Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 กันยายน 2551
ยุทธการยึด “สื่อ” กลเกมการตลาด รพ.เอกชน             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลพญาไท

   
search resources

โรงพยาบาลพญาไท
Hospital




ถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าภาพการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น โดยจะเห็นว่าปัจจุบันโรงพยาบาลหลายๆ แห่งทั้งค่ายเล็กและค่ายใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการนำกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลากหลายรูปแบบมาใช้ รวมทั้งการแห่ทุ่มงบฯโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นหวังดึงลูกค้าใช้บริการ ผ่านสื่อต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วง

ล่าสุดค่ายของ “พญาไท-บำรุงราษฎร์”ยึดรายการทีวี ให้ความรู้-สร้างแบรนด์ พร้อมจัดกิจกรรม บีโลว์เดอะไลน์บุกชุมชน ส่วน “กรุงเทพ”ชูความครบเครื่อง-บริการ หวังมัดใจลูกค้า ด้าน “สมิติเวช”ไม่น้อยหน้าดึงเทคโนโลยีบวกเอนเตอร์เทนเม้นท์เข้าสู่ขณะที่ศูนย์การค้ากลายเป็นยุทธศาสตร์สร้างแบรนด์ด้วยกิจกรรมระหว่างลูกค้า พร้อมออกแพ็กเกจเหมาจ่ายเหตุเพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่เซ็นซิทีฟเรื่องราคาเป็นหลัก

แม้ว่าโดยภาพรวมของธุรกิจนี้จะมีการเติบโตที่ดีกว่าธุรกิจอื่นๆก็ตาม แต่อัตราการเติบโตของคนไข้นั้นมีไม่มากนักหากเมื่อเทียบกับจำนวนเตียงหรือจำนวนโรงพยาบาลใหม่ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้โรงพยาบาลแต่ละค่ายจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่ไว้ ขณะเดียวกันก็จะต้องหาลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่ม

ว่ากันว่ากลุ่มในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพให้ความสำคัญกับการโฆษณาเพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการชูจุดแข็งในเรื่องของการมีศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางที่ครบทุกโรค เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ารักษาได้ทุกโรค และบริการแบบญาติมิตรอย่างกรณีของโรงพยาบาลวัฒโนสถก็จะสื่อถึงความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนั้นแพ็คเกจเหมาจ่ายยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ลูกค้าของโรงพยาบาลกรุงเทพตัดสินใจง่ายขึ้น

ขณะเดียวกันปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลทำให้คนไข้ลดการใช้บริการลงด้วยเช่นกัน จากการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภคไม่ได้อยู่ที่เรื่องของหมอหรือเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์เท่านั้น แต่สิ่งที่คนไข้มองอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของความผูกพัน ความเชื่อมั่น ดังนั้นการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เข้ามาช่วยกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้บริการจึงกลายเป็นทางเลือกอันดับแรกๆของกลุ่มโรงพยาบาลในเครือพญาไท

โดยล่าสุดปีนี้ทั้งปีโรงพยาบาลในเครือพญาไทได้ตั้งงบฯไว้กว่า 90 ล้านบาท เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดกิจกรรมตามแหล่งชุมชนต่างๆ ศูนย์การค้า และที่ได้รับการตอบรับดีอย่างยิ่งในแง่ของการสร้างแบรนด์ ก็คือ การเข้าไปสนับสนุนรายการอโรคา ปาร์ตี้ (โมเดิร์นไนน์) ที่เน้นการสร้างแบรนด์ของพญาไทในแง่ของการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ

ว่ากันว่ากลยุทธ์ดังกล่าวเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักเพราะการเข้าไปสนับสนุนรายการทีวีอย่างออกหน้าออกตาและทำมาอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลพญาไทที่ผ่านมากลายเป็นต้นแบบที่ทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ต้องกระโดดเข้าไปสนับสนุนรายการทีวีด้วยเช่นกันโดยเป็นสปอร์นเซอร์รายการตะลุยโรงหมอทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่เคยใช้งบฯในการโฆษณา หรือใช้งบฯไม่มากนัก ได้เริ่มหันมาใช้งบในการโฆษณามากขึ้น อาทิ กรณีของกลุ่มรามคำแหง ธนบุรี เจ้าพระยา หรือแม้กระทั่งบำรุงราษฎร์ ที่เริ่มหันมาใช้บริการโฆษณาทั้งทางทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น

สอดคล้องกับที่ นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในแต่ละปีโรงพยาบาลเอกชนจะมีการใช้งบฯโฆษณาอยู่ประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งหลักๆ จะเป็นการใช้กับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการได้ไม่นานนักสำหรับปิยะเวทที่เพิ่งเปิดมา 4-5 ปี ก็ยังเน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง แบรนด์อย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมกับมีการชูจุดแข็งของศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางที่เปิดให้บริการแต่ละปีจะใช้งบฯไม่ต่ำกว่า 50-60 ล้านบาท

นอกจากการทุ่มงบฯโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว โปรโมชั่นยังเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเช่นกันการจัดแพ็กเกจเหมาจ่าย รวมถึงการลดราคาพิเศษยังคงได้รับความนิยมมากในเวลานี้ เนื่องจากคนไข้หรือผู้บริโภคมีความไวต่อเรื่องของราคามาก

ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายๆ แห่งได้มีการจัดแพ็กเกจเหมาจ่ายอาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดแพ็กเกจ ราคาประหยัด สำหรับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก อาทิ แพ็กเกจการเก็บไข่ทำเด็กหลอดแก้ว จาก 151,233 บาท เหลือ 120,000 บาท แพ็กเกจโรคความดันโลหิตสูง ปกติ 6,755 บาท เหลือ 4,300 บาท

ขณะที่ พญาไท 2 จัดโปรโมชั่นสำหรับคุณแม่ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ปกติ 4,000 บาท เหลือ 2,500 บาท วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 3 เข็ม จาก 15,300 บาท เหลือ 12,500 บาท ตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการเดินสายพาน ราคา 2,500 บาท ปกติ 3,500 บาท

ด้าน สมิติเวช (สุขุมวิท) มีโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ ราคาพิเศษ 3,900 บาท ส่วนบำรุงราษฎร์ ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์สุขภาพวิทอลไลฟ์ จัดแพ็กเกจพิเศษสำหรับแม่ลูกที่ควงคู่กันมารับบริการตรวจสุขภาพ โดยคุณแม่จะได้รับแพ็กเกจส่วนลดพิเศษในการวิเคราะห์สุขภาพ ฮอร์โมน และคำแนะนำในการชะลอวัยและการรักษาสุขภาพ

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาแนวโน้มการใช้งบการตลาดเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่อย่าง สมิติเวช บำรุงราษฎร์ พญาไท และกรุงเทพ ต่างใช้งบประมาณด้านนี้ค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้โรงพยาบาลเอกชนรายอื่นๆ จำนวนมากเริ่มหันมาใช้เม็ดเงินทุ่มโฆษณาเพิ่มขึ้น หวังสร้างการรับรู้และความจดจำในแบรนด์ โปรดักต์ รวมทั้งบริการต่างๆได้อย่างครบถ้วน

ภาพรวมในปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลจึงมีแนวทางการทำการตลาดที่ไม่ต่างไปจากธนาคาร โรงแรม หรือธุรกิจบริการอื่นๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะมีทั้งการสร้างแบรนด์ การทำโปรโมชั่น และจัดแพ็กเกจการดูแลและรักษาที่รุนแรงขึ้น แบรนด์บางค่ายก็ชูจุดขายเฉพาะทาง พร้อมสร้างซับแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา อาทิ ปิยะเวท ที่ชูจุดขายศูนย์โรคหัวใจ ภายใต้ชื่อ เปอร์เฟ็กต์ฮาร์ด ออกมารองรับตลาด ขณะที่ รพ.เจ้าพระยา เปิดให้บริการศูนย์คลีนิกแพทย์เฉพาะทางตลอด 24 ชั่วโมง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us