Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535
"วิชัยซื้อไอทีเอฟ 2,782 ล้านบาทเพื่อเสริมฐานธุรกิจที่ดินรถยนต์"             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

ตัวเลขสำคัญทางการเงินของ บริษัทกฤษดามหานคร จก.
ตัวเลขสำคัญทางการเงินของ บริษัทกฤษดามหานคร จก. และบริษัทย่อย
ตารางแสดงวิธีการชำระเงินในการซื้อหุ้นไอทีเอฟของวิชัย กฤษดานนท์
ตารางแสดงวิธีการชำระเงินของกฤษดานครในการซื้อหุ้นไอทีเอฟจำนวน 10 %


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)

   
search resources

กฤษดามหานคร, บมจ.
ไอทีเอฟ, บงล
วิชัย กฤษดาธานนท์
Stock Exchange




ปัญหาการซื้อขาย บงล. ไอทีเอฟจบสิ้นลงแล้วเมื่อแบงก์ชาติตัดสินให้กลุ่มกฤษดามหานครเป็นผู้ชนะการประมูลด้วยราคาซื้อในอนาคตสูงสุดที่ 41.25 บาทหรือราคามูลค่าปัจจุบันที่ 31.43 บาท ความสำเร็จในการซื้อครั้งนี้จะช่วยเสริมฐานธุรกิจของกฤษดาฯ ให้แข็งแกร่งมากขึ้นโดยใช้ไอทีเอฟเป็นแหล่งเงินทุนในโครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ และเป็นฐานบริการสินเชื่อทั้งบ้าน ที่ดิน รถยนต์

กฤษดามหานครหรือ KMC จัดเป็นหุ้น BLUESHIP ในตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และไม่แน่ว่าอาจจะถูกจัดอันดับเป็นหุ้น BLUESHIP ได้ตลอดปี 2535 ด้วยซ้ำ เพราะมีมูลค่าการซื้อขายจำนวนมากสะสมอยู่ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี ซึ่งมูลค่าการซื้อขายรวมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในบางวันพุ่งทะลุหมื่นล้านบาท

ในยามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ซบเซาภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส. และการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลงอย่างฮวบฮาบไม่ต่ำกว่า 10-20 จุดเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน KMC ก็ยังคงเป็นหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดอยู่นั่นเอง

หากไม่นับข่าววงในของนักลงทุนทั้งหลายที่รู้กันว่าหุ้นตัวนี้ "คนในเครื่องแบบ" ชอบเล่นมากเป็นพิเศษแล้ว ข่าวเรื่องผลการดำเนินงานและความสไเร็จในการเจรจาซื้อ บงล. ไอทีเอฟ น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้ราคาหุ้นตัวนี้ดีวันดีคืนและมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

ผลการดำเนินงานของกฤษดามหานครเมื่อสิ้นปี 2534 ดีกว่าที่มีประมาณการไว้อย่างมาก โดยเฉพาะในงบกำไรขาดทุนซึ่งแสดงตัวเลขรายได้กำไรสุทธิและกำไรต่อหุ้นที่ดีอย่างมาก ๆ แม้ว่าในงบดุลฉบับนี้ผู้สอบบัญชีฯ จะได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขเกี่ยวกับบัญชีที่เกิดกับบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากก็ตาม

รายได้รวมเมื่อสิ้นปี 2534 ของกฤษดามหานครสูงถึง 956.54 ล้านบาทเทียบกับเมื่อสิ้นปี 2533 มีรายได้รวมเพียง 68.12 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนตัวเลขประมาณการรายได้รวมที่ไห้ไว้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็คาดหมายไว้เพียง 445.07 ล้านบาท (ดูตารางตัวเลขสำคัญทางการเงินของบริษัทกฤษดามหานคร จก.)

นั่นหมายความกฤษดาฯ สามารถทำรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปี 2533 ประมาณ 888.42 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1,304%

ส่วนกำไรสุทธินั้นก็เพิ่มจาก 18.18 ล้านบาทในปี 2533 เป็น 516.27 ล้านบาทในปี 2534 หรือเพิ่มขึ้น 498.1 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 2,741%

นับเป็นความสามารถในการสร้างรายได้และผลกำไรที่น่าทึ่งและควรบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์บริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยทีเดียว!?!

ในงบการเงินซึ่งรวมเอาบริษัทกฤษดาพัฒนาเคหะการ อันเป็นบริษัทลูกที่กฤษดามหานครถือหุ้นอยู่มากกว่า 90% นั้น ก็มีตัวเลขที่แสดงถึงความสำเร็จอันงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่างบเดี่ยวเฉพาะของกฤษดามหานคร

รายได้จากการขายที่ดินทำได้สูงถึง 1,141.21 ล้านบาทในปี 2534 ขณะที่งบเดี่ยวมีเพียง 728.02 ล้านบาท หมายความว่าเฉพาะบริษัทลูกแห่งนี้ สามารถขายที่ดินได้ถึง 413.19 ล้านบาท (ดูตารางตัวเลขสำคัญทางการเงินของบริษัทกฤษดามหานคร จก. และบริษัทย่อย)

แม้ว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมากในงบรวม ทว่ากำไรสุทธิกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย!!

กำไรสุทธิของงบรวมเท่ากับ 514.15 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขของงบเดี่ยวเท่ากับ 516.27 ล้านบาท แสดงว่าบริษัทลูกแห่งนี้มีผลการดำเนินงานขาดทุน!!

นี่อาจจะเป็นตัวเลขเล็กน้อยที่สะท้อนการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขของผู้สอบบัญชีก็เป็นได้!!

อันที่จริงกฤษดามหานครมีตัวเลขทางการเงินที่ "ประหลาด" อยู่ค่อนข้างมากตั้งแต่สมัยที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะตัวเลขความสัมพันธ์ระหว่างกฤษดามหานครกับบริษัทลูกรายนี้

กล่าวคืองบของบริษัทกฤษดาพัฒนาเคหะการในปี 2533 ปรากฏว่ามีขนาดใหญ่กว่ากฤษดามหานคร ไม่ว่าจะในแง่ของยอดขาย กำไร หรือทรัพย์สินก็ตาม

จากตัวเลขล่าสุดกฤษดาพัฒนาเคหะการซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาทสามารถทำรายได้จากการขายในปี 2533 เท่ากับ 446.59 ล้านบาท สูงกว่ากฤษดามหานครที่มีรายได้จากการขาย 68.12 ล้านบาทถึง 6.5 เท่า ส่วนกำไรสุทธิ 83.41 ล้านบาทขณะที่กฤษดามหานครทำได้เพียง 18.17 ล้านบาทหรือสูงกว่า 4.59 เท่า

ครั้นมาในปี 2534 กลับกลายเป็นว่าบริษัทลูกแห่งนี้ขาดทุนเสียแล้ว!!

ตัวเลขที่สลับซับซ้อนของบริษัทในกลุ่มกฤษดาฯ เช่นนี้คงต้องอาศัยความสามารถพิเศษของนักการบัญชีและนักวิเคราะห์การเงินช่วยอรรถาธิบายกระมัง!!

วิชัย กฤษดาธานนท์ กรรมการผู้จัดการกฤษดามหานครให้เหตุผล 4 ข้อกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงกรณีที่มีความสามารถสร้างผลการดำเนินการได้สูงกว่าประมาณการว่า "บริษัทฯ สามารถขายที่ดิน, บ้านได้ในราคาสูงกว่าประมาณการ มีการเพิ่มกลยุทธ์ด้านการตลาดและระบบการขายตรง ได้จำหน่ายที่ดินบางส่วนในโครงการกฤษดาซิตี้ กอล์ฟ ฮิลล์ ได้ก่อนประมาณการ และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ต่ำกว่าประมาณการด้วย"

เหตุผลเหล่านี้แม้จะเป็นที่ยอมรับได้ แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้เชื่อได้ว่าผลประกอบการจะเพิ่มสูงเด่นออกมาถึงขนาดนี้!

อย่างไรก็ดี นักลงทุนส่วนมากที่แห่ตามกันเล่นหุ้นกฤษดาฯ ดูเหมือนจะไม่ได้พิจารณาความสลับซับซ้อนเหล่านี้สักเท่าใด ดูกันแต่เรื่องการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นเรื่องเทคนิคคัลล้วน ๆ เท่านั้น

มันก็เป็นเรื่องไม่ผิดหากจะวัดกันที่ผลตอบแทนซึ่งคนเล่นที่เข้าไวออกไวสามารถทำกำไรไปได้เป็นจำนวนมาก

นักลงทุนเหล่านี้ไม่ได้สนใจวิธีทำธุรกิจของวิชัยสักเท่าใดนอกจากขอให้มีข่าวดีไว้เป็นพอ และอาจจะไม่ได้มีการสงสัยด้วยซ้ำไปว่าวิชัยที่ตลอดเวลาไม่เคยจับธุรกิจการเงินมาก่อนจะบริหาร บงล. ไอทีเอฟที่เพิ่งซื้อกิจการมาได้หมาด ๆ อย่างไร

การซื้อกิจการไอทีเอฟได้สำเร็จ หลังจากที่ความพยายามของนักลงทุนกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าไม่ประสบผลสำเร็จก็ถือเป็นข่าวดีอีกอย่างหนึ่งของกลุ่มกฤษดามหานคร

วิชัยซุ่มเงียบอยู่นานก่อนที่จะมีการเปิดเผยว่ามีเป้าหมายซื้อกิจการไอทีเอฟ โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในงานนี้คือฝ่ายวาณิชธนกิจของธนาคารกรุงเทพ

ไอทีเอฟเป็น บงล. ที่มีนักลงทุนหลายรายสนใจซื้อ แต่ไม่สามารถตกลงในเรื่องราคาได้สักราย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนไทยหรือต่างประเทศ

กลุ่ม บ. กองทุนรวมร่วมกับนายแพทย์บุญ วนาสินและกลุ่มเจียซินซีเมนต์จากไต้หวัน เสนอซื้อเมื่อปี 2533 ในราคาหุ้นละ 15 บาท กลุ่มที่สองคือเครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ราคาหุ้นละ 9.50 บาทเท่านั้น กลุ่มที่สามคือ บงล. ทิสโก้ ราคาที่แต่ละกลุ่มเสนอดูเหมือนไม่เป็นที่พอใจของทางแบงก์ชาติสักรายเดียว

กลุ่มต่อมาคือกลุ่มชินวัตรที่เสนอซื้อในราคาหุ้นละ 15 บาทด้วยเช่นกัน แต่เจรจารอบแล้วรอบเล่าก็ไม่ประสบผล จนเมื่อมีการประมูลเพราะมีผู้สนใจเพิ่มเข้ามาอีก 3 กลุ่ม ชินวัตรได้ขยับราคาปัจจุบันขึ้นมาเป็น 24 บาทและราคาในอนาคตคือรวมดอกเบี้ยแล้วประมาณ 35 บาท แต่ก็พ่ายกลุ่มกฤษดาฯ ที่ให้ราคาสูงกว่ามาก ๆ

ดร. ทนง พิทยะ ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มชินวัตรเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่ผมตั้งราคาไว้ 15 บาทนั้น ก็เพราะเห็นว่า BOOK VALUE ของไอทีเอฟตอนนี้ประมาณ 7 บาทกว่า ยังไม่ได้ลบซอฟท์โลน 500 ล้านบาทที่ต้องจ่ายคืนแบงก์ชาติ ยังไม่ได้คิดว่าเรียลเอสเตทที่เขาทำนี้ขายออกไปหมดแล้ว ประมาณการรายได้ออกมาเท่าไหร่และมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นหรือ BOOK VALUE จะลดลงไปเหลือเท่าไหร่"

"ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งของไอทีเอฟคือมีจำนวนหุ้นถึง 160 ล้านหุ้นราคาพาร์ 5 บาท ใหญ่กว่าแบงก์หลายแบงก์ BOOK VALUE จะคิดมาจากไหนมันมีเรื่องของการ WRITE OFF ที่จะต้องลดลงไปอีก แล้วยังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นจากการคืนซอฟท์โลนรวมทั้งดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการเอาซอฟท์โลนนี้มาใช้ ซึ่งต้องจ่ายพร้อมการคินซอฟท์โลน ผมคิดสะระตะอย่างนี้แล้ว ผมเห็นว่าควรจะซื้อไอทีเอฟในราคาประมาณ 2,000 ล้านบาท และผมจะให้พรีเมี่ยมอีกประมาณ 400-500 ล้านบาท แค่นี้แหละ" ดร. ทนงเปิดเผยแนวการคำนวนราคาหุ้นไอทีเอฟกับ "ผู้จัดการ"

อย่างไรก็ดีราคาหุ้น 15 บาทนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของแบงก์ชาติ ซึ่ง ดร. ทนงก็ไม่ทราบว่าแบงก์ชาติต้องการราคาเท่าไหร่ "หากแบงก์ชาติคิดว่าราคาควรจะสูงกว่านี้ต้องบอกผมว่าคิดอย่างไร แต่ก็ไม่มีการบอกนอกจากพูดว่าราคาที่ผมเสนอเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากให้ผมคิดไอทีเอฟมูลค่า 3,000 กว่าล้านบาทนี่ คิดอย่างไร ผมคิดไม่ออก แบงก์ศรีนครตอนนี้ capitalization ประมาณ 2,800 ล้านบาทเท่านั้น สาขาอีกเป็น 100 น่าซื้อ แต่เขาไม่ขาย หลายแบงก์ทีเดียวที่ผมเอาเงิน 3,000 กว่าล้านบาทนี่ไปซื้อได้" ดร. ทนงกล่าวทิ้งไว้อย่างมืออาชีพ

กลุ่มชินวัตรนั้นมีเป้าหมายที่จะหาสถาบันการเงินเข้ามาค้ำจุนอุดหนุนการทำธุรกิจโทรคมนาคมต่าง ๆ ของกลุ่มทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งเงินทุนและการบริการด้านการเงิน แต่คงต้องมีข้อแม้ว่าต้องเป็นราคาที่สมเหตุสมผล

ในเมื่อมีผู้เสนอซื้อไอทีเอฟในราคาที่สูงกว่ามาก ๆ เกินกว่าที่กลุ่มชินวัตรจะเข้าใจเหตุผลได้ กลุ่มนี้จึงล่าถอยไป เพราะอย่างไรเสีย ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังมีเป้าหมายในสถาบันการเงินอื่น ๆ อีกมาก

นอกจากชินวัตรแล้ว ยังมีกลุ่มเซ็นทรัลที่มอบหมายให้ สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์และศิริ ศิรินันทลักษณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย กรณ์ จาติกวณิช กรรมการผู้จัดการ บล. เจ.เอฟ. ธนาคมเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมายื่นซองประมูล

กลุ่มเซ็นทรัลเสนอซื้อไอทีเอฟในราคา 23 บาท มีเงื่อนไขการผ่อนชำระ 5 ปีโดยไม่มีเงินสดในงวดแรก ส่วนราคาอนาคตคือราคาหุ้นบวกดอกเบี้ยจะตกประมาณหุ้นละ 28 บาท

กลุ่มบริษัทซัมมิทออโต้ซีท ซึ่งมอบหมายให้ ดร. ไพบูลย์ เสรีวัฒนา เป็นที่ปรึกษาและตัวแทนในการยื่นซองประมูลซื้อไอทีเอฟ กลุ่มฯ นี้เสนอราคามูลค่าปัจจุบันที่ 29.40 บาทและราคาในอนาคตซึ่งรวมดอกเบี้ยแล้วที่ 37.88 บาท

อย่างไรก็ดี กลุ่มซัมมิทฯ อ้างว่าการที่ราคาที่กลุ่มเสนอไม่ว่าจะเป็นราคามูลค่าปัจจุบันหรือราคาในอนาคต ต่ำกว่าราคาของกลุ่มกฤษดาฯ เพราะใช้อัตราดอกเบี้ย DISCOUNT RATE ที่แตกต่างกัน

ทุกกลุ่มที่เข้าประมูลต่างใช้อัตราส่วนลดที่ร้อยละ 12 เป็นฐานในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน เนื่องจากมีความเข้าใจตรงกันว่าแบงก์ชาติกำหนดให้ใช้อัตรานี้ แต่กลุ่มกฤษดาฯ เพียงรายเดียวเท่านั้นที่ใช้ฐานการคำนวณที่อัตราส่วนลดร้อยละ 9

การใช้อัตราการคำนวณดอกเบี้ยที่ต่างกันมีผลให้ราคาเสนอซื้อของกลุ่มกฤษดาฯ สูงกว่าราคาของกลุ่มซัมมิทออโต้ซีทฯ

ดร. ไพบูลย์กล่าวว่า "หากใช้ DISCOUNT RATE ที่ 12% กลุ่มซัมมิทฯ ต้องเป็นฝ่ายชนะเพราะเสนอราคาที่สูงกว่า"

ในที่สุด วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการแบงก์ชาติได้ออกมากล่าวยุติการประมูลไอทีเอฟว่า "มติของกองทุนการฟื้นฟูฯ ถือเป็นการตัดสินเด็ดขาดแล้ว"

มูลค่าไอทีเอฟที่กลุ่มกฤษกามหานครซื้อมา 67,442,846 หุ้นคิดเป็น 2,782 ล้านบาท โดยการชำระเงินสดงวดแรก 20% ที่เหลือเป็นการผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ย (ดูตารางแสดงวิธีการชำระเงินในการซื้อหุ้นไอทีเอฟของวิชัย กฤษดาธานนท์"

ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นไอทีเอฟหลังจากที่กลุ่มกฤษดาฯ เข้าซื้อหุ้นแล้วนั้น โครงสร้างยังไม่ลงตัวชัดเจน เท่าที่ทราบคือบริษัทกฤษดามหานครจะร่วมถือหุ้นจำนวนนี้ด้วย 10%, บริษัทในเครือกฤษดามหานครอีก 10%, กลุ่มโนเบิล โฮลดิ้งซึ่งประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูลโสภณพนิชร่วมถือ 5%, ธนาคารกรุงเทพ 5%, พงศธร ศิริโบธิน 1% และนายวิชัย กฤษดาธานนท์ถือไว้เอง 10%

ทั้งนี้กฤษดามหานครได้แจ้งการถือหุ้น 10% ในเอทีเอฟให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทราบแล้ว โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินจำนวน 669.44 ล้านบาท แบ่งออกเป็นเงินสด 20% แรกและตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (ดูตารางแสดงการชำระเงินของกฤษดามหานครในการซื้อหุ้นไอทีเอฟจำนวน 10%)

วิชัยเปิดเผยว่าได้มีการเตรียมเงินไว้ต่างหากอีก 300-500 ล้านบาทเพื่อที่จะซื้อหุ้นไอทีเอฟจาก ดร.ทักษิณ ซึ่งได้ซื้อหุ้นจำนวน 18.8% หรือ 30,503,780 หุ้น มาจากธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์ แบงก์ ออฟ ฮ่องกง ในราคาหุ้นละ 15 บาทก่อนที่แบงก์ชาติจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าประมูล

ขณะที่ ดร. ทักษิณตั้งราคาขายที่หุ้นละ 45.50 บาท วิชัยเสนอราคาซื้อที่ 37.75 บาทซึ่งเป็นราคาสุดท้ายก่อนที่ไอทีเอฟจะถูกแขวนป้ายห้ามการซื้อขายในช่วงที่มีการประมูลซื้อกิจการจากกองทุนฟื้นฟูฯ

วิชัยกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าจำนวนหุ้นที่ ดร. ทักษิณถือไว้มีน้อยกว่า 18.8% เพราะได้มีการขยายออกไปในช่วงที่เขารู้ตัวว่าจะไม่ชนะการประมูล"

เป็นที่คาดหมายว่าหุ้นไอทีเอฟที่อยู่ในความครอบครองของ ดร.ทักษิณมีประมาณ 5% วิชัยกล่าวว่า "หาก ดร. ทักษิณพร้อมที่จะขายหุ้นจำนวนนี้ในราคาหุ้นละ 37.75 บาท กลุ่มกฤษดาฯ ก็พร้อมที่จะรับซื้อทันที ขณะนี้กลุ่มกฤษดาฯ ก็ถือหุ้นไอทีเอฟไว้ประมาณ 51% ซึ่งจัดเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดแล้ว"

ก่อเกียรติ กฤษดาธานนท์ กรรมการบริหารกฤษดามหานครเปิดเผยว่า "การซื้อหุ้นไอทีเอฟของวิชัยครั้งนี้เป็นการเสนอซื้อในนามส่วนตัว วิชัยมีความสนใจที่จะขยายธุรกิจไปในกิจการเงินทุนหลักทรัพย์มานานแล้ว ตอนนี้มีการเตรียมทีมงานมืออาชีพและคงใช้เวลาศึกษางานไอทีเอฟระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้าบริหารเต็มตัว"

วิชัยเปิดเผยว่าเขาจะบริหารไอทีเอฟในลักษณะ AGGRESSIVE มากกว่าที่ผ่านมาซึ่งดูคล้ายลักษณะการบริหารของราชการ "ผมคิดว่าจะทำให้ไอทีเอฟถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 5 ปี ดดยผมจะให้ไอทีเอฟขยายสินเชื่อส่วนมากประมาณ 50% ให้กับกิจการอสังหาริมทรัพย์ซึ่งก็คือกฤษดามหานครนั่นเอง และให้ปล่อยกู้แก่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ไอทีเอฟจะต้องตั้งเงินกองทุนไว้ 500 ล้านบาทเพื่อเป็นกองทุนสำรองในเรื่องบ้านและรถยนต์ กองทุนนี้คงจะมีบริษัทประกันภัยอีกแห่งหนึ่งเข้าร่วมด้วย ซึ่งตอนนี้ผมกำลังเจรจาติดต่ออยู่"

กิจการประกันภัยที่วิชัยสนใจซื้อครั้งนี้กำลังพิจารณาคัดเลือกอยู่ระหว่าง 4 บริษัท ซึ่งมีทั้งกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และอยู่นอกตลาดฯ คาดหมายว่าผลการเจรจาจะสำเร็จได้ภายในปลายปีนี้ ซึ่งหากวิธีซื้อกิจการไม่สำเร็จก็จะเปลี่ยนมาเป็นการร่วมทุน โดยตั้งงบประมาณเพื่อการซื้อธุรกิจประกันภัยเข้ามาไว้ในกลุ่มฯ 500 ล้านบาท

วิชัยเปิดเผยว่า "การดำเนินธุรกิจขายบ้านและรถยนต์ในอดีตที่ผ่านมานั้น กฤษดาฯ ได้ส่งงานด้านประกันภัยไปให้บริษัทอื่นเป็นจำนวนมาก หากบริษัทมีธุรกิจประกันภัยในกลุ่มฯ ก็สามารถโอนงานเหล่านี้มาได้ รายได้ก็จะไม่หนีไปไหน และยังเป็นการสะดวกสำหรับลูกค้าที่สามารถใช้บริการของกลุ่มฯ ได้ครบวงจรด้วย"

ทางด้านทีมผู้บริหารนั้น จะมีการเสริมมืออาชีพใหม่เข้าไปร่วมกับทีมผู้บริหารเดิมขณะนี้อยู่ระหว่างการทาบทามผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการและรองกรรมการผู้จัดการ

การทาบทามเช่นนี้มีนัยว่า ศุภรัตน์ ผ่องศรี กรรมการผู้จัดการที่เป็นคนของแบงก์ชาติและถูกส่งเข้ามาเพื่อช่วยกอบกู้ บงล. แห่งนี้เมื่อหลายปีก่อนจะถึงเวลาโบกมืออำลาไอทีเอฟเสียที

เมื่อพิจารณาประกอบกับนโยบายการบริหารใหม่ของวิชัย ดูเหมือนสไตล์จะไปด้วยกันไม่ได้กับศุภรัตน์อย่างแน่นอน!

กลุ่มของวิชัยจะเข้ามาดูแลการบริหารธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อและงานฝ่ายบัญชีเป็นด้านหลัก ส่วนโครงสร้างรายได้ยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ในสัดส่วน 50:50 แต่เน้นรายได้จากธุรกิจเช่าซื้อและการปล่อยเงินกู้ หรือสินเชื่อให้กิจการอสังหาริมทรัพย์ของกฤษดาฯ เป็นสำคัญ

เรื่องการคืนซอฟท์โลนให้แบงก์ชาตินั้น รัชฎา กฤษดาธานนท์ รองกรรมการผู้จัดการเปิดเผยว่า "ตอนนี้ผู้บริหารไอทีเอฟกำลังพิจารณาว่าจะคืนซอฟท์โลนจำนวนนี้ก่อนกำหนดหรือไม่ หากคืนก่อนกำหนดไอทีเอฟก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ หากไม่คืนก็จะมีส่วนต่างจากวงเงินจำนวนดังกล่าวเข้ามาเป็นกำไรสุทธิประมาณ 20 กว่าล้านบาท และการที่จะตัดสินใจอนุมัติจ่ายเงินปันผลก็ต้องให้เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย"

ก่อนหน้านี้ศุภรัตน์มีความต้องการที่จะคืนซอฟท์โลนให้แบงก์ชาติก่อนกำหนด และคณะกรรมการฯ ไอทีเอฟก็มีมติฯ ออกมาเรียบร้อยแล้ว

แต่หลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ขายหุ้นในกลุ่มกฤษดาฯ กองทุนฯ ตัดสินใจมอบการพิจารณาเร่องนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่

วิชัยเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่ามีความตั้งใจที่จะคืนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 500 ล้านบาทนี้ให้แก่แบงก์ชาติทันทีหลังจากที่มีการโอนหุ้นและผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาดำเนินการบริหารแล้ว แต่มาถึงเวลานี้อาจจะชะลอการคืนซอฟท์โลนนี้ไประยะหนึ่งก็เป็นได้ เพราะทางแบงก์ชาติเองก็ไม่ได้เรียกร้องในเรื่องนี้แต่อย่างใด

นั่นหมายความว่าผู้ถือหุ้นไอทีเอฟในตอนนี้คงจะไม่ได้รับเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.25 บาทเป็นแน่

ความสำเร็จในการซื้อไอทีเอฟครั้งนี้มีค่ามากมายต่อตัววิชัยและกลุ่มกฤษดาฯ แม้ว่าจะได้มาด้วยราคาแพงแสนแพงเท่าใดก็ตาม!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us