Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 กันยายน 2551
กองทุนถือแบงก์-เงินสด ตปท.จับจังหวะลงทุนเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด

   
search resources

Funds
ไทยพาณิชย์, บลจ.




บลจ.ไทยพาณิชย์ ทยอยปรับลดหุ้นกลุ่มพลังงานอย่างต่อเนื่อง นับจากต้นปีที่ผ่านมา โดยเข้าไปเพิ่มการลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์มากขึ้น และหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เล็กน้อย รวมทั้งถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 8-10% ชี้หุ้นภูมิภาคเอเชีย ให้ผลตอบแทนดีกว่าประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา พร้อมเผยกองทุน Templeton Asian Growth Fund หันมาเพิ่มน้ำหนักในหุ้นไทยเป็น 20% ชี้หากเปรียบเทียบกันตามรายอุตสาหกรรมเดียวกัน ราคาถูกกว่าประเทศอื่นในเอเชีย โดยเข้ามาซื้อลงทุนและถือยาว 3 ปี

นายชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน สายงานการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยถึงการปรับน้ำหนักการลงทุนในกองทุนหุ้นว่า นับจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ได้ทยอยปรับลดหุ้นกลุ่มพลังงานลงมามากพอสมควร โดยเข้าไปเพิ่มการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์แทน ขณะที่หุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้เข้าไปลงทุนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมองว่ามีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และการที่กองทุนของบริษัทมีขนาดใหญ่ ซึ่งหุ้นกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูงรองจากหุ้นกลุ่มพลังงานก็คือ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์นั่นเอง โดยได้ทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานลงมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และหันมาถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 8-10% ด้วย ขณะที่พอร์ตลงทุนในหุ้นปกติจะมีหุ้นในสัดส่วนประมาณ 97% ก็ปรับลดลงมาเหลือเพียง 90% เท่านั้น

ทั้งนี้ หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ยังสามารถทำรายได้ดีอย่างต่อเนื่อง และค่อนข้างเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่วนหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในภาวะที่ตลาดไม่ค่อยดี บริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าจะได้เปรียบ เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กอาจจะทนแรงเสียดทานไม่ได้ ทำให้ไม่กล้าขยายงานเพิ่ม เนื่องจากไม่มีทุนสร้าง นอกจากนี้ บริษัทขนาดใหญ่ยังมีเงินทุนก่อสร้าง และที่ดินรอการพัฒนา (Land bank) มากกว่าด้วย โดยไม่เชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะแย่ลงในปีหน้า เนื่องจากตราบใดที่มีทุกคนงานทำก็จะซื้อบ้านอยู่ดี และในแง่ธนาคารพาณิชย์ก็ไม่กล้าปล่อยให้บริษัทขนาดเล็กกู้สินเชื่อด้วย โดยความต้องการอสังหาริมทรัพย์ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งยังมีอยู่ แต่กำไรจะปรับลดลงเล็กน้อย โดยบริษัทจะเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีธุรกิจและงบการเงินไม่ซับซ้อน ทำให้สามารถคาดการณ์ผลการดำเนินงานได้ง่าย และส่งผลให้หุ้นมีราคาแพง

ส่วนกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) นั้น ดัชนีหุ้นทุกประเทศทั่วโลกได้ปรับลดลงมาประมาณ 20% ซึ่งแย่พอกันกับประเทศไทย แต่หากมองในระยะยาวแล้ว บริษัทยังมีความเชื่อมั่นว่า หุ้นในภูมิภาคเอเชียจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นในประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเหตุผลหลักๆ คือ ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐอเมริกา (Subprime) หรือ ตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO (Collateralised Debt Obligation) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยมาก โดยส่งผลกระทบเพียงบางบริษัทที่ไปซื้อตราสารที่มีปัญหาเท่านั้น และธุรกิจที่กระทบอย่างหนักจะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในยุโรป อังกฤษ สเปน สหรัฐฯ โดยก่อนหน้านี้ราคาบ้านประสบกับปัญหาฟองสบู่แตก และราคาได้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่สามารถกู้เม็ดเงินเข้าลงทุนได้ถึง 9 ใน 10 ส่วน โดยมีเม็ดเงินลงทุนจริงเพียง 1 ส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์มาลงทุน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาธนาคารพาณิชย์จึงมีการดึงเม็ดเงินกลับไป กองทุนเฮดจ์ฟันด์จึงจำเป็นต้องขายหุ้นเพื่อนำเงินไปคืน ทำให้หุ้นในภูมิภาคเอเชียปรับลดลงมาด้วย ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤติซับไพรม์ แต่เกี่ยวข้องโดยอ้อมทางด้านธุรกิจส่งออก ส่วนใหญ่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศไทยมาจากธุรกิจส่งออก เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ธุรกิจส่งออกแย่ และทำให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศปรับตัวลดลงหรือชะลอตัวลงด้วย แม้แต่ประเทศจีนที่มีการปรับอัตราาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือประมาณ 8% ขณะที่สหรัฐอเมริกาปรับลดลงเหลือ 1.3% เท่านั้น

นายชูเกียรติ กล่าวว่า บริษัทยังชะลอการออกกองทุน FIF ออกไปก่อน เนื่องจากตลาดไม่ดี ซึ่งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ (SCBAEM)ได้ปรับลดลงประมาณ 20% ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดอื่น โดยกองทุน Templeton Asian Growth Fund ภายใต้การบริหารของ Templeton Asset Management ซึ่งเป็นกองทุนหลักของกองทุน SCBAEM ได้มีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นในประเทศไทยจาก 10% ขึ้นเป็น 20% เนื่องจากมองว่าหุ้นในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกันตามรายอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว ยังมีราคาค่อนข้างถูกกว่าประเทศอื่นในแถบภูมิภาคเอเชีย โดยเข้ามาซื้อลงทุนและถือในระยะยาว 3 ปี จึงสามารถเข้ามาลงทุนได้ โดยกองทุนดังกล่าวมีการเพิ่มน้ำหนักในหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC โดยเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ธุรกิจง่ายๆ จ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อว่ามูลค่าของหุ้นจะตามมาเองในภายหลัง

ขณะเดียวกัน บริษัทยังไม่มีแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ เนื่องจากมีการลงทุนตามปกติอยู่แล้ว สำหรับลูกค้าแล้ว อะไรที่ดีเราก้ลงทุนให้ลูกค้า ส่วนการที่ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากมาในช่วงนี้ และมีการขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้น บริษัทไม่ได้มีความกังวลมาก เนื่องจากคนขายคือธนาคารพาณิชย์ แต่ก็มีผลโดยอ้อม เนื่องจากลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ทำให้มีผลิตภัณฑ์ทางเลือกมากขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้าของบริษัท ทำให้ความน่าสนใจของการลงทุนในกองทุนรวมมีน้อยลง และเม็ดเงินไหลเข้าในกองทุนตราสารหนี้น้อยลงจากที่ฝ่ายการตลาดได้คาดการณ์ไว้ โดยไหลเข้าไปในเงินฝากแทน นอกจากนี้แบงก์ยังมีการแข่งขันกันเองด้วย โดยคาดว่าจะมีผลในระยะสั้นเท่านั้น โดยธนาคารพาณิชย์ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อเป็นการรักษาฐานเงินฝาก

อย่างไรก็ตาม ลูกค้ายังเข้ามาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทมีการเปิดขายกองทุนเปิดตราสารหนี้อายุ 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือนออกมาอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 เดือน คาดว่าจะเสนอขายได้ภายใน 2 สัปดาห์หน้า และจะสามารถให้ผลตอบแทนได้ประมาณ 3% โดยลูกค้าจะต้องมีการกระจายความสี่ยงให้เหมาะสม เนื่องจากผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 1 ปีให้ผลตอบแทนที่เท่ากับพันธบัตรรัฐบาล 6 เดือน ลูกค้าจึงควรกระจายการลงทุนไปในพันธบัตรอายุต่างๆ ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us