อย่างไร ซึ่งตรงนี้เชื่อว่าคงไม่ยาก
เพราะมีการเชื่อมโยงทั้งของทศท.และกสท.อยู่แล้ว"
แนวทางการดำเนินงานของโครงการไอซีที ซิตี้ คือการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมให้เข้าถึงผู้ใช้ตาม
บ้านหรือที่เรียกว่า Last Mile แต่จะทำอย่างไรในการ เชื่อมโยงเครือข่ายจากซูเปอร์ไฮเวย์เข้าไปถึงผู้ใช้ตาม
บ้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายที่เป็นเคเบิลใยแก้วหรือโครงข่ายไร้สาย ให้ต้นทุนต่ำที่สุด
การดำเนินการตามโครงการดังกล่าว จะทำให้ผู้บริโภคสามารถดูหนังฟังเพลงทั้งแบบวีซีดี
ดีวีดีเล่น อินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งตรงนี้ต้อง คำนึงถึงความคุ้มค่าด้วย
อย่างกรณีค่าบริการบรอดแบนด์ในยุโรปประมาณ 750-1,000 บาทต่อเดือนหรือประมาณ 15-20
ยูโร
เร่งจัดระเบียบเกมออนไลน์
ส่วนกรณีการจัดระเบียบเกมออนไลน์กระทรวง ไอซีทีกำลังเร่งดำเนินการ แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะแล้วเสร็จหรือลงตัวได้เมื่อไหร่
ซึ่งเรื่องนี้ต้องขึ้น อยู่กับการประชุมร่วมระหว่างนักจิตวิทยา กระทรวงไอซีทีและผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการให้บริการเกมออนไลน์
ต่างๆ เพื่อหาข้อยุติก่อน แต่เรื่องนี้เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์และธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง
"การตั้งเวลาที่เซิร์ฟเวอร์ในการปิดเกมแค่ 4 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้าไม่ใช่ว่าจะเล่นเน็ตต่อไม่ได้
การกำหนด เวลาตรงนี้ก็เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างปัญหายาเสพติด
การ สูบบุหรี่ในที่สาธารณะหรือขับรถในเวลามึนเมา"
สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา นอกจากเรื่องการกำหนดเวลาแล้ว
ยังมีการตามจับและสั่งปิดเซิร์ฟเวอร์เถื่อน รวมถึงการ จัดการกับเจ้าของร้านค้าที่ให้บริการที่ไม่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
ซึ่งตรงนี้หากไม่มีการแก้ไขก็ถือ ว่าเข้าข่ายเล่นการพนันแต่หากผู้ให้บริการได้ดำเนินการตามและรัฐพิจารณาเห็นว่าทำอย่างสุดความสามารถแล้วก็ต้องเอาผิดกับผู้ที่เล่นว่าเข้าข่ายการพนันนอกจากนี้ยังมีการสั่งปิดเว็บบอร์ดที่มีการโพสต์
ให้มีการซื้อขายคะแนนจากการเล่นเกม โดยเฉพาะเกมแร็กน่าร็อก ที่ไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยซึ่งเว็บเหล่านี้มีรายชื่ออยู่ที่กสท.อยู่แล้ว
"รัฐลงทุนด้านโครงข่ายโทรคมนาคมไม่ใช่เพื่อใช้เล่นเกม หากเราไม่ดำเนินการปราบปราม
การลงทุน ตรงนี้ก็ถือว่าไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์"