Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535
"บมจ. เส้นทางใหม่ของบริษัทจดทะเบียน"             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange
นที วิพุธกุล




ภายในเวลา 2 ปีข้างหน้า บริษัทจดทะเบียนและรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน จำกัด (บมจ.) ตามข้อบังคับในกฎหมายใหม่ 4 ฉบับ คือ กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีผลยกเลิกกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ฉบับเก่าทั้งหมด, กฎหมายบริษัทมหาชนซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกฉบับเก่าและตราขึ้นมาใหม่, พรบ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 12 และ พรบ. แก้ไข พรบ. เงินทุนหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์

กฎหมายใหม่เหล่านี้ได้รับการแก้ไขสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน โดยกฎหมายฉบับแรกประกาศใช้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 16 มีนาคม 2535 และมีผลบังคับใช้ประมาณวันที่ 16 พฤษภาคม 2535

ส่วนกฎหมาย 3 ฉบับหลังเพิ่งประกาศเมื่อ 8 เมษายน 2535 เท่ากับมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 มิถุนายน 2535

กฎหมายฉบับแรกและ 3 ฉบับหลังจะมีผลบังคับใช้ห่างกันประมาณ 23 วัน ซึ่งนที วิพุธกุล หัวหน้าฝ่ายจดทะเบียน1 กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า "ระยะเวลาบังคับใช้ที่ห่างกันไม่มีผลกระทบ มันสามารถประสานใช้ร่วมกันได้"

นทีเปิดเผยถึงลักษณะของกฎหมายมหาชนฉบับใหม่ที่ต่างออกไปจากฉบับเก่าซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2521 และมีการแก้ไขปรับปรุงรวม 2 ครั้งว่า "กฎหมายเก่านั้นกำหนดเรื่องหุ้นและผู้ถือหุ้นไว้ละเอียดมาก นี่เป็นประเด็นที่ยุ่งยากมากแต่ในกฎหมายใหม่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงเลย"

ในกฎหมายมหาชนฉบับเก่ากำหนดว่าบริษัทมหาชนต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ในจำนวนหุ้นหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนต้องมีการแบ่งสัดส่วนผู้ถือหุ้นออกเป็น 2 พวก คือ รายใหญ่และรายย่อย

หุ้นของบริษัททั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จะถือโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยซึ่งถือได้ไม่เกินรายละ 0.6% ของหุ้นทั้งหมด ส่วนหุ้นที่เหลือถือโดยรายใหญ่ คือรายละไม่เกิน 10% ของหุ้นทั้งหมด

นั่นเท่ากับว่าในข้อบังคับเดิม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีสิทธิถือหุ้นได้มากกว่าผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือข้อบังคับเดิมให้การปกป้องคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างมาก

ส่วนทุนจดทะเบียนนั้นกำหนดว่าต้องเป็นทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท รายละเอียดในกฎหมายเก่าเหล่านี้ได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ไม่มีปรากฏในกฎหมายใหม่แม้แต่น้อย

นทีเปิดเผยว่า "กฎหมายใหม่กำหนดไว้เพียงว่าบริษัทมหาชนคือ บริษัทที่มีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าต้องขายให้ประชาชนอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าสามารถขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้ด้วย อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสอดคล้องกับการขายหุ้นปัจจุบันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีทั้งการขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมและขายให้ประชาชนสุดแท้แต่มติของคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาจัดสรร"

ส่วนการจัดตั้งบริษัทมหาชนสามารถทำได้ใน 2 กรณี คือจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ และวิธีที่สองคือการแปรสภาพบริษัทจำกัด (บจ.) เป็น บมจ. ซึ่งกรณีหลังนี้บริษัทที่เข้าข่ายคือ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

บริษัทจำกัดในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแปรสภาพด้วยการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติพิเศษอนุมัติให้มีการแปรสภาพการเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ การเปลี่ยนชื่อบริษัท การเปลี่ยนข้อบังคับใหม่ซึ่งบริษัทต้องร่างโดยไม่ขัดกับกฎหมายมหาชน วัตถุประสงค์ซึ่งต้องมีการระบุอย่างชัดเจนไม่ใช่การระบุแบบกว้าง ๆ อย่างที่เคยทำมา การเลือกกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คนและการเลือกตั้งผู้สอบบัญชีใหม่รวมถึงดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ตามที่จำเป็น

เมื่อได้มติพิเศษมาดำเนินการแล้ว กรรมการในบริษัทจำกัดต้องส่งมอบกิจการให้กรรมการชุดใหม่ของบริษัทมหาชนจำกัดภายใน 7 วัน และต้องดำเนินการจดทะเบียนแปรสภาพภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประชุมมติพิเศษดังกล่าวเสร็จ

กระบวนการแปรสภาพจาก บจ. เป็น บมจ. นั้นต้องจดทะเบียนทั้งที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์และที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลอื่นนอกจากผู้เริ่มจัดตั้ง

พิเศษ เสตเสถียร รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็นว่า "ข้อต่างของ บจ. กับ บมจ. คือการแจ้งเกิด หากจดทะเบียนแจ้งเป็นบริษัทมหาชนก็สามารถขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปได้ หากจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ไม่สามารถขายได้ ส่วนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะเพิ่มทุนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนต้องแปรสภาพเป็น บมจ. เท่านั้นจึงจะทำได้ นั่นหมายความว่าต้องแปรสภาพตั้งแต่กฎหมายบังคับใช้ หากต้องการเพิ่มทุนขายหุ้นต่อประชาชน ยกเว้นบริษัทที่ได้ขออนุญาตเพิ่มทุนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ไว้ ก่อนหน้ากฎหมายประกาศใช้ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแปรสภาพเป็น บมจ."

นทีและพิเศษต่างให้ข้อคิดเห็นที่เหมือนกันประการหนึ่งว่าขั้นตอนการแปรสภาพเป็น บมจ. หรือจดทะเบียนเป็น บมจ. ในกฎหมายมหาชนฉบับใหม่ค่อนข้างสะดวก ไม่หยุมหยิมเหมือนกฎหมายฉบับเดิมเมื่อปี 2521 และไม่น่ากลัวอย่างที่เคยคิดกันไว้

แพทย์หญิงประภา วงศ์แพทย์ กรรมการรองผู้จัดการบริษัท สำโรงการแพทย์ จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความยุ่งยากมากมายสมัยที่สำโรงฯ ต้องแปรสภาพเป็น บมจ. ตามกฎหมายเก่าว่า "ระยะเวลาที่ดำเนินการเพื่อแปรสภาพเป็น บมจ. ใช้เวลานานถึง 2 ปีกว่า แถมยังมีปัญหาจุกจิกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายย่อยที่ต้องคอยดูให้เป็นไปตามกฎหมายตลอดเวลา"

แต่ในกฎหมายใหม่ประเด็นเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น ไม่มีระบุไว้อีกต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก ๆ ในความเห็นของผู้บริหารสำโรงการแพทย์ฯ ที่มีประสบการณ์แปรสภาพเป็น บมจ. มาก่อน

ศิรินันท์ จันทโร กรรมการผู้จัดการ บล. ยูเนี่ยน ให้ความเห็นสนับสนุนการที่จะต้องเป็น บมจ. ในอนาคตว่า "ข้อดีอย่างหนึ่งที่จะได้หากมีการแปรสภาพก่อนวันที่ 8 มิถุนายนนี้ คือการประหยัดค่าธรรมเนียมประมาณ 40,000 บาท เพราะค่าธรรมเนียมหลังกฎหมายใหม่ประกาศใช้จะเพิ่มขึ้นทุกอย่าง"

อย่างไรก็ดี ศิรินันท์ ยืนยันว่าหากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีการเพิ่มทุนอะไรเลยก็สามารถอยู่ได้อีก 2 ปี โดยไม่ต้องแปรสภาพเพราะกฎหมายจะบังคับก็ต่อเมื่อบริษัทต้องการระดมทุนจากประชาชน

พิเศษ กล่าวอย่างชัดเจนว่า "การเป็น บมจ. เอื้อประโยชน์แก่การระดมทุนมากกว่า บจ. ในแง่ที่สามารถขายหุ้นให้กับประชาชนได้ บมจ. กับการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นคนละเรื่องกัน บมจ. สามารถอยู่นอกตลาดฯ ได้และกฎหมายหลักทรัพย์ก็เปิดโอกาสให้มีการระดมทุนในหลายรูปแบบด้วย"

ภายใน 2 ปีข้างหน้า สำโรงการแพทย์ฯ คงจะไม่โดดเดี่ยวเป็น บมจ. เพียงรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกต่อไปเพราะจะมี บจ. จำนวนมากแปรสภาพมาเป็น บมจ.

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us