Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551
ณรงค์ VS โสภณ บริหารอย่างลงตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท วีเน็ท แคปปิทอล จำกัด

   
search resources

ณรงค์ อิงค์ธเนศ
โสภณ บุณยรัตพันธุ์
SMEs
วีเน็ท แคปปิทอล, บจก.




ณรงค์ อิงค์ธเนศ พบโสภณ บุญยรัตพันธุ์ โดยบังเอิญในแวดวงธุรกิจ เขาทั้งสองมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ณรงค์เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานกว่า 20 ปี ส่วนโสภณถนัดงานการเงินมาตลอดช่วงชีวิตการทำงานของเขา เมื่อทั้งสองมาร่วมงานกัน ก็เหมือนมาเจอกัน ถูกที่ ถูกเวลา

ก่อนหน้าที่ณรงค์จะพบกับโสภณ เขามีบริษัทเป็นของตัวเอง ที่ชื่อว่า บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด จำหน่ายสินค้าไอที ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2531 และ ณรงค์นั่งในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ในตอนนั้นเขาก่อตั้งบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่แม่ให้เขามา 5 แสนบาท และที่เหลือเป็นเงินสะสมของเขาเอง ในปีแรกเขามีรายได้จากการดำเนินงาน 10 ล้านบาท จนกระทั่งปัจจุบันเขามีรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2550 ที่ผ่านมา

ก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จและมียอดขายอย่างทะลุทะลวงนั้น เขาเคยมีแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมเงินทุนแต่เกิดภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้แผนเข้าตลาดหลักทรัพย์หยุดชะงัก แต่บริษัทก็ได้หันไปเข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน

ตอนนั้นได้รู้จักโสภณในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งโสภณทำงานให้กับบริษัทคูเปอร์แอนด์ ไลน์แบรนด์ จำกัด จากการพูดคุยที่ถูกอัธยาศัย ทำให้ณรงค์ชักชวนโสภณมาร่วมทำงานด้วย ในตำแหน่งกรรมการบริหารตั้งแต่ปี 2541 ทำหน้าที่ดูแลด้านการเงินและบัญชีทั้งหมดของบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด

จนกระทั่งณรงค์มีแนวคิดที่ก่อตั้งบริษัทกองทุนร่วมทุน หรือบริษัท วีเน็ท แคปปิทอล จำกัด เมื่อปี 2542 เขาจึงชักชวนโสภณมารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ณรงค์สนใจก่อตั้งบริษัท วีเน็ท แคปปิทอลฯ เป็นเพราะในช่วงที่เขานำบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุน เนื่องจากขาดแคลนเงินทุนในการขยายกิจการ และในช่วงนั้นเองที่มีพันธมิตรร่วมทุนเข้ามาถือหุ้น 3 บริษัท คือ บริษัท เจเอไอซี จากญี่ปุ่น บริษัท โรด ชาร์แลนด์ เจอร์ของยุโรป และบริษัท YKAY เทคโนโลยี ทำให้มีเงินเข้ามา 65 ล้านบาท และหลังจากที่บริษัท เดอะแวลลูฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ในสิงคโปร์ได้ไม่นาน บริษัทร่วมทุนก็ขายหุ้นคืน บริษัทเหล่านั้นได้รับผลตอบแทนไปอย่างคุ้มค่า จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ณรงค์เข้าใจธุรกิจกองทุนร่วมทุนว่าเป็นธุรกิจที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะขยายธุรกิจ

การก่อตั้งบริษัท วีเน็ท แคปปิทอล เกิดจากความร่วมมือของคน 3 คน คนแรกคือ ณรงค์เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ คนที่สอง โสภณเป็นกรรมการผู้จัดการ และคนที่สาม ชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการ

ซึ่งณรงค์ได้รู้จักกับชนิตรมาร่วม 20 ปี ตั้งแต่เขาทำงานอยู่ที่บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่งผู้ให้บริการลูกค้า เขามีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยี และสินค้าซีเกท เป็นสินค้าชิ้นแรกของบริษัท เดอะแวลลู ซิสเตมส์ ในตอนนั้น

ในตอนนั้นชนิตรมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยโสภณ ทำหน้าที่ทั้งด้านการเงินและเทคโนโลยี และปัจจุบันชนิตรมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ

การทำงานหลักปัจจุบันของบริษัท วีเน็ทฯ อยู่ภายใต้การทำงานของโสภณ โดยมีณรงค์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา

ณรงค์บอกว่า หลังจากนี้เป็นต้นไปเขาจะเข้ามาช่วยพัฒนาและขยายธุรกิจร่วมกับโสภณมากขึ้น และแบ่งเวลาทำงานประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ให้กับวีเน็ท และที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ดูแลบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด เพราะเขาต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เขาพบมากว่า 25 ปี ปัญหา วิธีคิด วิธีบริหาร วิธีการแก้ไขปัญหา ให้กับนักธุรกิจเอสเอ็มอี

"ผมมาทางด้านธุรกิจ ผู้ประกอบการ ส่วนคุณโสภณมาทางด้านของการเงิน บัญชี เราร่วมมือกัน ไม่ใช่เฉพาะบริหารอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องบุคลิก หรือโหงวเฮ้ง การทำงานมันต้องดูบัญชี ธุรกิจนี้ไปได้หรือไม่ได้ โสภณเตือนผมตลอดเวลา ผมมองธุรกิจเป็นด้านดีหน่อย เขาจะมองในอีกด้านหนึ่งก็ไปด้วยกันได้ดีทุกครั้ง" ณรงค์บอกกับ "ผู้จัดการ"

ปัจจุบันณรงค์อายุ 51 ปี เขาเป็นน้องชายของแจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทสหวิริยา โอเอ แม้ว่า บิดา มารดา เป็นคนไต้หวัน แต่เขาเกิดที่กรุงเทพฯ และครอบครัวย้ายมาอยู่ในเมืองไทยหมดแล้ว

ณรงค์เริ่มต้นทำงานให้กับธุรกิจในบริษัท สหวิริยาเป็นเวลา 5 ปี เขารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทสหวิริยา อินฟอร์เทค คอมพิวเตอร์ จำกัด และก้าวไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด

หลังจากที่ทำธุรกิจให้กับครอบครัวมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว เขาออกมาก่อตั้งบริษัทของเขาเอง คือบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด และขยายจัดตั้งบริษัทอีกหลายแห่ง บริษัท วีเน็ท แคปปิตอล จำกัด บริษัท ไทยอินคิวเบเตอร์ ดอทคอม จำกัด และบริษัทวินท์คอม เทคโนโลยี จำกัด

ด้านการศึกษาเขาเรียนในต่างประเทศ ระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเซเวนเดย์ แอดเวนติสท์ ไต้หวัน มัธยมศึกษาที่ไฮแรม จอห์นสัน ซีเนียร์ไฮสคูล แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรีและโท บริหารธุรกิจ แคลิฟอร์เนีย สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันรับตำแหน่งเป็นกรรมการของตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ และ ศศินทร์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำแผนธุรกิจ

ส่วนโสภณ ปัจจุบันอายุ 46 ปี เคยร่วมงานกับบริษัท คูเปอร์แอนด์ไลน์แบรนด์ จำกัด ในตำแหน่ง Audit Supervisor และเป็นผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบบัญชี บริษัท คูเปอร์ส (ไทย) จำกัด และรับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์แปซิฟิค ไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการบริหารบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท วีเน็ท แคปปิทอล จำกัด และกรรมการตรวจสอบบริษัท หลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน)

โสภณจบการศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยม) และปริญญาโท บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ล่าสุดโสภณได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมทุน ตำแหน่งดังกล่าวจะช่วยให้เขาสานต่อธุรกิจวีเน็ทให้กว้างมากขึ้น

ด้วยคุณสมบัติของณรงค์และโสภณที่มีความเชี่ยวชาญกันคนละด้าน ทำให้ธุรกิจได้รับการเติมเต็ม แต่ธุรกิจของพันธมิตรที่วีเน็ทไปร่วมลงทุนนั้นที่ผ่านมามีทั้ง "สำเร็จ" และ "ล้มเหลว" คละเคล้ากันไป

ก็เพียงแต่หวังว่าประสบการณ์ของทั้งสองจะช่วยให้ฝั่งที่ล้มเหลวลดน้อยลงไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us