"การเพิ่มทุนไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไปสำหรับบริษัท ทางเลือกมีอยู่หลายทางในการระดมทุน
นักลงทุนควรดูการเพิ่มทุนของบริษัทให้ดีก่อนการตัดสินใจเข้าลงทุนในตลาดหุ้น"
ถ้าหากจะเปรียบบริษัทเป็นร่างการมนุษย์ มีงบการเงินเป็นหัวใจ เราสามารถแบ่งหัวใจออกเป็นสองซีก
โดยมีโครงการการลงทุนต่าง ๆ (USE OF FUNDS) เป็นหัวใจซีกซ้าย และการหาเงินมาใช้จ่าย
(SOURCE OF FUNDS) เป็นหัวใจซีกขวา
การบริหารหัวใจซีกขวาให้มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการมองการณ์ไกล
และผสมผสานแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและภาวะการตลาด
การจัดหาเงินทุนของผู้ประกอบการอาจทำได้ 3 วิธี คือ หนึ่ง การกู้ยืม ซึ่งในต่างประเทศนั้นสามารถทำได้ทั้งจากสถาบันการเงิน
และการกู้ยืมโดยตรงจากประชาชนในรูปของตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ สองส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งประกอบทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ PUBLIC HOLDING และสาม กำไรสะสมจากการดำเนินธุรกิจ
โดยทั่วไปเงินทุนจากส่วนของกำไรสะสมนั้นถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด
ในขณะที่เงินทุนจากการเพิ่มทุนนั้น อาจประเมินได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น
การเพิ่มทุนถือได้ว่าเป็น NEGATIVE SIGN ในขณะที่การลงทุนในโครงการใหม่ ๆ
ถือเป็น POSITIVE SIGN
ฉะนั้นการเพิ่มทุนเพื่อการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ จึงไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าเป็นผลบวกหรือผลลบ
ส่วนการเพิ่ม LEVERAGE นั้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับราคาหุ้น เพราะการใช้หนี้เป็นแหล่งเงินทุน
จะช่วยให้กิจการได้รับประโยชน์ในเรื่องของภาษี และเป็น POSITIVE SIGNAL เพราะเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริหารในอนาคตของบริษัท
ตลาดหุ้นของเมืองไทยนั้นค่อนข้างประหลาดในเรื่องของการเพิ่มทุน เพราะพอมีข่าวเกี่ยวกับการเพิ่มทุน
ราคาหุ้นจะขึ้น โดยที่ผู้ลงทุนยังไม่ค่อยให้ความสนใจศึกษาถึงรายละเอียดของการเพิ่มทุน
บางบริษัทประกาศว่าจะเพิ่มทุนเพื่อสร้างโรงงานใหม่ แต่ความจริงกลับนำเงินที่เพิ่มนี้ไปใช้คืนหนี้เก่า
และให้บริษัทในเครือกู้ยืมในราคามิตรภาพ ซึ่งอย่างนี้ต้องถือว่าใช้เงินของประชาชนผิดประเภท
ผู้ลงทุนจึงควรจะตรวจสอบข่าวการเพิ่มทุนอย่างระมัดระวัง
ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับ ดร. ธรรมนูญ อานันโทไทย เกี่ยวกับตลาดหุ้นฮ่องกงว่า
ที่ดัชนีฮั่งเส็งเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สาเหตุหนึ่งก็เพราะในระยะหกเดือนแรกของปี
2534 หุ้นในตลาดฮ่องกงมีการเพิ่มทุน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เงินปันผลเพิ่มขึ้น
5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มีเงิน SURPLUS นี้จึงกลับมา REINVEST ในตลาดหุ้นอีก
ทำให้ดัชนีฮั่งเส็งเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเมืองไทยในระยะเวลาเดียวกัน
หุ้นใน SET มีการเพิ่มทุน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เงินปันผลกลับเพิ่มขึ้นเพียง
920 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ทำให้เม็ดเงินขาดหายไปถึง 280 ล้านเหรียญสหรัฐ
การที่บริษัทเพิ่มทุนโดยไม่มีโครงการลงทุนที่ดี และไม่คืนเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
บริษัทจะเพิ่มทุนในครั้งต่อไปได้ยากลำบากขึ้น เพราะผู้ลงทุนย่อมจะรู้จักสรุปบทเรียน
แม้ว่าปัจจุบันนักลงทุนที่ซื้อหุ้นตามข่าวลือนั้นจะยังมากอยู่ แต่จำนวนนักลงทุนที่ทำการบ้านก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นนั้มีมากขึ้นเรื่อย
ๆ โดยเฉพาะการที่ระบบข้อมูลมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งปริมาณและคุณภาพ จำนวนบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับตลาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
จะทำให้ MARKET PRESSURE มีบทบาท CONTROL การบริหารกิจการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
และในที่สุด MARKET PRICE จะเป็นตัวสะท้อน PERFORMANCE ที่แท้จริงของบริษัท
พูดถึงตรงนี้ นักลงทุนต้องระวังให้มากถึงข่าวการเพิ่มทุนของบริษัทต่าง
ๆ ว่าแท้จริงแล้วมีผลดีต่อผลการดำเนินธุรกิจจริงหรือเปล่า
ว่ากันจริง โดยเนื้อแท้แล้วการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของ CAPITAL STRUCTURE
นั้นก็เพื่อเพิ่ม VALUE ให้กับธุรกิจ ตราสารหนี้ซึ่งใช้ระดมทุนโดยตรงจากประชาชนเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง
ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความยืดหยุ่นให้กับนักบริหารการเงิน
MYERS (1984) ได้แนะนำ "PECKING ORDER THEORY" สำหรับ SOURCE
OF FUNDS ว่า กำไรสะสมนั้นควรจะเป็นแหล่งเงินทุนอันดับแรก การกู้ยืมควรเป็นอันดับสอง
และการเพิ่มทุนควรเป็นแหล่งสุดท้าย
และควรจะมอง THE PECKING ORDER THEORY นี้อย่าง DYNAMIC บทสัมภาษณ์ของ
MILKEN ราชา JUNK BOND ในนิตยสาร FORBE ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 1992 เกี่ยวกับการทำ
LBO และการล้มละลายของธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1980-1992 เป็นบทเรียนที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
ทัศนะของ MILKEN เกี่ยวกับการบริหาร "CAPITAL STRUCTURE พอสรุปได้ว่า
CAPITAL STRUCTURE ที่ถูกต้องในปี 1975 ไม่จำเป็นที่จะถูกต้องในปี 1985 หรือปี
1989 ผู้บริหารไม่ควรจะยึดเป็นกฎตายตัว เช่น จะต้องถือ EQUITY 60% และ DEBT
40% แต่ควรจะเปลี่ยน CAPITAL STRUCTURE ตามภาวะธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยพิจารณาสภาพของตลาดทุนว่าขณะนั้นตลาดนิยม
DEBT หรือ EQUITY รวมทั้งคำนึงถึงความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยด้วย"
LEVERAGE โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเลว แต่ขึ้นกับเวลาและภาวะตลาด
มีบางเวลาที่เหมาะกับการทำ LEVERAGE และบางเวลาเหมาะกับการทำ DELEVERAGE
เช่น การทำ LEVERAGE ด้วย HIGH YIELD BOND เพื่อที่จะซื้อ ASSET ที่ UNDERPRICE
นั้นเป็นเรื่องสมเหตุสมผล แต่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลยที่จะกู้ยืมเงินมา
เพื่อซื้อ ASSET ที่ OVERVALUE
ต้นทศวรรษที่ 1980 ในสหรัฐอเมริกา REPLACEMENT COST สูงกว่า MARKET VALUE
ของ ASSET จึงเป็นการเหมาะสมที่จะกู้ยืมเพื่อซื้อ ASSET แต่หลังจากปี 1987
ราคา ASSET ในสหรัฐอเมริกาสูงกว่า REPLACEMENT COST จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อกิจการ
โดยหวังว่าจะสามารถเพิ่มราคาของ ASSET โดยการปรับปรุงวิธีดำเนินกิจการของบริษัทที่ซื้อมา
เมื่อมองในด้านของผู้ประกอบการ อาจสรุปประโยชน์ของตราสารหนี้ประเภทนี้ได้
ดังนี้คือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถกู้ยืมเงินได้โดยเสียต้นทุนต่ำกว่ากู้ยืมจากสถาบันการเงิน
และการระดมเงินกู้ระยะยาว ที่มีกำหนดระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนช่วยให้การบริหารเงินและการวางแผนธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้การระดมทุนด้วยการออกตราสารประเภทหนี้จะไม่กระทบอำนาจในการบริหารและควบคุมกิจการของผู้ถือหุ้นเดิม
และไม่ทำให้มูลค่าทางบัญชีและผลตอบแทนต่อหุ้นลดลงด้วย
เมื่อมองในด้านของผู้ลงทุน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางเลือกของผู้ลงทุนถูกจำกัดด้วยตลาดทุนที่ไม่สมบูรณ์
ในระยะเริ่มแรกที่ตลาดหุ้นยังไม่เป็นที่นิยมนั้น การออมของประชาชนถูกจำกัดเพียงการฝากเงินกับสถาบันการเงิน
โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนเท่านั้น
ปัจจุบันผู้ลงทุนอาจมีทางเลือกเพิ่มขึ้น คือสามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยมี CAPITAL GAIN และเงินปันผลเป็นผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีความผันผวนมาก
ตราสารประเภทหนี้ที่ทาง ก.ล.ต. กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลงทุนในอนาคตอันใกล้
โดยมี RISK และ RETURN อยู่ระหว่างกลางของการซื้อหุ้นและการฝากเงินกับสถาบันการเงิน
สนทนานักลงทุน
"ตราสารประเภทหนี้ จึงมีประโยชน์ทั้งในการบริหาร CAPITAL STRUCTURE
ของธุรกิจ และมีประโยชน์ในการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ
ปัญหาในขณะนี้จึงอยู่ที่จะพัฒนาตราสารประเภทหนี้ให้เป็นที่นิยมในตลาดได้อย่างไร
ซึ่ง "ผู้จัดการ" มีโอกาสสนทนากับผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่ง จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบเรื่องตราสารประเภทหนี้ ดังในบทสนทนาต่อไปนี้"
ถาม ตราสารประเภทหนี้ที่ทาง ก.ล.ต. กำลังผลักดันนี้ จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อนักลงทุนจะต้องเห็นว่าผลตอบแทนมีความจูงใจที่จะลงทุน
อยากจะเรียนถามถึง ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารประเภทหนี้ เปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นว่าเป็นอย่างไร
ตอบ เรื่องผลตอบแทนนั้นขึ้นอยู่กับภาวะหลายๆ อย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ย ถ้าบริษัทออกหุ้นกู้ไปโดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงแล้วปรากฎว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดลดลง
อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้ก็อาจจะสูง ผลตอบแทนในการซื้อหุ้นอาจจะสูงก็จริง
แต่หุ้นก็มีขึ้นมีลง ฉะนั้นก็ไม่จำเป็นที่ผลตอบแทนของหุ้นจะดีกว่า
ก.ล.ต. ไม่ได้ไปหวังหรือไปผลักดันให้มันเกิดตราสารประเภทหนี้ สิ่งที่ ก.ล.ต.ทำก็คือ
สร้างสภาพแวดล้อมหรือขจัดอุปสรรคที่มันเป็นอยู่ ทุกวันนี้ที่ตราสารหนี้เกิดไม่ได้
เพราะมันมีอุปสรรคในเรื่องกฎหมาย เรื่องภาษี และเรื่อง INFRASTRUCTURE อื่น
ๆ ซึ่งเราก็พยายามแก้อุปสรรคเหล่านี้ออกไป ส่วนมันจะเกิดหรือไม่เป็นเรื่องของภาคเอกชน
พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกมา จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง พ.ร.บ.
บริษัทมหาชน ส่วนเรื่องภาษี ทาง ก.ล.ต. ก็กำลังแก้ปัญหาร่วมกับกรมสรรพากร
พอดีมี VAT ขึ้นมาระบบภาษีก็เลยกลับไปเหมือนเดิม ซึ่งขณะนี้เรื่องภาษีก็ต้องแก้กันต่อไป
ส่วนเรื่อง INFRASTRUCTURE เช่น เรื่อง CREDIT RATING AGENCY ทางฝ่ายวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็กำลังศึกษากันอยู่
โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) จ้าง STANDARD & POOR เข้ามาศึกษา
ตอนนี้กระทรวงการคลังก็เห็นชอบโดยหลักการแล้ว ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย
กำลังผลักดันให้เกิดสถาบัน CREDIT RATING ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดตั้งบริษัท
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ตลาดตราสารประเภทหนี้เกิดขึ้นได้
ถาม สถาบัน CREDIT RATING นี้ จะเป็นสถาบันที่เป็นกลาง เป็นหน่วยงานอิสระใช่หรือไม่
ตอบ ใช่ครับ เป็นแนวความคิดว่าอย่างนั้น หลักที่ดูก็คือ ดูเรื่องความสามารถในการทำรายได้มาชำระดอกเบี้ยในแต่ละปี
รวมทั้งรายได้ที่มาชำระเงินต้นด้วย
ถาม เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีบริษัทเอกชนอื่น ๆ ตั้งด้วย ซึ่งจะทำให้มีหลายมาตรฐาน
ตอบ ในหลักการจริง ๆ แล้ว สถาบันนี้ควรจะตั้งได้โดยอิสระ ไม่ต้องขอใบอนุญาต
ใครจะตั้งก็ได้แล้วทำงานแข่งกัน ผู้ลงทุนจะเชื่อ RATING ของใคร ก็ให้สถาบันเหล่านี้สร้างความเชื่อถือขึ้นมา
แต่ในแง่ของเมืองไทย ซึ่งประชาชนยังไม่คุ้นเคยกับแนวความคิดอันนี้ ถ้าให้ใครก็ได้ตั้งสถาบัน
RATING ขึ้นมา ก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี จึงมองกันว่า ในเฉพาะหน้าควรจะมีเพียงสถาบันเดียวก่อน
แล้วก็มาพิจารณากันว่า ทำอย่างไร สถาบันจึงจะสามารถสร้างความเชื่อถือให้กับประชาชน
ก็มองกันกว้าง ๆ ว่า บริษัทนี้ไม่ควรมีผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่ถือหุ้นมากเกินไป
จนไป DOMINATED การทำงานของบริษัท ควรจะเป็นผู้ถือหุ้นหลาย ๆ ราย และมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อาจจะมีทางการเข้าไปถือหุ้นด้วยในเหตุผลที่ไปสร้างความเชื่อถือกับประชาชน
ถาม สถาบัน CREDIT RATING นี้จะเป็นบริษัทเอกชน ที่ขึ้นกับ ก.ล.ต.
ตอบ ครับ เป็นบริษัทเอกชน ส่วนเรื่องขึ้นกับ ก.ล.ต. มันเป็นอย่างนี้ครับ
อำนาจในการอนุญาตให้ใครออกหุ้นกู้ เป็นอำนาจของ ก.ล.ต. โดยเฉพาะหุ้นกู้ ประเภทที่ไม่มีหลักประกัน
(UNSECURED BOND) นี้ ทาง ก.ล.ต. จะกำหนดหลักเกณฑ์ว่า หุ้นกู้หรือตราสารนั้น
จะต้องผ่านการ RATING จากสถาบันที่ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ เหมือนผู้ตรวจสอบบัญชี
ใครจะเป็นก็ได้ แต่ถ้าคุณจะมาสอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ คุณจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ นี่ก็คล้าย ๆ กัน ในช่วงแรกต้องเป็นตราสารที่ผ่านการ
RATING จากสถาบันที่ ก.ล.ต. เห็นชอบ
ถาม ประเภทของหุ้นกู้จะมีทั้ง SECURED และ UNSECURED BOND
ตอบ UNSECURED BOND อาจจะออกยากในช่วงแรก เนื่องจาก CREDIT RATING AGENCY
ยังไม่เกิด ถ้าเราปล่อยให้ออก UNSECURED BOND แล้วเกิดเสียหายขึ้นมา ก็จะเป็นอันตราย
อาจทำให้ตลาดเสียไปเลย ฉะนั้น ในช่วงแรกก็ควรจะเป็นตราสารที่มั่นคง ซึ่งอาจจะเป็น
SECURED BOND หรือตราสารที่ออกโดยบริษัทใหญ่ๆ มีฐานะดีๆ มีสินทรัพย์มากๆ
คำว่า SECURED ในที่นี้มีสองความหมาย ความหมายหนึ่งคือ SECURED ตาม พ.ร.บ.
ที่เรียกว่า หุ้นกู้มีประกัน อีกอย่างหนึ่งคือ อาจเป็นตราสารที่สถาบันการเงินการันตี
มีอาวัล
โดยหลักการ เมื่อมี CREDIT RATING AGENCY แล้ว SECURED BOND นั้น ต้อง
RATE ที่สถาบันการเงินที่ค้ำประกัน เพราะสถาบันที่ค้ำประกันเป็นคนจ่าย สถาบันการเงินที่ค้ำประกันที่ถูก
RATED ก็ต้องเปิดเผยตัวเอง ซึ่งเราก็เคยคิดกันว่าประชาชนจะรับได้ไหม ถ้า
RATING ของธนาคารต่ำกว่าของบริษัทเงินทุนบางแห่ง
ถาม บริษัทประเภทไหนที่เหมาะกับการออกตราสารประเภทหนี้
ตอบ ถ้าตามกฎหมายก็ทุกบริษัทที่ ก.ล.ต. เห็นชอบมีสิทธิ์ออกตราสารประเภทหนี้
ส่วนในทางปฏิบัติก็ต้องเป็นบริษัทที่มีคนรู้จัก ไม่งั้นคนก็ไม่กล้าซื้อ
ถาม ถ้ามีบริษัทที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง ๆ อย่างพวก HIGH YIELD BOND หรือ
JUNK BOND
ตอบ อันนี้ก็จะติดที่ RATING การ RATING จะเป็นตัวกันไม่ให้ JUNK BOND เกิดได้ง่าย
ๆ ในระยะยาวหรือในหลักการ เราก็คงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด คือให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองว่า
ด้วยผลตอบแทนเท่านี้ ๆ แต่เป็น LOW GRADE BOND ผู้ลงทุนจะซื้อหรือไม่ แต่ในช่วงแรก
ๆ ทาง ก.ล.ต. ก็อาจกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้ม เช่น กำหนดว่าบริษัทที่จะออกตราสารต้องมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่
ซึ่งก็จะช่วยในการคัดเลือกบริษัทที่จะออกตราสาร ไม่ให้ล่มตั้งแต่ยกแรก ๆ
ถาม เคยประเมินหรือไม่ว่า ภาคเอกชนให้ความสนใจตราสารหนี้มากน้อยเพียงใด
ตอบ ผมไม่ทราบในส่วนของภาคเอกชนทั่วไป แต่สถาบันการเงินให้ความสนใจมาก ทั้งในด้านที่เป็นตัวกลางให้ผู้กู้และผู้ให้กู้มาเจอกัน
และในส่วนที่จะออกตราสารหนี้ระยะยาวที่มีสิทธิเรียกร้องต่ำ ๆ ซึ่งสามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ตามข้อกำหนดของ
BIS ถ้าธนาคารจะออกตราสารหนี้แบบ UNSECURED เพื่อที่จะนับเข้าเป็นเงินกองทุน
BIS ธนาคารก็ต้องผ่านการ RATED ก่อน
ถาม ใครที่จะเป็นผู้ซื้อ
ตอบ ก็คงไม่ใช่คุณ ๆ ผม ๆ แต่เป็นคนที่มี PORTFOLIO หรือพวกสถาบัน เช่น
บริษัทประกัน กองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ แล้วพวกนี้ซื้อเพราะถูกบังคับด้วยสัดส่วนทางกฎหมาย
เช่น ลงทุนในตลาดหุ้นได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ มันก็มีตลาดของมัน ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องตราสารหนี้ก็คือเรื่องของตลาดรอง
ก็เป็นเรื่องที่โยงไปถึง OTC ซึ่งเป็นเป้าหมายอันหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาก็เพื่อรองรับตราสารหนี้
วิธีจูงใจให้คนซื้อก็คือ ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจำ ซึ่งยังไงก็ยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ถาม ต้องใช้เวลาประมาณกี่ปี จึงจะเกิดตลาดรองที่มี LIQUIDITY
ตอบ OTC ตอนนี้ก็มีความเคลื่อนไหวที่จะตั้งกันหลายแห่ง เป้าหมายอันหนึ่งก็เพื่อตราสารหนี้ด้วย
แต่ถามว่าเมื่อไหร่ก็คงตอบยาก เราก็ไม่รู้ อุปสรรคในตอนนี้อันหนึ่งก็คือ
เรื่องภาษี ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการแก้ อีกส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ PRODUCT ที่ภาคเอกชนจะ
DESIGNED ขึ้นมาว่าจะน่าสนใจมาก
ถาม การพัฒนาตลาดรองในส่วนที่เกี่ยวกับ MARKET MAKER นั้น ทาง ก.ล.ต.จะมีส่วนส่งเสริมอย่างไร
ตอบ MARKET MAKER จริง ๆ แล้วก็คล้ายกับ BROKER หรือ DEALER รายใหญ่ คนที่มี
PORTFOLIO ของตราสารพวกนี้อยู่มาก แล้วก็เข้าไปทำตลาดให้ตราสารพวกนี้มีสภาพคล่อง
เข้าไป QUOTE ราคาซื้อขาย ทุกครั้งที่มีคนอยากซื้ออยากขาย และคุณเป็น MARKET
MAKER คุณก็ต้องทำให้การซื้อขายเกิดขึ้น ซึ่งบางครั้ง ถ้าคุณไม่มีตราสารอยู่ในมือ
คุณก็ต้องทำ SHORT เรื่องการทำ SHORT นี่เป็นอุปสรรคสำคัญ การที่จะให้มี
SHORT SALE ทั้งตลาด EQUITY และตลาด DEBT เราต้องมีหลักเกณฑ์ ระเบียบวิธีที่ทำให้ทางการมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่น
MARKET MAKER เป็นระบบหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะใช้หรือไม่ก็ได้ เราอาจจะใช้ระบบอื่นคล้าย
ๆ กับ OCT คือมีการ QUOTE ราคาพันธบัตรรัฐบาลที่ทางธนาคารต่าง ๆ ซื้อขายกันอยู่เพียงแต่ว่าตอนนี้ต่างคนต่างทำ
ถ้ามีศูนย์รวมขึ้นมา มีการใช้จอคอมพิวเตอร์ก็เป็นระบบ QUOTE ราคา ELECTRONIC
ที่รวดเร็ว คนซื้อคนขายก็สามารถรู้เลยว่ามีตราสารราคานี้อยู่ที่ไหนเพราะฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบ
MARKET MAKER ก็ได้
ถาม อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยที่ผ่านมา FLUCTUATE ค่อนข้างมาก จะมีผลอย่างไรกับตลาดตราสารประเภทหนี้
ตอบ อันนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่า ในสภาพที่อัตราดอกเบี้ย FLUCTUATE
นี้ ผู้ประกอบการจะ DESIGN PRODUCT ออกมาอย่างไร ซึ่งอาจจะเป็น FLOATING
RATE ก็ได้
ถาม การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนี้ จะให้กำหนดได้โดยเสรี
ตอบ ครับ ใช่ครับ แต่อาจจะมีหลักเกณฑ์สำหรับตราสารต่างอายุกัน ระยะสั้นก็อาจมีเกณฑ์แบบหนึ่ง
ระยะยาวก็มีเกณฑ์แบบหนึ่ง วัตถุประสงค์หลัก ก็เพื่อไม่ให้ไปทำให้การระดมเงินในตลาดเงินเกิดสะดุด