|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2551
|
 |

ความสำคัญของกรุงเทพมหานคร หากจะเปรียบในเชิงกายวิภาคก็คงไม่ต่างจากการเป็นหัวใจที่พร้อมจะสูบและฉีดอนูของเม็ดโลหิตให้ไหลเวียนไปทั่วร่าง
แต่ดูเหมือนว่าสุขภาพของหัวใจดวงนี้กำลังพอกพูนด้วยปัญหาและกำลังรอคอยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งอาจหนักหนาถึงขั้นต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ก็คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้
ขณะที่ข้อเท็จจริงในชีวิตทางการเมืองของกรุงเทพ มหานคร แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่เคยมี
ประชากรชาวกรุงเทพมหานครทุกคนต่างหากที่กำลังจะชี้วัดความเป็นไปของกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ผู้อาสาที่รับสมอ้างว่าเป็นแพทย์
เพราะสุขภาพของกรุงเทพมหานคร ย่อมเกิดจากสุขอนามัยพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขอนามัยทางปัญญา ซึ่งจะสะท้อนออกมาเป็นแนวความคิดของคนกรุงเทพฯ เอง
มีผู้เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่มีเจ้าของ เพราะคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกับพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างแท้จริง
ลักษณะของ sense of belonging ที่ควรจะทำให้คนกรุงเทพฯ มีสำนึกความรับผิดชอบ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษากรุงเทพฯ กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากขึ้นเป็นลำดับ
บทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในอนาคตควรเป็นไปในฐานะของผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการให้คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะเท่านั้น
หากหมายถึงการอำนวยความสะดวกให้คนกรุงเทพฯ สามารถมีส่วนร่วมพัฒนา เพื่อวางรากฐานและปรับปรุงโครงสร้างสำหรับการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะด้วย
นอกจากนี้การอำนวยประโยชน์และการผลิตสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมให้เกิดกับคนกรุงเทพฯ ทั้งมวล มิได้หมายถึงการลดช่องว่างด้วยการทำให้คุณภาพและมาตรฐานในการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครตกต่ำลง ในลักษณะ "เสื่อมทรามอย่างเท่าเทียม"
หากแต่จะต้องเกิดจากการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ให้เจริญก้าวหน้า และมีโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่และทรัพยากรอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นบันไดหนุนนำไปสู่พัฒนาการของการสร้างประชาสังคมที่ทุกภาคส่วนมีส่วนในการถกแถลงและร่วมกำหนดทิศทางของกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง
และเป็นการพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคนอย่างแท้จริงในอนาคต
|
|
 |
|
|