|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2551
|
|
กรุงปารีสเต็มไปด้วยพิพิธภัณฑ์เหมาะสำหรับผู้ใฝ่หาความรู้และสุนทรียภาพในชีวิต นอกจากงานศิลป์ที่เป็นคอลเลกชั่นถาวรแล้ว ยังมีการจัดนิทรรศการศิลป์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางอีกด้วย ดังในกรณีของพิพิธภัณฑ์กีเมต์ (Guimet) ซึ่งแสดงงานศิลป์และโบราณวัตถุของเอเชีย พิพิธภัณฑ์เก บรองลี (Musee Quai Branly) สำหรับ arts primitifs หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ดอร์เซย์ (Musee d'Orsay) แสดงภาพเขียนอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionist) เป็นต้น
ล่าสุด เปิดพิพิธภัณฑ์อาร์ต เดโก- Musee des arts decoratifs ตรงหัวมุมถนน rue Rivoli และสวนการูสเซล (jardin du Caroussel)
อันที่จริง Musee des arts decoratifs ถือกำเนิดในปี 1905 ครั้งนั้นเรียกชื่อว่า Union centrale des arts decoratifs จากการรวมตัวของ Union centrale des Beaux-arts appliques a l'industrie องค์กรเอกชนซึ่งก่อตั้งในปี 1882 และ Societe du Musee des arts decoratifs หากไม่มีสถานที่ที่จะสามารถจัดแสดงคอลเลกชั่นถาวร อันแสดงถึงงานศิลป์ที่สะท้อนสุนทรียภาพและประโยชน์ใช้สอยในเวลาเดียวกัน จวบจนปี 1897 รัฐจึงจัดสรรให้ใช้ปีกมาร์ซอง (Pavillon Marsan) ของพระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เป็นที่ตั้งของ Union centrale des arts decoratifs
ปีกมาร์ซองสร้างเสร็จในปี 1850 ถูกไฟไหม้ในปี 1871 หลังจากนั้น 3 ปีจึงสร้างขึ้นใหม่ และใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กาสตง เรอดง (Gaston Redon) สถาปนิกประจำพิพิธ ภัณฑ์ลูฟวร์ได้รับมอบหมายให้แปลงปีกมาร์ซองเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมีกำหนดเปิดรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ด้วยว่าต้องใช้เวลาถึง 5 ปีในการขนย้ายเอกสาร หลังจากเปิดพิพิธภัณฑ์ได้ 5 ปี กล่าวคือในปี 1910 เกิดน้ำท่วม ทำให้เอกสารที่ยังตกค้างอยู่เป็นจำนวนมากเสียหาย
ตลอดศตวรรษ 20 ปีกมาร์ซองมีการบูรณะอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ไม่เหมาะ กับการนำงานศิลป์อาร์ต เดโกซึ่งเป็นคอล เลกชั่นถาวรออกแสดง จึงจำต้องปรับปรุงใหม่ครั้งใหญ่ โดยมอบหมายให้สถาปนิก 4 คนทำงานร่วมกับภัณฑารักษ์ ทั้งนี้โดยเคารพเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเดิมและปรับเปลี่ยนการจัดแสดงและการเดินชมงานศิลป์ บรูโน มัวส์นาร์ด (Bruno Moisnard) และออสการ์ ตูส์เกต์ (Oscar Tusquets) รับผิดชอบส่วนที่เป็นงานศิลป์ศตวรรษที่ 17 จนถึงยุคอาร์ต เดโก ส่วนซิลแวง ดูบุยซง (Sylvain Dubuisson) รับผิดชอบงานศิลป์สมัยใหม่และร่วมสมัย และแบร์นาร์ด เดส์มูแลง (Bernard Desmoulin) รับผิดชอบแกลเลอรีเฉพาะเรื่อง ส่วนดาเนียล กาอาน (Daniel Kahane) ดูแลงานนิทรรศการชั่วคราว
Musee des arts decoratifs มีทางเข้าสองทางคือ เลขที่ 107 rue Rivoli และทางสวนตุยเลอรีส์ (jardin des Tuileries) ซึ่งมีภัตตาคาร Le saut du loup ที่มองเห็นสวนสวยด้วย
สมบัติของ Musee des arts decoratifs มีตั้งแต่ยุคกลางจนถึงปัจจุบัน มีทั้งเครื่องเรือน เทเปสตรี้ กระดาษฝาผนัง เซรามิก เครื่องแก้ว ภาพเขียนทางศาสนา ตุ๊กตา เครื่องเพชร ประติมากรรม และงานศิลป์สไตล์อาร์ตนูโว (art nouveau) อาร์ตเดโก (art deco) กราฟิกอาร์ตหรืองานดีไซน์ร่วมสมัย จึงเห็นพอร์ซเลนจาก Manufacture nationale de Sevres พรมของโอบุสซง (Aubusson) เครื่องแก้วของเรอเน ลาลิค (Rene Lalique) และเอมิล กัลเล (Emile Galle) บัลลังก์ของนโปเลอง (Napoleon) หรือแม้แต่อพาร์ต เมนต์ส่วนตัวของฌาน ลองแวง (Jeanne Lanvin) ช่างเสื้อดังในอดีต ซึ่งออกแบบโดยอัลแบรต์ อาร์มองด์ ราโต (Albert Armand Rateau) ในทศวรรษ 20 และมอบแก่พิพิธภัณฑ์ในปี 1965 ประกอบด้วย ห้องน้ำ ห้องนอน และห้องแต่งตัว เฉพาะห้องน้ำต้องใช้เวลาในการติดตั้งถึง 2 เดือน ได้เห็นความหรูหราของช่างเสื้อดังในอดีต นอกจากนั้นยังมีห้องนอนของบารอน วิลเลียม โฮป (baron William Hope) ปี 1840 ห้องนอนของสาวชาววัง วัลแตส เดอ ลา บีญ (Valtsse de la Bigne) ซึ่งเอมิล โซลา (Emile Zola) นำไปเขียนเป็นตัวละครในหนังสือเรื่อง Nana ห้องบรรทม ของกษัตริย์หลุยส์-ฟิลิป (Louis-Philippe) ห้องรับประทานอาหารของเอมิล กัลเล (Emile Galle) เป็นต้น
ส่วนแกลเลอรีเฉพาะเรื่อง มีห้องแสดงเครื่องประดับ ห้องที่แสดงผลงานของฌอง ดูบุฟเฟต์ (Jean Dubuffet) โดยเฉพาะ หรือห้องแสดงของเล่น เป็นต้น ในห้องแสดงเครื่องประดับนั้นมืด เปิดไฟสลัวส่องเครื่องประดับแต่ละชิ้น ไม่สามารถ อ่านได้ครบถ้วนกระบวนความ หมายใจว่า ครั้งหน้าจะหาไฟฉายเล็กไปส่องดูเหมือนสาวฝรั่งเศสคู่หนึ่ง ถึงกระนั้นยังได้เห็นผลงานของการ์ทีเอร์ (Cartier) วอง เคลฟ เอต์ อาร์เปลส์ (Van Clef & Arpels) เรอเน ลาลิค (Rene Lalique) วิคตัวร์ เดอ ลา กาสเตลลาน (Victoire de la Castellance) ที่ออกแบบให้ห้างเพชรดิออร์ (Dior) เป็นต้น เครื่องประดับมีทั้งเครื่องเงิน เครื่องทอง หรือที่ทำด้วยเหล็กกล้า และวัสดุอื่นๆ ในบรรดางานของต่างประเทศ เครื่องทองอินเดียมีมากที่สุด
รัฐให้เงิน 21.2 ล้านยูโร ในการซ่อมแซม Musee des arts decoratifs อีก 11 ล้านยูโรสนับสนุนโดยเอกชนใช้เวลาในการบูรณะถึง 18 เดือน พิพิธภัณฑ์มีผลงานในครอบครอง 150,000 ชิ้น ทว่านำออกแสดงเพียง 4,500 ชิ้นเท่านั้น
ในปีกมาร์ซองของพระราชวังลูฟวร์ มีพิพิธภัณฑ์แฟชั่นและผ้า (Musee de la mode et du textile) พิพิธภัณฑ์โฆษณา (Musee de la publicite) ด้วย
Musee des arts decoratifs มีอะไรให้ดูมากมาย มีเวลาสองชั่วโมงก่อนการนัดหมาย ก็ยังไม่สามารถชมได้ทั่วถึง เพียงแต่ว่าแผนกสุดท้ายที่ไปชมเป็นงานศิลป์ทางศาสนาคริสต์ จึงพอมองข้ามไปได้ หมายใจว่า คราวหน้าจะปันเวลาให้มากกว่านี้
เนื่องจาก Musee des arts decoratifs อยู่ในพระราชวังลูฟวร์ จึงนั่งรถไฟไปขึ้นสถานี Palais royal (Musee du Louvre) ปากทางเข้าเลยทางเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เพียงนิดเดียว ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีบูติกขายหนังสือและของกระจุกกระจิกที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งกระเป๋าด้วยสนนราคาค่อนข้างแพง เพราะถือเป็นงานศิลป์
|
|
|
|
|