Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535
"ม.ล. ชูชาติ กำภู บิดาแห่งชลประทานซีเมนต์"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

ชลประทานซีเมนต์, บมจ.
Cement
ชูชาติ กำภู, ม.ล.




ชีวิตคน ๆ หนึ่งเกิดมาแล้วดับสิ้นไปแต่ร่างกาย แต่ชื่อเสียงและคุณความดีของบุคคลนั้นได้เล่าขานสืบต่อมาถึงรุ่นหลัง ม.ล. ชูชาติ กำภู กำเนิดในราชสกุล บิดาชื่อพลตรี พระยาสุรเสนา (ม.ร.ว. ชิต กำภู) จบการศึกษาระดับสูงด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่อุทิศร่างกายและจิตใจแก่งานมวลชน

ในฐานะนักสร้างสรรค์งานราษฎร์และงานหลวงแบบครบวงจร นับตั้งแต่งานสร้างคนและงานสมัยเป็นอธิบดีกรมชลประทานโดยก่อตั้งโรงเรียนช่างชลประทานในปี 2481 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตร เพื่อผลิตบุคลากรให้กับโครงการริเริ่มใหม่ ๆ ในอนาคต

ข้าราชการที่จิตสำนึกแห่งผู้ประกอบการผู้นี้ได้สร้างสรรค์งานในรูปของบริษัทหลายต่อหลายโครงการอาทิเช่น บริษัทชลประทานซีเมนต์ ซึ่งเกิดจากโครงการเขื่อนภูมิพล บริษัทปุ๋ยเคมีอันเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเหมืองลิกไนท์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางซึ่งให้ผลิตผลแอมโมเนียอันเป็นวัตถุดิบทำปุ๋ย โครงการนี้เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของบริษัทปุ๋ยแห่งชาติและบริาทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทย

"ไม่ว่าท่านจะกู้เงินมาสร้างการชลประทาน มาสร้างเขื่อนภูมิพล มาสร้างโรงไฟฟ้า มาสร้างโรงซีเมนต์ มาสร้างโรงปุ๋ย ทุกเรื่องไม่ใช่ได้มาง่าย ๆ งานที่สำเร็จได้ก็เพราะท่านเป็นผู้เสียสละผลประโยชน์และความสุขส่วนตัว โดยมิได้เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เรื่องการทำงานในวันหยุดวันเสาร์อาทิตย์ หรือทำงานกลางคืน รู้สึกว่าจะเป็นงานประจำของท่าน และข้าราชการกรมชลประทาน บางคนสมถะหน่อยก็ปรารภในเชิงเห็นใจว่า ท่านจะทำไปถึงไหน ทำแล้วก็ไม่เห็นได้อะไรกับตัวเองเลย เงินเดือนก็เต็มขั้นแล้ว ถ้าจะนั่งเฉย ๆ ก็ได้รับเงินบำนาญเท่าเงินเดือน เหรียญตราสายสะพายก็ได้รับจนเกือบครบทุกอย่างแล้ว ยังจะคิดทำอะไรอีก ควรจะพักผ่อนหาความสุขใส่ตัวเองเสียบ้าง" ฉลาด ไวทยานุวัติ อดีตข้าราชการกรมชลประทานที่เป็นลูกหม้อเก่าของบริษัทชลประทานซีเมนต์เล่าให้ฟัง

มูลค่างานที่ ม.ล. ชูชาติ กำภูได้สร้างสำเร็จไว้ในครั้งกระนั้นทั้งด้านชลประทานและบริษัทดังกล่าวคิดเป็นเงินจำนวนมหาศาลประมาณ 6,545 ล้านบาท ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นเงินปีละ 2,589 ล้านบาท และมีคนจำนวนนับ 6-8 ล้านคนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการไฟฟ้า ชลประทานและก่อสร้างงานขนาดใหญ่นี้

กล่าวได้ว่า "บิดาแห่งชลประทานซีเมนต์" คือ ม.ล. ชูชาติ กำภู เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดโครงการนี้ ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากที่รัฐบาลได้ตัดสินใจจะสร้างเขื่อนภูมิพลเพื่อเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำขึ้นอีกจำนวน 560,000 กิโลวัตต์หรือปีละ 2,300 ล้านยูนิต

โดยเหตุที่โครงการสร้างเขื่อนนี้ต้องใช้ปูนซีเมนต์พิเศษที่มีคุณสมบัติเฉพาะการก่อสร้าง และเพื่อให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกลง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2497 ม.ล. ชูชาติ กำภูก็ดำริและก่อตั้ง "บริษัท ชลประทานซีเมนต์" ได้สำเร็จในเดือนกันยายน 2499 โดยประเดิมทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 60 ล้านบาทและได้มีการกระจายหุ้นให้ข้าราชการกรมชลประทานเป็นผู้ถือหุ้นด้วย

ในขณะนั้นราคาปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทยผลิตนั้น ราคาถึงเมตริกตันละ 650 บาท ซึ่งเมื่อรวมค่าขนส่งอีกตันละ 350 บาท ราคาปูนซีเมนต์จะแพงขึ้นเป็นตันละ 1,000 บาท แต่เมื่อชลประทานซีเมนต์ผลิตออกจำหน่ายเพียงราคาตันละ 500 บาท และเมื่อรวมค่าขนส่งจะตกตันละ 600 บาทเท่านั้น และในเวลาต่อมาราคาปูนซีเมนต์ก็ต่ำลง เช่นในปี 2502 ปูนปอร์ตแลนด์ลดเหลือตันละ 520 บาท และปูนผสมเหลือตันละ 440 บาทเท่านั้น

โรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัทชลประทานซีเมนต์ ตั้งอยู่ที่ตำบลโพนทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ 1,025 ไร่ แต่เป็นที่ตั้งโรงงานเพียง 50 ไร่ ส่วนที่เหลือเก็บไว้สำหรับขุดดินขาวมาใช้เป็นวัตถุดิบ

ปูนซีเมนต์ที่บริษัทผลิตในระยะแรกเริ่มใช้ตรา "พญานาค" อันเป็นสัญลักษณ์ประจำของกรมชลประทานเป็นสำคัญ โดยประเภทของปูนซีเมนต์มีอยู่ 4 ชนิด คือ ปูนปอร์ตแลนด์ชนิดธรรมดา ปูนสำหรับตอม่อสะพานหรือเขื่อนกั้นน้ำ ปูนชนิดแข็งตัวเร็วพิเศษสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องเทในน้ำ และปูนผสมหินปูนตรางูเห่า สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป

การออกปูนซีเมนต์ใหม่ขึ้นมาในตลาดภาคเหนือ ได้ทำให้ราคาปูนซีเมนต์ที่เดิมขายแพงถึงตันละ 1,000 บาท (รวมค่าขนส่งด้วย) ก็ได้มีราคาถูกลงครึ่งหนึ่งคือ ขายเพียงราคาตันละ 500 บาทเท่านั้น เป็นเงินที่สามารถประหยัดต้นทุนได้ถึงปีละ 116 ล้านบาท

ด้วยปัจจัยการตลาดที่เอื้ออำนวย ทำให้ในเวลาช่วงนั้น ปูนซีเมนต์ "ตราพญานาค" ของบริษัทชลประทานซีเมนต์กลายเป็นผู้นำตลาดในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ขณะที่ปูนซีเมนต์ของค่ายบริษัทปูนซีเมนต์ไทยต้องตกเป็นรองเพราะต้นทุนค่าขนส่งสูงกว่าทำใหีราคาขายแพงกว่า ลูกค้าไม่นิยม

ยุคต้นของความเป็นปึกแผ่นของบริษัทชลประทานซีเมนต์ ม.ล. ชูชาติ กำภู ได้ทุ่มเทเวลา ไม่ต่ำกว่า 10 ปีสร้างทรัพยากรบุคคล วางแผนด้านเทคโนโลยีและกำลังเครื่องจักรเครื่องมือ อันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก

นอกจากนี้ ม.ล. ชูชาติ เป็นผู้มองการณ์ไกล ที่พิจารณาเห็นว่าไม่เฉพาะแต่เพียงปูนซีเมนต์เท่านั้นที่อยู่ในความต้องการ แต่ยังมีวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เช่น กระเบื้องและท่อซึ่งเป็นผลผลิตของปูนซีเมนต์และใยหินสำลี (ASBESTOS) ที่จำเป็นต้องผลิตควบคู่กันไปด้วย จึงริเริ่มโครงการทำโรงงานกระเบื้อง มูลค่าประมาณ 7 ล้านบาทเศษขึ้นมาอีกแขนงหนึ่ง

ภายหลังจาการมรณกรรมของ ม.ล. ชูชาติ กำภู ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่คนแรกของบริษัทชลประทานซีเมนต์ ได้มีการแต่งตั้งให้ ม.ล. ชวนชื่น กำภู น้องชายขึ้นรับตำแหน่งแทนจนกระทั่งถึงยุคการบริหารของสองผู้จัดการใหญ่ คือ นพ. สมภพ สุสังกรกาญจน์ และ ดร. รชฏ กาญจนวณิชย์ บริษัทได้ขยายตัวไปตั้งโรงงานอีกแห่งที่ ชะอำ จ. เพชรบุรี แต่ไม่นานนักศึกปูนเล็กระหว่างกลุ่มธนาคารเอเชียทรัสต์ซึ่งนำโดน วัลลภ ธารวณิชกุล กับ คุณหญิงลลิลทิพย์ ก็ได้ชัยชนะมีอำนาจครอบครองกิจการบริษัทชลประทานซีเมนต์จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us