Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 กันยายน 2551
กม.คอนโดใหม่กระทบผู้ซื้อ ส.อาคารชุดฯกระทุ้งรัฐแก้ปัญหา             
 


   
search resources

อธิป พีชานนท์
Real Estate




*พรบ. อาคารชุดฉบับใหม่ส่อแวววุ่น เหตุเร่งประกาศใช้ ข้อผิดพลาดเพียบ ไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติ
*สมาคมอาคารชุดฯ จี้กรมที่ดินเร่งแก้ด่วน หวั่นสัญญาไม่มาตรฐาน-ไม่เป็นธรรม กระทบลูกค้าคอนโดนับหมื่น
*เตือนผู้จัดการนิติบุคคลฯ ปรับตัว หลัง พรบ. ฉบับใหม่คุมเข้ม ระบุบทลงโทษหนัก คุ้มครองผลประโยชน์ลูกบ้าน

หลังจากที่ พรบ.อาคารชุด พ.ศ. 2551 ที่เกิดจากการผลักดันของ สนช. มีผลบังคับใช้เมื่อ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา แทน พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2552 ฉบับเก่า แม้จะได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่เน้นการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะต้องการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นจากการเอารัดเอาเปรียบของดีเวลลอปเปอร์ แต่ด้วยความรีบเร่งของการผลักดันกฎหมายออกมาใช้ ทำให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในหลายจุด จนเกิดปัญหามากมายในทางปฏิบัติและได้ยินเสียงทักท้วงจากดีเวลลอปเปอร์จำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศออกมาใช้

หลายมาตราที่ระบุใน พ.ร.บ. มีผลทำให้คอนโดมิเนียมที่เกิดขึ้นใหม่ และจดทะเบียนอาคารชุดหลังวันที่ 4 ก.ค. ต้องปรับตัวในหลายเรื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงการ เช่น ต้องแยกทางเข้าออกส่วนที่อยู่อาศัยและส่วนการค้าออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน ต้องมีที่ตั้งสำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุดอยู่ภายในโครงการ ห้ามนำที่ดินของอาคารชุดไปจดภาระจำยอมให้กับที่ดินแปลงอื่น และภายใน พ.ร.บ. ยังระบุว่า ข้อความหรือภาพที่โฆษณาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย ดังนั้นรายละเอียดของคอนโดมิเนียมที่นำไปจดทะเบียนอาคารชุดจะต้องตรงกับที่ระบุไว้ในโฆษณา ซึ่งดีเวลลอปเปอร์จะต้องเก็บสำเนาข้อความหรือภาพที่โฆษณาทุกรูปแบบไว้จนกว่าจะขายห้องชุดหมด และต้องส่งมอบให้กับนิติบุคคลอาคารชุดจัดเก็บไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากดีเวลลอปเปอร์ที่ไม่ทำตามที่โฆษณาไว้ นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุดต้องทำตามแบบมาตรฐานที่กฎกระทรวงกำหนดไว้เท่านั้น ห้ามแก้ไขหรือต่อท้ายใดๆ ทั้งสิ้น

หวั่นสัญญาซื้อขายไม่เป็นธรรม

อธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า หลังจาก พ.ร.บ. ประกาศใช้สมาคมฯ ได้ เสนอแนวทางแก้ไขต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เนื่องจากเห็นว่ากฎกระทรวงที่ระบุเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายมีความผิดพลาด ไม่สอดคล้องกับวิธีทำธุรกิจจัดสรร เช่น ให้ระบุเลขที่ใบอนุญาตก่อสร้างในสัญญา ซึ่งโดยปกติโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการขายก่อนได้ใบอนุญาตก่อสร้าง, ในสัญญาห้ามเก็บค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสัญญา ซึ่งดีเวลลอปเปอร์กังวลว่า จะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรได้ง่ายขึ้น, การรับประกันโครงสร้างและส่วนควบ ซึ่งใน พ.ร.บ. ระบุว่า ดีเวลลอปเปอร์ต้องรับประกันโครงสร้าง 5 ปี และส่วนควบ 2 ปีนับจากวันที่จดทะเบียนอาคารชุด แต่ในกฎกระทรวงที่ออกมาภายหลังกลับระบุว่า ดีเวลลอปเปอร์ต้องรับประกันทั้งโครงสร้างและส่วนควบเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ดีเวลลอปเปอร์เกิดความสับสนขึ้น

นอกจากนี้ภายใน พ.ร.บ. ระบุว่า ภายในสัญญาจะซื้อจะขายห้ามระบุค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่ให้ไปเรียกเก็บหลังจากโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะก่อนที่จะโอนห้องชุดให้ลูกบ้านเข้าพักอาศัย ดีเวลลอปเปอร์จะต้องมีเงินกองกลางส่วนหนึ่งที่เรียกเก็บจากลูกค้า เพื่อนำไปเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการอาคารให้แก่ลูกบ้านล่วงหน้า

แก้สัญญาช้า-กระทบผู้ซื้อนับหมื่น

“ขณะนี้ดีเวลลอปเปอร์ต้องยอมทำสัญญาที่ผิดๆ ขัดกับความเป็นจริงไปก่อน ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้อง เพราะไม่ต้องการฝ่าฝืนกฎหมาย แต่กรมที่ดินไม่ควรปล่อยเรื่องนี้ไว้นานเกินไป เพราะจะยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้บริโภค เพราะกลายเป็นว่าภายในโครงการเดียวกัน แต่กลับมีคนถือสัญญา 3 แบบ คือ แบบที่ทำก่อนวันที่ 4 ก.ค. ตาม พ.ร.บ. ฉบับเก่า แบบที่ทำหลังวันที่ 4 ก.ค. ตาม พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบัน และแบบที่กำลังจะแก้ไขให้ถูกต้อง ที่จะประกาศใช้ในอนาคต ซึ่งจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน หากในอนาคตผู้บริโภคมีการฟ้องร้องขึ้น ดีเวลลอปเปอร์จะได้รับความเสียหาย รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐด้วย ในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎหมาย ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นฟ้องศาลปกครอง เพราะทำหน้าที่ผิดพลาด จนทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน” อธิปกล่าว

อธิปกล่าวว่า อยากเรียกร้องให้กรมที่ดินเร่งแก้ไขเรื่องสัญญามาตรฐานให้เร็วที่สุด เพราะทุกวันนี้คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมียอดขายเดือนละ 2,000 ยูนิตต่อเดือน หากปล่อยไว้นาน เชื่อว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นหมื่นรายแน่นอน

เร่งออกกฎกระทรวง 2 ฉบับ

สุรสิทธิ์ สหัสธรรมรังษี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งออกกฎกระทรวง 2 ฉบับเกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุด และค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลปัญหาของการใช้กฎหมาย หารือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัย เพื่อส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามต่อไป เพื่อขอแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องในทางปฏิบัติจริงตามที่ดีเวลลอปเปอร์ทักท้วงมา

ในส่วนของคอนโดมิเนียมเก่าก็ต้องปรับตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ. ระบุให้ โครงการเก่าต้องแก้ไขข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดให้ในเรื่องต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ภายใน 360 วันด้วย เช่น หากเจ้าของร่วมไม่ชำระเงินค่าส่วนกลางภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียค่าปรับในอัตราไม่เกิน 12% ต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระ หากไม่ชำระเงินเกิน 6 เดือนขึ้นไป จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มในอัตราไม่เกิน 20% ต่อปี และอาจถูกระงับการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง และไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ รวมถึงเกณฑ์การนับองค์ประชุมที่ต้องปรับเป็น “หนึ่งในสี่” จากเดิมไม่น้อยกว่า “หนึ่งในสาม” และหากการประชุมครั้งแรกไม่ครบองค์ประชุม เมื่อมีการเรียกประชุมใหม่อีกครั้งภายใน 15 วัน ไม่บังคับว่าการประชุมครั้งหลังนี้จะต้องครบองค์ประชุม ซึ่งนคร มุธุศรี ประธานอำนวยการ บริษัทในเครือบีเอ็มกรุ๊ป แสดงความเป็นห่วงว่า อาจเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดความความแตกแยกได้ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายได้ เพราะอาจมีการเรียกประชุมพร้อมกันหลายกลุ่ม ทำให้มีมติในการบริหารงานที่แตกต่างกัน

กำหนดโทษผู้จัดการนิติฯ

สำหรับผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ในกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน หากไม่ปฏิบัติหน้าที่ จะถูกถอดถอนได้ง่ายขึ้น และมีโทษถึงขั้นถูกปรับด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบ เช่น ไม่ยอมเซ็นหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้ภายในเวลาที่กำหนด, ทำการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่, ไม่นำข้อบังคับไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน, ค้างชำระค่าส่วนกลาง (กรณีเป็นเจ้าของร่วมอยู่ในโครงการด้วย), ไม่ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้จากเจ้าของร่วมที่ค้างชำระเกิน 6 เดือนขึ้นไป เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us