Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 กรกฎาคม 2546
แบงก์กำไรครึ่งปี 2.9หมื่นล. หนี้เอ็นพีแอลยังสูงลิบเฉียด 7 แสนล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารทหารไทย
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ซิกโก้, บล.
บัณฑูร ล่ำซำ
ประเสริฐ หวังรัตนปราณี
สิริสิน พงศธราธิก
Banking and Finance




เผยผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ครึ่งปีแรก หนี้เอ็นพีแอลลดลงจากไตรมาสก่อนเพียง 14% ยอดรวมยังสูงเฉียด 7 แสนล้านบาท แม้ว่าผลกำไรสุทธิรวมกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 136% โดยมีแบงก์กสิกรไทย นำโด่งกำไรสุทธิสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 183% ขณะที่แบงก์กรุงเทพ กำไรส่วนใหญ่มาจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้

"ผู้จัดการรายวัน" ได้ทำการรวบรวมผลการดำเนินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำไตรมาสที่ 2 และสะสมงวด 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 เทียบกับผลการดำเนินงานของปีก่อน รวมทั้งหมด 13 แห่ง

กลุ่มแบงก์กำไรสุทธิพุ่ง 136%

จากการพิจารณาตัวเลขผลประกอบการประจำงวด 6 เดือน พบว่า ธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้น คือ มีกำไรสุทธิรวมทั้งระบบ 29,718.05 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปี 2546 ที่กำไรสุทธิ 12,577.63 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 136.28%

สำหรับธนาคารที่มีผลประกอบการลดลงจากปีก่อนมีเพียง 3 แห่ง คือ ธนาคารไทยธนาคาร ที่มีกำไรสุทธิ 93.83 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 84.74% ธนาคารกรุงไทย กำไรสุทธิ 1,584.16 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 66.97% และธนาคารนครหลวงไทย กำไรสุทธิ 1,379.14 ล้านบาท กำไรสุทธิลดลง 4.92%

กสิกรไทยกำไรรวมกว่าหมื่นล้าน

ขณะที่แบงก์พาณิชย์ที่มีกำไรสุทธิปรับตัวสูงขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1.ธนาคารไทยพาณิชย์ กำไรสุทธิ 5,971.40 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 764.79% อันดับ 2.ธนาคารทหารไทย กำไรสุทธิ 1,568.85 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 243.60% และอันดับ 3.ธนาคารยูโอบี รัตนสิน กำไรสุทธิ 11.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 235.31%

หากพิจารณาความสามารถในการทำกำไรสุทธิแล้ว ปรากฏว่า ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิรวมสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ คือมีกำไรสุทธิรวม 10,883.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 183.27%

หนี้เอ็นพีแอลสูงเกือบ 7 แสนล้าน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะมีกำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 140% แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล แล้วพบว่า หนี้เอ็นพีแอลรวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ยังสูงกว่า 698,058.00 ล้านบาท ลดลงจากเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2546 ที่มีเอ็นพีแอลกว่า 812,949.21 ล้านบาท หรือ ลดลงเพียง 14.13% เท่านั้น

โดยธนาคารกรุงเทพ มีหนี้เอ็นพีแอลสูงสุด 240,097.13 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 28.69% ของสินเชื่อรวมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ธนาคารไทยพาณิชย์ เอ็นพีแอล 118,753.12 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 24.47% และธนาคารกรุงไทย เอ็นพีแอล 110,352.67 ล้านบาท หรือคิดเป็น สัดส่วน 11.29%

กสิกรฯสินเชื่อรวมเฉียด 5 แสนล้าน

นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในครึ่งปีแรกธนาคารมีสินทรัพย์จำนวน 796,509.2 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 494,237.9 ล้านบาท เงินฝาก 678,144.2 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 10,883.5 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 4.63 บาท เทียบกับปี 2545 กำไร 3,842.1 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 1.63 บาท เพิ่มขึ้น 183.27%

สำหรับผลดำเนินการเฉพาะไตรมาส 2 ปี 2546 กำไร 8,235.6 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 3.50 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไร 1,919.4 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.82 บาท เพิ่มขึ้น 329.06%

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จำนวน 85,387 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17.23% ของเงินให้สินเชื่อที่ใช้คำนวณ (495,634 ล้านบาท) และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารที่ 13.87% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 8.82% และชั้นที่ 2 ที่ 5.05%

ธ.กรุงเทพรายได้ดบ.ลดเหลือ 1.1 หมื่นล้าน

ธนาคารกรุงเทพ แจ้งเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เกิดจากการขยายตัวของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกจำนวน 1,422 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.7 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นที่กำไรจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ รวมทั้งการขยายตัวของสินเชื่อ คือ มียอดสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 8,027 ล้านบาท จากจำนวน 830,622 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2545 เป็น 838,649 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2546 หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.3%

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2546 ธนาคารมียอดเงินฝากรวม 1,088,792 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 26,127 ล้านบาท จากยอดเงินฝากเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2545 ขณะที่ด้านรายได้ดอกเบี้ยลดลง จากไตรมาสแรกที่มี 13,182 ล้านบาท เป็น 11,704 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 371 ล้านบาท เป็น 6,988 ล้านบาท

แบงก์ไทยกำไรครึ่งปีลด 85%

เหตุรายได้ดบ.-เงินปันผลลด

นายประเสริฐ หวังรัตนปราณี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านการเงิน ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวถึง สาเหตุที่ทำให้ธนาคารมีกำไร สุทธิลดลงเกือบ 85% ว่า เกิดจากธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลลดลง 799 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง 387 ล้านบาท และรายได้จากเงินปันผลจากเงินลงทุนลดลง 412 ล้านบาท เนื่องจากปีก่อน ธนาคารรับรู้เงินปันผลของบล.ธนสยาม ซึ่งเป็นบริษัทบริษัทย่อย จำนวน 447 ล้านบาท

ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงจำนวน 542 ล้านบาท เนื่องจากเงินฝากและต้นทุนเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากลดลง รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 170 ล้านบาท เพราะกำไรจากการขายสินทรัพย์ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 95 ล้านบาท

ยูโอบีรายได้ดอกเบี้ยรับพุ่ง 385 ล้าน

นางสิริสิน พงศธราธิก ผู้ช่วยกรรมการจัดการสายงานบัญชีและการเงิน ธนาคารยูโอบี รัตนสิน กล่าวว่า ธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจากงวดเดียวกันของปีก่อน 385 ล้านบาท หรือ 110% โดยมีรายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้น 176 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการที่ปริมาณสินเชื่อเฉลี่ยของธนาคารขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7,500 ล้านบาท ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงทำให้ค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 210 ล้าน บาท หรือลดลง 32%

สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 26 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการลดลงของกำไรจากการปริวรรต 42 ล้านบาท และการลดลงของค่าธรรมเนียมรับจากธุรกิจบัตรเครดิต 18 ล้านบาท ในขณะที่ธนาคาร มีกำไรจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาท

ด้านค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก งวดเดียวกันของปีก่อน 93 ล้านบาท หรือ 13% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของสินเชื่อผู้บริโภค

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us