Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 กันยายน 2551
ซับไพร์มครั้งต่อไปตัวชี้ขาดลุ้นเงินไหลกลับไทย-บาทไม่อ่อนต่อ             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics
Investment




3เกจิชี้ ซับไพร์มในสหรัฐปมปัญหาใหญ่ ส่งผลไทยโดนหางเลขทำบาทอ่อน แต่แนวโน้มระยะยาวอาจอ่อนต่อไปได้อีกไม่มาก ส่วนอัตราดอกเบี้ยต่อจากนี้มีสิทธิ์ขึ้น ได้แต่คงไปได้ไม่ไกล

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯ รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในงานสัมมนาของ บลจ. ทหารไทย ในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางดอกเบี้ย และค่าเงินบาท" ว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในสหรัฐฯที่ต้องรอลุ้นว่า ปัญหาซับไพร์มจะส่งผลต่อสถาบันการเงินเป็นระลอกที่ 3 หรือไม่

หากพ้นเดือนนี้แล้วไม่มีสถาบันการเงินล้มอีก เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่โยกกลับไปสหรัฐฯเพื่อแก้ไขวิกฤติ ซับไพรม์ ก็น่าจะไหลกลับมาลงทุนในไทยได้ โดยเฉพาะในตลาดหุ้น แต่หากยัง มีสถาบันการเงินล้มต่อ เงินที่เตรียมไหลเข้าเอเชียก็จะหยุดทันที อย่างไรก็ตามสกุล เงินดอลลาร์ไม่อยู่ในสถานะแข็งแรงนัก ดังนั้นเงินบาทในระยะยาวจึงไม่น่าอ่อนค่าลงนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์

"ถ้าซับไพร์มรอบ 3 เกิดอีกในเดือนนี้ สหรัฐจะมีปัญหาอีกรอบ เงินส่วนใหญ่ที่เตรียมไว้สำหรับการลงทุนในเอเชียก็จะหยุด เพราะต้องเอาไปดูแลสถาบันการเงินของตัวเอง ดังนั้นต่างชาติก็ไม่มาตลาดหุ้นไทย ขณะที่เงินลงทุนของต่างชาติทุกวันนี้ 40% ของมาร์เก็ตแคป และเป็นเงินที่ Active ส่วนอีก 60% เป็นเงินของนักลงทุนไทยไม่ค่อยActive เท่าไร ดังนั้นหากผ่านเดือนกันยายนไปได้ ตลาดหุ้นไทยก็เฮได้ เพราะจะมีเงินไหลเข้ามา ส่วนตอนนี้ที่ยังไม่เข้ามาเพราะเขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก"

สำหรับจีดีพีของไทยไตรมาสที่ 2 ที่โต 5.3% ลดลง 0.8% จากไตรมาสแรกที่โต 6.1% นั้น เป็นตัวเลขที่ลดลงไม่มาก หากเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียที่ส่วนใหญ่ปรับลงราว 2% ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 5.3% เป็นผลจากการใช้จ่ายของภาครัฐ ติดลบ 1.3% ขณะที่ภาคเอกชนมีการใช้จ่ายสูงกว่า 2% โดยปัจจัยหลักเชื่อว่าการเติบโตของภาคเอกชนมาจากการที่ประชาชนในภาคเกษตรกรรม ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้รับผลดี จากราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ ข้าว ยาง มันสำปะหลัง อ้อย และ ปาล์ม ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก และเชื่อว่า ราคาสินค้าเกษตร น่าจะทรงตัวในระดับสูง ในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า และการใช้จ่ายของภาคเกษตรกร จะเป็นตัวนำเศรษฐกิจไทย

ส่วนภาคการส่งออก มองว่าประเทศไทยยังพึ่งพาการส่งออกในระดับสูง ดังนั้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศ โดยปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกไปในประเทศแถบเอเชียสูงถึง 40% และในอนาคตมีแนวโน้มสูงถึง 50-60% เนื่องจากอุตสาหกรรมหลัก ยังคงอยู่ในจีน อาเซียนและ ญี่ปุ่น และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าในอเมริกาและยุโรป

ส่วน ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มองว่า ความไม่แน่นอนในตลาดโลกยังมีอยู่ หลายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียยังเติบโตได้ดีอยู่ แต่ในสหรัฐฯมีธุรกิจอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดี จากจุดนี้ทำให้โลกจะต้องหาจุดสมดุลต่อไป ขณะที่ปัญหาซับไพร์มเองยังไม่จบ โดยมีการประเมินว่าน่าจะมีความเสียหายจากปัญหาดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเพิ่งแก้ไขปัญหาไปได้เพียง 50% ส่วนอีก 50% ที่เหลือยังต้องติดตามกันต่อไป

"การลงทุนช่วงนี้ต้องมองระยะยาว 3-5 ปี อย่าไปรีบร้อน เพราะตลาดหุ้นมีสิทธิที่จะปรับตัวลดลงได้อีก เนื่องจากปัญหาการเมืองก็ยังไม่ถึงจุดสุดท้าย แต่ถ้าเป็นการลงทุนระยะยาวแล้วเกิน 2-3 ปีขึ้นไปผลตอบแทนที่ได้ยังไงก็สูงกว่าเงินฝากอยู่แล้ว"

สำหรับการลงทุนในระยะสั้น ช่วงนี้คงเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่นิ่งพอ ทำให้คาดเดาได้ว่าผลตอบแทนที่ได้จะดีหรือไม่ บวกกับปัญหาเรื่องเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยยังต่ำกว่าเงินเฟ้อ

ดังนั้นการหาการลงทุนระยะยาว และให้ผลตอบแทนที่แน่นอน เช่นพันธบัตรรัฐบาล ก็จะเป็นทางเลือกที่เสี่ยงน้อยกว่า

ส่วนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังไม่ความไม่แน่นอนในปัจจุบัน แต่ก็เชื่อว่าในระยะยาวปัญหาก็จะหมดไป ด้วยปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ ส่วนการลงทุนในทองคำ ราคาก็จะเป็นไปตามราคาพลังงาน ดังนั้นก็พิจารณาดูว่าราคาพลังงานจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นอีกหรือไม่

ด้าน คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาคด้วยกันถือว่ามีเสถียรภาพ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทอ่อนค่า 2.9% , สิงคโปร์ 4.3% , มาเลเซีย 4.9% , อินเดีย 4.8% ขณะที่ค่าเงินในยุโรปตะวันออกนั้น ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาอ่อนค่าไปแล้วกว่า 10% และยุโรปอ่อนค่าไป 6.6% ทั้งนี้การอ่อนค่าลงของเงินทั่วโลกนี้เป็นผลจากค่าเงินสหรัฐที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงหลังจากเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสที่ 2 ที่ปรับตัวดีขึ้น

ในระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสหรัฐ เพราะปัญหาซับไพร์มอาจมีปัญหาสลับซับซ้อนมากกว่าที่เห็นอยู่นี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอัตราค่าเงินบาทของไทยถือว่ามีเสถียรภาพดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น มองว่าการแก้ปัญหาของสหรัฐโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยคงมีโอกาสเป็นไปได้น้อย ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยของตลาดโลกไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โอกาสที่ดอกเบี้ยของไทยก็ยังไม่เพิ่มขึ้น แต่หากจะเพิ่มก็คงไม่มากนัก

"โอกาสของไทยที่จะขึ้นดอกเบี้ยมีน้อย เพราะว่าเงินเฟ้อก็ไม่ได้สูงมากนักครึ่งหลังน่าจะอยู่ที่ 6.3-6.5% น้ำมันก็ปรับตัวลดลงแล้ว ดังนั้นคงไม่มีผลทำให้ ธปท.มองเรื่องเงินเฟ้อมาก ส่วนระยะปานกลาง 5-10 ปี อาจมีโอกาสปรับขึ้นได้บ้างเล็กน้อย"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us