Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
รำลึกถึง จิม ทอมป์สัน ณ เรือนไทยหลังใหม่             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมไหมไทย, บจก
จิม ทอมป์สัน




ยามบ่าย ที่เรือนไทยท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ ริมคลองแสนแสบหลังนี้ ยังคงคึกคักไปด้วยชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเยี่ยมชมไม่ขาดสายอยู่เช่นเคย

"บ้าน Jim Thompson" หรือพิพิธภัณฑ์หลังนี้เป็นของนายทหารอเมริกัน ผู้เรียนจบทางด้านอาคิเต็คดีไซน์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ซึ่งต่อมา ชะตาชีวิตได้พลิกผันให้เขาเป็นผู้ริเริ่มผลักดันงานหัตถกรรมเล็กๆ ของผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประวัติการทำงาน ที่น่าสนใจ ความรักความหลงใหลในศิลปวัฒนธรรมไทยๆ รวมทั้งความลี้ลับ ของการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยของเขา ล้วนแล้วแต่เป็นจุดดึงดูดทำให้บ้านหลังนี้ไม่เคยร้างคนมาเยือน

เมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมา ผู้ที่ผ่านไปมาตามลำคลองสายนี้ได้เห็นเรือนไทยหลังใหม่หลังใหญ่ขึ้นมาอีกหลังหนึ่ง ในบริเวณ ที่ดินประมาณ 1 ไร่ติดกับบ้านหลังเดิม William M. Booth กรรมการผู้จัดการบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย ผู้ผลิตผ้าไหมของจิม ทอมป์สัน และกรรมการบริหารมูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์บ้านจิมฯ ซึ่งมีหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธานมูลนิธิเป็นเจ้าของแนวความคิดนี้ เพราะต้องการรักษาสภาพความเป็นอยู่แบบไทยๆ เอาไว้

เรือนหลังใหม่นี้เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น มีบัณฑิต จุฬาสัย เป็นสถาปนิกในการก่อสร้าง ชั้นบนส่วนแรกเป็นห้องจัดเลี้ยง กว้าง 167 ตารางเมตร ซึ่งสามารถปรับพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น งานเลี้ยงแต่งงาน งานเปิดตัวสินค้างานแฟชั่นโชว์ หรือเกี่ยวกับงานทางด้านประเพณีไทยต่างๆ

ส่วน ที่ 2 ด้านหน้าของห้องจัดเลี้ยง จะเป็นบาร์ และเลานจ์ พื้นที่ประมาณ 93 ตารางเมตร โปร่งสบายด้วยหน้าต่างกระจกรอบด้านสามารถมองออกไปเห็นสวน และพิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สัน ได้ชัดเจน ทั้งสองส่วนนี้ถูกตกแต่งอย่างสวยงามโดยปีเตอร์ บุนนาค ชั้นล่างจะเป็นร้านค้าย่อย ขายสินค้า ผ้าไหมของจิม ทอมป์สัน รวมทั้งสินค้าของ ที่ระลึก และหนังสือทางด้านศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งรายได้จากการขายของส่วนใหญ่จะเป็นของมูลนิธิ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นคอฟฟี่ชอป คอยบริการกรุ๊ปทัวร์ ที่มีมาตลอดวัน เดินชมบ้านจิมเสร็จ ลูกค้าบางส่วนก็อาจจะมานั่งทานอาหารในบรรยากาศ ที่สบายๆ ดูสายน้ำไหลเอื่อยๆ และย้อนอดีต รำลึกถึงจิม ทอมป์สัน ที่เรือนไทยหลังใหม่นี้

เมื่อ 42 ปีที่แล้ว จิม ทอมป์สัน ได้ตัดสินใจ ที่จะใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายในเมืองไทย เขาจึงได้เดินทางไปยังจังหวัดอยุธยาหาซื้อบ้านทรงไทยมาทั้งหมด 6 หลัง ประกอบรวมกันเข้าเป็นเรือนไทยหลังใหญ่ตรงข้ามกับชุมชนบ้านครัว ชุมชนเล็กๆ ที่เป็นแหล่งผลิตผ้าไหมดั้งเดิมของเขานั่นเอง บ้านหลังนี้จิมได้เป็นผู้ออกแบบ และปรับปรุงเพิ่มเติมบางส่วน เพื่อให้เหมาะสำหรับการใช้เป็นที่อยู่อาศัยจริงของเขา ผู้ ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ที่มาจากแหล่งของวัฒนธรรมอีกซีกโลกหนึ่ง

สิ่งของเครื่องใช้ ของประดับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง หรือเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นของไทยๆ หรือประเทศ เพื่อนบ้านในเอเชีย เพราะจิมคือ นักเดินทาง และนักซื้อของเก่าสะสมผู้หนึ่ง ทุกวันนี้ทุกอย่างยังคงวางไว้ ที่เดิมเฉกเช่นเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ มีเพียงสิ่งของตกแต่งบ้านบางส่วนเท่านั้น ที่ได้ถูกโยกย้ายไปบ้าง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ และการเดินชม

ระหว่างบ้านหลังใหญ่จะมีสวนต้นไม้ ซึ่งซ่อนเรือนไทยหลังเล็กๆ ไว้อีก 4 หลัง คือ ที่อยู่ของคนทำความสะอาด บ้านของคนสวน โรงรถ และบ้านของกุ๊ก ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นห้องที่แขกสามารถเดินเข้าไปชมได้ โดยห้องคนทำความสะอาดได้เปลี่ยนเป็น Gold Pavilion ซึ่งจะมีเครื่องทอง และถ้วยชามเบญจรงค์ของจิม ทอมป์สัน จัดวางโชว์ไว้ บ้านของคนสวนเป็น Painting Pavilion รวบรวมรูปวาดบนผืนผ้า ด้วยสีธรรมชาติสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่จิมซื้อมามากมายกว่า 100 ภาพ จินตนาการในการเขียนภาพช้าง และลายไทยรวมทั้งการให้สีบนผ้าไหมของเขานั้น ส่วนหนึ่งมี ที่มาจากภาพเหล่านี้

โรงรถกลายเป็นเวทีดนตรีเล็กๆ ส่วนบ้านของกุ๊กกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมปรับปรุง

ปัจจุบันรายได้ของ ที่นี่คือ ค่าเข้าชม ซึ่งจะมีชาวต่างประเทศประมาณ 300-400 คนต่อวัน ราคาค่าเข้าชม 100 บาทต่อคน และจะมีไกด์ประมาณ 15 คน คอยทำหน้าที่จัดแบ่งทัวร์เป็นกลุ่มเล็กๆ พาเดินชม

เมื่อก่อนพลบค่ำลงแล้ว บ้านจิมก็จะสงบเงียบ รอคอยแขกมาเยือนใหม่ในวันรุ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้บนเรือนไทยหลังใหม่ ในห้องจัดเลี้ยงจะยังคงสว่าง ไสวไปจนดึกดื่นด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us