การขายสินทรัพย์มูลค่าเท่ากับงบประมาณประจำปีของประเทศไทยได้ให้บทเรียนสำคัญยิ่งกับมนตรี
เจนวิทย์การ เลขาธิการและกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ปรส.)
มนตรีต้องควบคุมดูแลสินทรัพย์มูลค่า 22.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ของบริษัทไฟแนนซ์
56 แห่ง ที่ถูกสั่งปิดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ภารกิจนี้ให้สัจธรรมแก่เขาถึงสองประการด้วยกัน
คือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรคุณต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ แน่นอน และใครๆ ก็อยากเรียนรู้บทเรียนของคุณทั้งนั้น
ไม่ใช่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ที่เห็น "ความเลวร้าย" ของปรส. ที่เกิดจาก "ความล้มเหลว"
การประมูลสินทรัพย์ไฟแนนซ์ ที่ถูกปิด ล่าสุดเอเชียวีค (Asia week) รายงานถึงการทำงานในองค์กรปรส.ภายใต้การนำของมนตรี
เจนวิทย์การ
เอเชียวีครายงานว่ากว่าสองปีมาแล้ว ที่ ปรส.ดำเนินการประมูลขายสินทรัพย์
ที่ถูกอายัดทั้งหมดออกไปอย่างเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นหนี้เสีย (bad debt) หนี้ชั้นดี
(good loans) หรือสินทรัพย์อีกจิปาถะ ตั้งแต่สมาชิกสนามกอล์ฟไปจนถึงรถเมอร์เซเดสเบนซ์
และตอนนี้ ปรส.กำลังสะสางปัญหา ที่ ยังคาราคาซังให้เรียบร้อย เพื่อ ที่จะปิดงานลงอย่างมีประสิทธิภาพในเดือนกรกฎาคมนี้
กระนั้น ยังมีเสียงตำหนิอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับปัญหาความโปร่งใสของ ปรส.
เช่น การขายสินทรัพย์ให้ต่างชาติมากเกินไป อีกทั้งหลายรายการก็ขาย ในราคาต่ำเกินไป
ข้อวิจารณ์ในเรื่องความโปร่งใสเกิดขึ้นเมื่อโกลด์แมน ซาคส์ และจีอี แคปิตอล
จัดตั้งบริษัทร่วมทุน "ไทย แคปิตอล" ขึ้นโดยเลือกซื้อหนี้เงินกู้ธุรกิจมูลค่า
1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปในราคา 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปีที่แล้วปรส.จึงถูกร้องเรียนให้เปิดเผยเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว
ในชั้นแรก ปรส.ปฏิเสธ โดยอ้างว่าข้อตกลงเป็นความลับ แต่ในที่สุดก็ต้องยอมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเมื่อเดือนมีนาคม
ที่ผ่านมา ตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด
เอเชียวีคสัมภาษณ์มนตรีกรณีขายสินทรัพย์ให้กับต่างชาติ มนตรีตอบ อย่างขวานผ่าซากว่า
"ถ้าหากคุณไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามา คุณจะต้องแบกหนี้เสียไว้เต็มหลัง ผมไม่เข้าใจผู้ที่คัดค้านเลย
ทำไมเรายอมให้เขามาลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ได้ หรือคุณจะเลิกใช้รถเบนซ์แล้วเริ่มขี่จักรยานเมดอินไทยแลนด์กัน"
เขาบอกมีผู้ลงทุนของไทยอย่าง บง.เกียรตินาคิน ที่มาประมูลหนี้เงินกู้ ธุรกิจก้อนโตไปเช่นกัน
และประมูลไปในราคาสูงกว่า ที่โกลด์แมน ซาคส์เสนอถึงราว 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มนตรีบอกอีกว่า "เกียรตินาคินให้ราคาสูงกว่าเกินกว่า 50% ด้วย"
ส่วนกรณีการขายสินทรัพย์ในราคาต่ำเกินไป เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขสถิติแล้วกลับแสดงข้อเท็จจริงบางประการ
คือ สองปีที่ผ่านมาปรส.ขายสินทรัพย์ไปได้ในราคาถึง 33% ของมูลค่าตามบัญชี
หรือหากนับจากช่วง ที่วิกฤติเศรษฐกิจยังไม่ลุกลามสัดส่วนราคาจะสูงถึง 50%
ซึ่งนับว่าสูงทีเดียว
ทั้งนี้ในระหว่างปี 1990-1998 Federal Deposit Insurance ของสหรัฐฯ ดำเนินการประมูลขายสินทรัพย์
ที่ถูกอายัดไปได้ในราคาเพียง 28% ของมูลค่าตามบัญชี ขณะที่ Resolution Trust
Corporation หน่วยงาน ที่รับผิดชอบจัดการกับวิกฤติเงินกู้ และเงินออมของสหรัฐฯ
ต้องใช้เวลาถึงเจ็ดปีกว่า ที่จะขายสินทรัพย์อายัดได้ในอัตรา 49 % ของมูลค่าตามบัญชี
ส่วน Korea Asset Management ขายสินทรัพย์ได้ในอัตรา 33% ของมูลค่าตามบัญชี
แต่ก็ดำเนินการขายสินทรัพย์ไปได้เพียงราว 30% ของ สินทรัพย์ ที่มีอยู่ทั้งหมด
หรืออย่างในเม็กซิโก ที่รัฐบาลสั่งหยุดดำเนินการขายสินทรัพย์ ที่ถูกอายัดหลังจาก
ที่หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการไปได้ไม่นาน และมีอัตราการขายสินทรัพย์อายัดเพียง
12% ของมูลค่าตามบัญชี
มนตรียอมรับว่าการขายสินทรัพย์บางประเภทควรใช้วิธีการอื่น ทั้งนี้เขาได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบงานในปรส.
ในสมัยของรัฐบาลชุดก่อน ซึ่ง ต้องการเร่งจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทไฟแนนซ์
ที่ถูกปิดโดยเร็ว และไม่ให้แยกประมูลเป็นล็อตเล็กๆ ด้วยเหตุนี้เอง การดำเนินการประมูลขายหนี้ชั้นดีจึงต้องใช้วิธีเดียวกันกับหนี้เสีย
"ปัญหาอยู่ ที่พระราชกฤษฎีกา" อาภรณ์ ชีวะเกรียง ไกร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีชวน
หลีกภัย กล่าว
ปรส.ไม่มีทางเลือกจึงต้องจัดเงินกู้ทั้งหมดเป็นกลุ่ม เพื่อขายออกไปโดยด่วน
อาภรณ์กล่าวเสริมว่า "ปรส.มีแรงกดดัน ที่จะต้องประมูลขายให้เร็วที่สุด เลยทำให้ต้องจับสินทรัพย์ขายเป็นล็อตใหญ่
ดังนั้น ถ้าหากโกลด์แมน ซาคส์ ซื้อไว้ ที่ 20% ก็เอาไปขายต่อได้ถึง 40-50%
พวกลูกหนี้เองยิ่งดีใจ ที่จะซื้อหนี้คืน และโกลด์แมน ซาคส์ก็ได้เงินก้อนโต"
หากขายเป็นล็อตเล็กลงอาจทำให้บริษัทไทยหลายแห่งอยากซื้อ แต่มนตรีมีความเห็นว่าการขายเป็นล็อตเล็กจะดึงได้
แต่ผู้ประมูลรายเล็ก และได้ราคาเสนอซื้อ ที่ต่ำๆ
ความเร่งรีบในการประมูลขายสินทรัพย์เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่มีผู้ไม่พอใจ
เช่น เงินกู้เช่าซื้อรถกว่า 5 แสนคันถูกขายออกไปเร็วเกินไปจนไม่ได้ราคา ที่ควรจะเป็น
โดยสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขายไปในราคา
632 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มนตรีบอกว่ามีค่าใช้จ่าย ที่ซ่อนเร้น (hidden cost)
หากจะเก็บเงินกู้ก้อนนี้ไว้ "เราจะต้องเสียค่าจ้างพนักงาน รวมทั้งปัญหาในการจัดเก็บรถยนต์
ที่ยึดไว้" มนตรีบอก จีอี แคปิตอล ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อรถยนต์ล็อตใหญ่จากปรส.ไป
ยังต้องเร่งจำหน่ายรถยนต์ ให้ได้เดือนละ 600 คัน และต้องใช้พนักงานถึง 1,
000 คนดูแลในเรื่องเงินกู้
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับการขายหนี้ของธุรกิจส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้กลุ่ม ที่โยงใยอยู่กับกลุ่มการเมือง
และเป็นกลุ่ม ที่ต้องการต่อรองราคาประมูลด้วย "กลุ่มผู้กู้ขอให้ปรส.เห็นใจพวกเขา
เพราะความล้มเหลวทางธุรกิจไม่ได้เป็นผลจากความไม่สามารถในการบริหารธุรกิจของพวกเขาเท่านั้น
แต่เกิดขึ้นเพราะความล้มเหลวทางโครงสร้างของระบบการเงินทั้งระบบด้วย" มนตรี
กล่าว
นับว่ายังดี ที่เงินกู้จำนอง ที่อยู่อาศัย ที่ขายให้กับจีอี แคปิตอล และเลห์แมน
บราเธอร์ไปเป็นล็อตใหญ่ ทำเงินให้ปรส. 303 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก มูลค่าตามบัญชี
ที่ 647 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ไม่มีเสียงวิจารณ์ในกรณีนี้มากนัก
อย่างไรก็ตามเค้าลางความยุ่งยากยังมีตามมาอีก นั่นคือ ปรส.ต้องชำระเงิน
ที่ประมูลขายสินทรัพย์ได้ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับบรรดาเจ้าหนี้ แต่สภานิติบัญญัติจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าปรส.จะดำเนินการชำระหนี้คืนให้กับเจ้าหนี้โดยตรง
หรือนำสินทรัพย์ทั้งหมดส่งให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินการขั้นต่อไป ทั้งนี้วิธีการแรกจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็วแต่วิธีการหลังจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี
พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า สิ่งที่ประเทศอื่นๆ
ควรศึกษาเป็นบทเรียนจากกรณีของไทย คือ มีวิธีการแก้ปัญหาความวุ่นวายอีกวิธีหนึ่ง
คือ การผนวกหรือควบกิจการบริษัทไฟแนนซ์แทน ที่จะสั่งปิด เขากล่าวว่าประเทศ
ที่มีปัญหาในการหาผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์หรือ หนี้สิน ที่ถูกยึดไม่ควรเร่งรีบประมูลขายออกไปโดยเร็วเกินไป
ทว่าสำหรับมนตรีแล้วเขาท่องจำบทเรียนหนึ่งได้ขึ้นใจ นั่นก็คือ ไม่มีคำตอบ
ที่ง่ายดายในโลกนี้