Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
ศงป.คลินิกการเงิน SMEs             
 


   
search resources

วรากรณ์ สามโกเศศ
SMEs




ลงทุนกิจการใหม่ ขยายการลงทุน มองหาผู้ร่วมลงทุน ขาดทุนทำอย่างไร อยากปรับโครงสร้างหนี้ ที่นี่ศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และประชาชน (ศงป.) มีคำแนะนำดีๆ เรื่องการเงินให้สำหรับ SMEs

ศงป. จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเงินให้แก่ วิสาหกิจขนาดเล็ก และขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งรวมถึงคำแนะนำในเรื่องการดำเนินงานธุรกิจ และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดย ศงป.จะเป็นผู้ประสานงานกับสถาบันการเงิน เพื่อช่วยระดมทุน และปรับปรุงหนี้ของ SMEs ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา

นับตั้งแต่เปิดให้บริการผลการดำเนินงานของศงป. ในช่วง 6 เดือนครึ่ง ปรากฏว่าปัญหายอดฮิตผู้ประกอบการ SMEs คือ การเข้ามาปรึกษาแหล่งเงินทุน รองลงมาหวังแก้ปัญหาหนี้เสีย (NPLs) แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ SMEs ของไทยยังคงมีปัญหาอยู่อีกหลายประการ "โดยเฉพาะเรื่องเงินทุน" ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานคณะกรรมการนโยบายศงป.อธิบาย

ปัญหาช่วงแรกๆ ของผู้ประกอบการดังกล่าว ที่เดินเข้ามาหา ศงป. ความไม่เข้าใจในเรื่องการเงิน การไม่เข้าใจเกี่ยวกับฐานะการเป็นลูกหนี้ของตนเอง จนไปถึงความไม่เข้าใจว่าการไปต่อรองกับสถาบันการเงินจะได้ประโยชน์อย่างไร

"ปัญหาหนี้เสียก็มีมาก และการไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าการกู้ยืมเงินจะต้องมีอะไรบ้าง และ ที่เข้าใจผิดกันมาก คือ ศปง.เป็นหน่วยงานให้กู้ยืมเงิน" ดร. วรากรณ์กล่าว

อย่างไรก็ตามปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเฉพาะความไม่เข้าใจระบบการทำงานของศงป.ว่ามีหน้าที่อะไร ส่งผลให้ปัญหา NPLs ของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่เข้ามาใช้บริการลดน้อยลงไปมาก "ในอดีตเขาเดินเข้ามาหาเรา 4 ราย จะมี 3 รายที่มีปัญหาเรื่องหนี้เสีย ปัจจุบันปัญหานี้เหลือไม่ถึงครึ่ง" ด ร.วรากรณ์บอก

เหตุผลเกิดจากผู้ประกอบการที่มีปัญหาหนี้เสียได้เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้สำเร็จไปมาก การเลิกกิจการ และมีการเปิดกิจการใหม่โดยหันมาขอเพิ่มทุนแทน "ปัจจุบันผู้ประกอบการจะมาปรึกษาว่าทำอย่างไรจะขอกู้เงินกับสถาบันการเงินได้"

ปัญหาสำหรับผู้ประกอบการในส่วนของหนี้เสียส่วนใหญ่มักจะเป็นการกู้ยืมเงินไป เพื่อการบริโภคมากกว่าไปลงทุน เนื่องจากระบบธุรกิจ SMEs ในไทยมักจะแยกกันไม่ออกระหว่างธุรกิจกับครอบครัว "บางครั้งกู้เงินไปจึงแยกไม่ออกว่านำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือในครอบครัวกันแน่"

อย่างไรก็ดี ดร.วรากรณ์บอกว่าไม่ค่อยหนักใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ "เพราะ นี่คือ ธรรมชาติของธุรกิจ SMEs ในไทย" แต่ ที่หนักใจ และไม่สามารถแก้ไขได้ในจุดที่ผู้ประกอบการที่มีปัญหาแล้ว ไม่ยอมเข้ามาขอความช่วยเหลือจากศงป. "ทั้งๆ ที่ให้บริการฟรี" เนื่องจากเขาเหล่านั้น มีความคิดแบบไทยๆ ว่าไม่มาหา คือ หนทางที่ดีที่สุด หรือไม่มาก็คือ ไม่มีปัญหา

วิธีแนะนำง่ายๆ ที่ศงป. ให้บริการ คือ จะต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ประกอบการจะกู้เงินไปทำอะไร มีความจำเป็นใช้เงินหรือไม่ ผู้ประกอบการบางคนขาดสภาพคล่อง แต่มีสินทรัพย์ ที่สามารถขายได้ ศปง.จะแนะนำให้ขาย เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินทุน "เราจะไม่แนะว่าให้ไปกู้กับสถาบันการเงินแหล่งใดแหล่งหนึ่ง แต่จะร่างจดหมายในการขอกู้เงินให้ หรือ คำแนะนำในการเขียนโครงการ" ดร. วรากรณ์บอก

นับตั้งแต่เปิดให้บริการมีผู้ขอความช่วยเหลือทั้งสิ้น 11,168 ราย คิดเป็นมูลค่า 47,701 ล้านบาท ซึ่งศงป. สามารถจบการให้คำปรึกษา 6,268 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 15,838 ล้านบาท

ถ้าแยกตามขนาดธุรกิจแล้วปรากฏว่า 98.28% เป็นธุรกิจขนาดย่อม ที่เหลืออีก 1.72% เป็นธุรกิจขนาดกลาง ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า ธุรกิจขนาดย่อมมีปัญหามากกว่า "แต่เกิดจากธุรกิจขนาดกลางส่วนใหญ่จะมี ที่ปรึกษาการเงินอยู่แล้ว แต่ขนาดย่อมไม่มีจึงต้องวิ่งมาหาเรา ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของธุรกิจ"

สำหรับกลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานของศงป. ต่อไปจะมุ่งเน้นกำหนดเป้าหมาย ให้ธุรกิจ SMEs และประชาชน มาใช้บริการปรึกษาด้านการเงินไม่ต่ำกว่า 2,600 รายต่อเดือน มุ่งพัฒนาคุณภาพการให้คำปรึกษา โดยนำข้อมูลจากยอดผู้ใช้บริการมาทำการวิจัย และวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดขึ้น

"ศงป.ได้ติดตามไปด้วยว่า ที่ขอกู้ไปแล้วเกิดปัญหาอะไรตามมาหรือไม่" โดยกำลังทำวิจัยกรณี ที่ศงป.ให้คำปรึกษาไปแล้ว แต่ธุรกิจนั้น ล้มเหลวมีสาเหตุมาจากไหน "เราจะนำมาศึกษาแล้วปรับปรุง เพื่อให้การฟอกเงินครั้งต่อไปของผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ" ดร.วรากรณ์บอก

มีคำถามตามมาว่าเมื่อมีหน่วยงานอย่างศงป.แล้วปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs จะหมดไปหรือไม่ คำตอบคือ ไม่เลย เพราะศงป.ไม่รู้ปัญหาว่า อยู่ตรงไหนกันแน่ ไม่รู้ข้อมูลทั้งหมด และหนี้เสียมีจำนวนมาก ไม่รู้ว่ามีการ ประนอมหนี้ไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าได้มีการพยายามให้ปัญหาลดลงไป และได้มากมาย และศงป.ช่วยเหลือผู้ประกอบได้แค่ระดับหนึ่ง และเป็นขนาดเล็กๆ เท่านั้น

แต่การที่มีศงป. ก็สามารถทำให้ผู้ประกอบการมองว่าจะไม่เสียเปรียบเจ้าหนี้ เพราะบางคนเป็นหนี้แต่ไม่รู้ว่าจะไปเจรจากับสถาบันการเงินอย่างไร " เพื่อไม่ให้เสียเปรียบเรามีคำแนะนำที่ดีให้ และวางใจได้"

อย่างไรก็ตามศงป.เป็นเพียงหน่วยงาน ที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ ที่มีอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น และมีงบประมาณ ที่รัฐบาลอนุมัติแค่ 100 ล้านบาท ดังนั้น ความเป็นไปได้ ที่การทำงานจะครอบคลุมทั่วประเทศริบหรี่เหลือเกิน

"เราทำงานในหน่วยงานนี้ในแง่มุมหนึ่งสามารถลดความรุ่มร้อนลงไปได้ เพราะผู้ประกอบการที่เข้ามาปรึกษาแล้วออกไปด้วยรอยยิ้ม"

รอยยิ้มของผู้ประกอบการที่เข้ามาขอความช่วยเหลือดูจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของปัญหา สังเกตได้จากเป้าหมาย ที่ศงป.ตั้งไว้ว่าก่อน ที่จะปิดให้บริการ จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้ประมาณ 6 หมื่นรายเท่านั้น

กระนั้น ก็ตามศงป.ก็มีบทบาทหน้าที่ ที่สามารถคลี่คลายปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SMEs และประชาชน ที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินไปได้บ้าง อย่างน้อยก็ชี้ทางสว่างให้กับกลุ่มคนเหล่านั้น ได้มีทางออก

ปัจจุบัน ดร.วรากรณ์ อายุ 53 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ออสเตรเลีย เมื่อปี 2513 จากนั้น เดินทางกลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นอาจารย์ได้เพียง 4 ปีก็ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา และกลับมาสอนนักศึกษา ที่เดิมอีกครั้ง เมื่อปี 2524 และขึ้นเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน ในช่วงปี 2526-2529 และผู้อำนวยการส่งเสริมการศึกษา และบริการสังคม มหาวิทยาลัย ในช่วงปี 2531-2534 และขึ้นเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2534-2537

ปี 2538 ลาออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสสำนักประธานกรรมการบริหาร บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล และลาออกในปี 2540 มาทำงานด้านการเมืองโดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และแม่ทัพในศงป.

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us