Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535
"ที่ปรึกษาธุรกิจในเวียตนามอยู่ที่ไหน"             
 


   
search resources

Consultants and Professional Services
Vietnam




มีคำกล่าวว่า "ถ้าคุณถามเวลาจากบริษัทที่ปรึกษา เขาจะขอยืมนาฬิกาของคุณไปดู แล้วบอกเวลาแก่คุณ จากนั้นเขาก็จะคิดค่าบริการจากคุณ" จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจเลยว่า เหตุใดธุรกิจที่ปรึกษาจึงสามารถหารายได้ในระดับที่สูงมาก

ปัจจุบันมีบริษัทที่ปรึกษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่บริษัทที่ปรึกษาที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทที่ไม่ค่อยเปิดเผยตัวเองต่อสาธารณชนเท่าใดนัก เช่น อลัน โกลด์ชไตน์ แห่งเวิล์ด ลิงค์ กรุ๊ป ที่ช่วยให้ฮ่องกง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัลส์ สามารถพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในไห่ฟอง

ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเพียงบางบริษัทในบางประเทศ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของการดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาที่มีอยู่ในเวียตนาม ฮ่องกง ไทย ลาว และสิงคโปร์

บริษัทที่ปรึกษาในเวียตนาม

ทีเอสที -

"เราสามารถเสนอโอกาสแก่นักลงทุนเอกชน ในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมอันจะรวมถึงเป็นที่ปรึกษาในโครงการอุตสาหกรรมด้วย" เป็นคำกล่าวอวดอ้างของ แคสิมีร์ ตราน ซัน เทย์ วัย 47 ปี ซึ่งเพิ่งตั้งตัวเองเป็นที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอยู่ในย่านดาวน์ทาวน์ของโฮจิมินห์ซิตี้

เทย์ เป็นชาวเวียตนามเชื้อสายฝรั่งเศส มีบ้านเกิดอยู่ที่ไซง่อน เขาต้องทิ้งบ้านเกิดตั้งแต่ปี 2499 และได้กลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2530 นี่เอง อันเป็นช่วงที่รัฐบาลเพิ่งเริ่มประกาศใช้กฎหมายการลงทุนใหม่ได้ไม่นาน เขาทำงานในฝ่ายขายให้แก่กลุ่มบริษัทฝรั่งเศส สปี-แบทีกโนลีส์ และตั้งสำนักงานตัวแทนของบริษัทดังกล่าวขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงปี 2531 แต่แล้วสปีกลับถอนตัวออกไปจากเวียตนามเมื่อปลายปีก่อน

ปัจจุบันเทย์เป็นตัวแทนของบริษัทฝรั่งเศส 6 แห่ง คือ Adra (บริษัทในเครือของสปีดำเนินธุรกิจด้านการเกษตร), Total, Optorg (ธุรกิจการค้า), Gersar (ไฮโดรลิคส์), SGTE (วิศวกรรม), Clesim (เหล็กกล้า) และยังมีธุรกิจในกัมพูชาอีกด้วย โดยมีนักธุรกิจชาวมาเลเซียเป็นหุ้นส่วน นอกจากนั้นเขายังสนใจที่จะดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงระหว่างเวียตนามและเขตเศรษฐกิจทางใต้ของจีนที่มีเงินทุนหมุนเวียนในปริมาณที่สูงมาก

ฟาร์โก ฟรังโก แปซิฟิก

บริษัทฝรั่งเศสแห่งนี้มีต้นกำเนิดอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ขยายเข้าไปยังโฮจิมินห์ซิตี้ และฮานอยถือเป็นตัวอย่างของธุรกิจในเวียตนาม ที่รวมการดำเนินธุรกิจระหว่างการค้าและการลงทุน, เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมและเป็นที่ปรึกษา

"เราเป็นตัวแทนของจีอีซี อัลชทอม เคเกเลค (พลังงาน), อัลคาเทล เคเบิล, ไอเอฟพี บัวส์ ออฟเชอร์ (อุปกรณ์ปิโตรเลียมและบริการ), และอีไอเอ (อุปกรณ์เคเบิล) นอกจากนั้นเรายังมีจุดแข็งในด้านโทรคมนาคม, ไฟฟ้า, และน้ำมันอีกด้วย" อเลน ดูเฟย์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารของสำนักงานในโฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวพร้อมทั้งเผยว่าเมื่อปีที่แล้วลูกค้าของตนหลายรายชนะประมูลหลายครงการ

ธุรกิจการค้าของฟรังโก แปซิฟิก ซึ่งมีมากมายหลายประเภทตั้งแต่กลิ่นสังเคราะห์ในเครื่องดื่มไปจนถึงกระดาษที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาสูบ และจากฝาขวดและน้ำผึ้งไปจนถึงอุปกรณ์การแพทย์ สามารถทำรายได้ให้บริษัทถึง 4 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนั้น ฟรังโก แปซิฟิกยังลงทุนในโรงงานรองเท้าและโรงงานผลิตฟางบุเบาะที่นั่งอีกด้วย

ดูเฟย์กล่าวว่า ปรัชญาการดำเนินธุรกิจของบริษัท คือ ต้องผลิตให้ได้ด้วยตัวเอง แทนการซื้อหรือต้องพึ่งผู้อื่น และแผนการระยะยาวของบริษัท คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมและการจัดจำหน่าย

"ปัจจุบันการศึกษาเพื่อลูกค้าของเราได้ครอบคลุมไปถึงการคำนวณ, การวางแผนงานในเขตเมือง, ยาง, น้ำมันพืช, สาหร่ายทะเล, และยาฆ่าแมลง" เทย์เสริม

ฮานอย ทรัสต์ กรุ๊พ

พอล แฟร์เฮด ชาวออสเตรเลียที่เข้ามาในเวียตนามเมื่อ 2 ปีก่อน และจัดตั้งฮานอย ทรัสต์ กรุ๊พขึ้นเป็นธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และเหมืองแร่

ฮานอย ทรัสต์ เป็นการร่วมทุนระหว่าง "พริออรา" ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจในระบบครอบครัวตั้งขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อนในออสเตรเลียเพื่อจับตามองเวียตนาม และ "อินเทลเวียด" มีเจ้าหน้าที่ร่วมงานในบริษัท 8 คน อันรวมถึงนักธรณีวิทยาการสำรวจชาวออสเตรเลียด้วยคนหนึ่ง ที่แฟร์เฮดเผยว่าเป็นคนสำรวจและรวบรวมข้อมูลในเรื่องแร่ทองคำและโลหะสำคัญอื่น ๆ

"เราให้ความช่วยเหลือและแนะนำจุดที่มีโอกาสในการลงทุน (ด้านอสังหาริมทรัพย์)" แฟร์เฮดกล่าว "เราไม่ได้โฆษณาแต่เรามีเครือข่ายลูกค้าจากออสเตรเลีย สิงคโปร์และฮังการี ซึ่งสาเหตุที่มีลูกค้าชาวฮังการีรวมอยู่ด้วยก็เพราะฮังการีมีสัญญาแลกเปลี่ยนด้านหนี้สินกับเวียตนาม โดยฮังการีจะเข้ามาลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์, อุตสาหกรรมโรงงานและสิ่งทอ"

"ลูกค้าชาวฮังการีของเราก็คือ ฮิบเทรด อินเตอร์เนชั่นแนล นอกจากนั้น เรายังมีธุรกิจด้านการค้าและการเงิน, ประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ, เป็นตัวแทนทางธุรกิจ, และดำเนินข้อตกลงต่าง ๆ เราคิดค่าธรรมเนียมต่อโครงการ, และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ตายตัวสำหรับการขอใบอนุญาต โดยเราจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2% ของราคาขาย หรือ 8% ของราคาค่าเช่าในปีแรก ซึ่งถ้าพิจารณาจากมาตรฐานในเวียตนาม อัตราดังกล่าวนับว่าค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับอัตราในออสเตรเลียแล้วจะอยู่ในระดับปกติ

แฟร์เฮดเผยถึงเป้าหมายในอนาคตว่า จะจัดตั้งธุรกิจที่สามารถขายออกไปได้ภายในเวลา 2 ปี และขณะนี้กำลังพยายามก่อตั้งหอการค้าออสเตรเลียขึ้นในฮานอย

เอิร์นส์ แอนด์ ยังก์

เลนนาร์ด ทาน ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีน ที่ได้รับประกาศนียบัตรทางบัญชีจากแคนาดา ได้สร้างปาฏิหารย์ขึ้นถึง 2 สิ่ง คือ สามารถทลายข้อห้ามของรัฐบาลเวียตนามเรื่องบริษัทที่ปรึกษาการบัญชีต่างประเทศ และฝ่ากำแพงการปิดกั้นของสหรัฐฯ ต่อเวียตนาม

ทานสามารถทำให้บริษัทบัญชียักษ์ใหญ่ที่ร่วมทุนระหว่างสหรัฐฯ-อังกฤษ เอิร์นส์แอนด์ยังก์ เข้ามาตั้งสำนักงานในกรุงฮานอยได้

ทานกล่าวว่า ปัจจับันบริษัทเป็นเพียงที่ปรึกษาด้านการบัญชี, การสอบบัญชี, และการจัดการในเวียตนามเท่านั้น ทั้งนี้เพราะลูกค้าของเราที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก เช่น บีพี, เชลล์, โคคาโคลา, ไฮเนเก้น, อายิโนะโมะโต๊ะ, ซูมิโตโม, โทเทล ต่างเข้ามาลงทุนในเวียตนามกันทั้งหมด

เราเริ่มเข้ามาเมื่อปี 2531 แต่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในนาม กวอง วาง ทาน แอนด์ ฟอง เมื่อปี 2534 และเมื่อเราได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง เราจึงดำเนินธุรกิจอย่างเปิดเผยในฐานะเอิร์ส์แอนด์ยังก์

ทานเสริมด้วยว่า ธุรกิจของตนเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการใหญ่ ๆ ทั้งหมด โดยมีลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ 4 กลุ่ม คือ อราเบียน, บีพี, เชลล์ และโทเทล ที่ได้รับสัมปทานสำรวจน้ำมันกลุ่มล่าสุด ส่วนซูมิโตโมที่รับผิดชอบโครงการแอลพีจี และท่อส่งกระแสไฟฟ้าเชื่อมเหนือ-ใต้ของเวียดนาม ก็กำลังดำเนินการเจรจาให้บริษัทจัดการด้านแผนการเงินให้

ขณะนี้สำนักงานในกรุงฮานอยมีพนักงานทั้งสิ้น 38 คน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ ทางการเงิน ทางน้ำมันและนักบัญชี

นอกจากนั้น บริษัทยังมีโครงการจะตั้งสำนักงานในโฮจิมินห์ซิตี้อีกแห่งหนึ่ง โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีพนักงานถึง 180 คน แต่ต้องรอจนกว่าจะได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเวียตนาม ซึ่งคาดว่าจะเป็นราวกลางปีนี้

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในฮ่องกงและกรุงเทพฯเผยว่าใบอนุญาตของเอิร์นส์แอนด์ยังก์ที่มีกำหนดเพียงปีเดียว จะไม่ได้รับการต่ออายุใหม่

เมื่อต้นปีนี้เอิร์นส์แอนด์ยังก์ฟาร์อีสต์ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจในอาเซียน, จีน, ไต้หวัน, และฮ่องกง ได้ขยายธุรกิจเข้าไปในกัมพูชา ซึ่งทานเผยว่า ทางบริษัทกำลังดำเนินการด้านการประสานงานจากองค์การสหประชาชาติ ทว่าเป็นเรื่องยากที่จะพนักงานที่ดีในกัมพูชา

ในฮ่องกง

บาร์เคลย์ แบงก์

ช่วงสองปีที่ผ่านมา บาร์เคลย์ แบงก์ซึ่งมีกิจการธนาคารในฮ่องกงซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในอังกฤษได้จัดให้มีการสัมมนาขึ้นหลายหัวข้อในเวียตนาม และจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับบริษัทอังกฤษที่ต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศนี้

"เมื่อ 2 ปีก่อนเราจัดสัมมนาในเรื่องการสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการที่โฮจิมินห์ ซิตี้ และเดือนมิถุนายนปีก่อนก็จัดร่วมกับธนาคารกลางเวียดนามด้วย" ร็อคกี้ แดง ผู้เชี่ยวชาญด้านเวียตนามของธนาคาร และเป็นชาวเวียดนามที่อพยพออกจากประเทศไปเมื่อปี 2520 กล่าวและเสริมว่า "กลางเดือนเมษายนนี้เรายังจัดสัมมนาให้กับสายการบินเวียตนาม และช่วงปลายเดือนมิถุนายนก็จะมีหัวข้อเกี่ยวกับพลังงานที่จัดร่วมกับบริติชปิโตรเลียม" ด้วย

เดือนมีนาคมที่ผ่านมา บาร์เคลย์ได้ยื่นเรื่องขออนุมัติจัดตั้งสำนักงานตัวแทนของธนาคารในฮานอยแล้ว โดยหวังว่าจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ

ในสิงคโปร์

คลิฟฟอร์ด แชนส์

บริาทที่ปรึกษากฎหมายด้านการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ "คลิฟฟอร์ด แชนส์" เริ่มให้บริการคำปรึกษาแก่ลูกค้าในเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2531 ปัจจุบันมีสาขาอยู่ 15 แห่งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งฮ่องกง สิงคโปร์และญี่ปุ่น

ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติและกิจการธนาคารระหว่างประเทศ ที่ต้องการข้อแนะนำเกี่ยวกับการสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการ กฎหมายการลงทุนต่างชาติ (โดยรวมถึงการร่างสัญญาการร่วมทุนและสัญญาการลงทุนด้านต่างๆ) การสนับสนุนเงินทุนทางด้านการค้า การฟ้องร้องคดีความ และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

คลิฟฟอร์ด แชนส์ยังมีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิดกับบริษัทที่ปรึกษาในเวียดนามอีกหลายแห่ง ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนในแง่กฎหมายธุรกิจของเวียตนามด้วย

ในกรุงเทพฯ

ดาต้าคอนซัลท์

"ดาต้าคอนซัลท์' มีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ มีชื่อเสียงโดดเด่นด้านการทำวิจัยตลาด "งานพื้นฐานของเราก็คือ การตรวจสอบดูสภาพการณ์ทางธุรกิจ รวมทั้งการจัดพิมพ์ นำเสนอ และทำรายงานพิเศษให้กับลูกค้า" คริสโตเฟอร์ บรูตัน ผู้อำนวยการของบริษัทประจำไทยและอินโดจีนบอก "และเรายังทำวิจัย ทั้งในแง่การวิจัยตลาดผู้บริโภค การวิจัยตลาดอุตสาหกรรมกับการศึกษาถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง นอกจากนั้นเรายังช่วยติดตามดูแลอุตสาหกรรมเฉพาะแขนงให้กับลูกค้า…และช่วยหาผู้ร่วมลงทุนตลอดจนอำนวยความสะดวกจนโครงการลุล่วง"

ปัจจุบันธุรกิจราวครึ่งหนึ่งของบริษัทอยู่ในไทย และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในอินโดจีนโดยเฉพาะเวียตนาม

ดาต้าคอนซัลท์เป็นบริษัทเอกชนมีบริษัทในเครือ 3 แห่งด้วยกัน เริ่มต้นกิจการด้วยทุนจดทะเบียน 250,000 ดอลลาร์

"ผมเป็นตัวหลักของบริษัทแต่ว่าจ้างที่ปรึกษาชาวแคนาดา 3 คนและชาวอังกฤษอีกหนึ่งคน ผ่านบริษัทในฮ่องกงชื่อ อินโด ไชน่า โปรเจ็ค เมเนจเมนท์" บรูตันอธิบาย "เรายังมีทีมงานส่วนสนับสนุนชาวไทยและบางส่วนในเวียตนามที่ช่วยงานทางอ้อม โดยผ่านองค์กรในเวียตนามที่ชื่อ อินเวสท์ทิป"

แอชตา อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์

กิจการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดย ยูจีน แมทธิวส์ ทนายความผู้จบการศึกษาจากฮาร์วาร์ดและมีความเชี่ยวชาญภาษาญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท มีสำนักงานใหญ่ในฮานอยและสำนักงานสาขาอยู่ในไทย มุ่งให้บริการแก่บริษัทที่ต้องการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ตั้งแต่ด้านการทำวิจัยตลาด การจัดหาผู้ร่วมทุนที่มีขีดความสามารถและให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในแง่ยุทธศาสตร์การแข่งขันทางธุรกิจ

การคิดค่าบริการของแมทธิวส์จัดอยู่ในระดับที่แพงมาก และจะมีสัญญาว่าจ้างนาน 6 เดือนถึงหนึ่งปี ลูกค้าของบริษัทประกอบด้วยบริษัทธุรกิจรายใหญ่จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นหลายต่อหลายแห่ง รวมทั้งเศรษฐีชาวญี่ปุ่นอีกสองสามรายกับบริษัทจากอิสราเอลหนึ่งแห่ง

ส่วนหลักการเลือกรับลูกค้าก็คือ ต้องเป็นลูกค้าที่ต้องการประกอบธุรกิจในเวียตนามในระยะยาว

เดือนกุมภาพันธ์ 2532 แมทธิวส์ออกเดินทางไปยังเวียตนาม และอีกราว 2 ปีต่อมาก็ย้ายไปอยู่ที่ฮานอย และสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฮานอยด้วย

เขาวางแผนไว้ว่า หากสหรัฐฯ ยกเลิกนโยบายปิดกั้นทางการค้าก็จะเปิดสำนักงานขึ้นที่ฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและจะเข้าไปลงทุนในบางโครงการเองด้วย

มอลเลสซันส์ สตีเฟน จ๊าคส์

กิจการแห่งนี้มีฐานอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่ดำเนินธุรกิจโดยผ่าน "อินโดนีเซีย แพร็คทิส กรุ๊พ" ซึ่งเริ่มให้บริการคำปรึกษาแก่ลูกค้าที่ต้องการประกอบธุรกิจในเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2532 1989 กลุ่มธุรกิจแห่งนี้ประกอบด้วยทนายความที่มาจากสำนักงานภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง อีกทั้งทนายความชาวเวียดนามซึ่งผ่านการฝึกอบรมอย่างดีทั้งในเวียตนามและออสเตรเลีย

สำหรับสำนักงานกรุงเทพฯ นั้นมี ฌอง เรย์โนด์ ทนายความชาวฝรั่งเศสดูแลกิจการอยู่ โดยโครงการแรกที่จับก็คือ "ไซง่อน โฟลทติ้ง โฮเต็ล"

มูลค่าถึง 45 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนมีนาคม 2532 นับเป็นโครงการที่มูลค่าการลงทุนสูงที่สุดในขณะนั้น และปัจจุบันยังจัดเป็นโครงการที่เสร็จสมบูรณ์แล้วที่มีมูลค่าสูงสุดด้วย

นอกจากนั้น เรย์โนด์ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ "วีไออาร์ ลอฟท์เฟิร์น" แห่งออสเตรเลีย ซึ่งเข้าไปร่วมทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของเวียดนาม "เอสซีซีไอ" ของเวียตนาม เพื่อจัดพิมพ์นิตยสารรายสัปดาห์ภาษาอังกฤษชื่อ "เวียตนาม อินเวสท์เมนท์ รีวิว" ด้วย

ลูกค้าของเรย์โนด์ในปัจจุบันจะเป็นธุรกิจในออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ และครอบคลุมทั้งธุรกิจด้านโรงแรม เหมืองทอง และกราไฟต์ กับอุตสาหกรรมเบาจำพวกท่อพลาสติกไปจนถึงเสื้อผ้า

ดีคอนส์ แอนด์ เกรแฮม แอนด์ เจมส์

เมื่อราวสองปีครึ่งที่ผ่านมา บริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย "ดีคอนส์ แอนด์ เกรแฮม แอนด์ เจมส์" แห่งฮ่องกงได้ก่อตั้ง "เวียตนาม แพร็คทิส กรุ๊พ" ขึ้นเพื่อให้บริการคำแนะนำด้านกฎหมายและขั้นตอนการปฏิบัติแก่ผู้ที่ต้องการลงทุนในเวียตนามโดยมี ทิม ด็อบสัน ที่ปรึกษาทางกฎหมายประจำประเทศไทยเป็นประธานกลุ่มซึ่งมีทนายความอีก 3 คนจากสำนักงานของดีคอนส์ในฮ่องกงมาร่วมงานด้วย

เท่าที่ผ่านมา ด็อบสันร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติ 8 แห่งในเวียดนาม โดยโครงการลงทุนของแต่ละบริษัทมีมูลค่าราว 5-30 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ยังรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารสำคัญในโครงการร่วมทุนกับต่างชาติในโฮจิมินห์ซิตี้อีก 4 โครงการด้วยกัน อันรวมถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้า เหมืองแร่ ศูนย์ธุรกิจและโรงแรมระดับห้าดาวอีกแห่งหนึ่ง ยังไม่นับถึงโครงการขนาดเล็กลงมาอีกหลายต่อหลายโครงการอีกทั้งความพยายามที่จะรุกไปสู่โครงการทางด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วย ส่วนการคิดค่าบริการนั้นจะนับเป็นรายชั่วโมง

แพค ริม อินเตอร์เนชั่นแนล

"แพค ริม อินเตอร์เนชั่นแนล" เป็นบริษัทที่ปรึกษาซึ่งมีรากฐานอยู่ในกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทจากแคนาดาแห่งหนึ่งในการเข้าลงทุนในไทย

แต่นับจากปี 2534 กิจการเหล่านี้ค่อย ๆ ขยายขอบข่ายธุรกิจออกไปสู่อินโดจีน ฌอง เบรดี้ ผู้ก่อตั้งและปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทชี้ทิศทางกิจการของเขาในเวียตนามว่า "ไม่ได้สนใจเฉพาะขอบข่ายธุรกิจด้านกว้างอย่างเช่น การศึกษาข้อมูลภาคธุรกิจต่างๆ หรือสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการเท่านั้น แต่ยังต้องการจับธุรกิจในลักษณะโครงการซึ่งจะไปได้ดีในวันข้างหน้าด้วย"

ลูกค้าของเบรดี้ในเวียดนามประกอบด้วยบริษัทวิศวกรรมจากแคนาดา 3 แห่ง ที่เข้าร่วมในโครงการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานประเภทถนน สะพาน และระบบบำบัดน้ำเสียในโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งแต่ละโครงการมีมูลค่าราว 2 ล้านดอลลาร์ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนบางส่วนจาก "องค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศแคนาดา" หรือ CANADIAN INTERNATIONAL DEVELOPMENT AGENCY

แม้ว่าปัจจุบันเบรดี้จะร่วมมืออยู่กับบริษัทในเวียตนามอีก 4 แห่ง และมีง่นล้นมือในไทย แต่เขาก็วางแผนไว้ว่าต่อไปในอนาคตจะมุ่งให้ความสำคัญกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากต่างประเทศเป็นหลัก เพราะนักลงทุนที่เข้าร่วมในโครงการเหล่านี้ มักไม่ค่อยประสบปัญหาในการส่งเงินกำไรจากการลงทุนกลับประเทศ สำหรับการคิดค่าบริการนั้น จะมีทั้งแบบเหมารวมตามระยะเวลาในสัญญาและแบบที่คิดเป็นรายชั่วโมง

ลารีฟ ไทยแลนด์

กิจการแห่งนี้เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการบริหารระหว่างประเทศมีบริษัทแม่คือ "ลารีฟ ฮอลแลนด์" ในเนเธอร์แลนด์เริ่มเข้ามาตั้งฐานดำเนินการในไทยเมื่อสองปีก่อนโดยการร่วมทุนกับบริษัทที่ปรึกษา "ไอเอ็มอาร์เอส โค" ในกรุงเทพฯ และให้บริการคำปรึกษาแก่บริษัทต่างชาติที่ต้องการลงทุนในไทย, พม่าและอินโดจีน

ลารีฟ ฮอลแลนด์นั้นมีเครือข่ายกระจายอยู่ใน 38 ประเทศ มีความเชี่ยวชาญทางด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทที่ต้องการเข้าไปตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

ส่วนลารีฟ ไทยแลนด์นั้นเข้าไปดำเนินธุรกิจในอินโดจีนมาตั้งแต่ปี 2533 และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วยังไม่ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจกับ "คอนเซตติ" ด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกันในแง่บุคลากร

ส่วนบริการที่ให้กับลูกค้าก็คือการจัดเตรียมสัญญาการลงทุนแต่ไม่รับเป็นนายหน้าจัดหาผู้ร่วมทุน การจัดเก็บค่าบริการมีทั้งแบบรายชั่วโมงและแบบเหมารวม

ปัจจุบัน ลารีฟรับผิดชอบงานให้กับบริษัทจากอเมริกาและยุโรปราว 10 แห่ง ซึ่งเข้าไปสำรวจความเป็นไปได้ในการลงทุนทางธุรกิจ ตั้งแต่ด้านสิ่งทอ การผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ และโครงการก่อสร้างพื้นฐาน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us