Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551
การจัดการสิ่งแวดล้อมของไทยในบริบทเอเชีย             
โดย Jerome Rene Hassler
 


   
search resources

Environment
Jerome Rene Hassler




กลางเดือนกรกฎาคม มีการประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญว่าด้วยการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมเมืองพัทยา มีผู้เข้าร่วมประชุมหลายร้อยคน ทั้งนักวิชาการ นักการเมือง ข้าราชการจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นของไทย ตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ของสหประชา ชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วเอเชีย

บรรดาสถาปนิก นักเศรษฐศาสตร์ นักวางผังเมือง นักการเมือง นักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการอื่นๆ ร่วมหารือกันทั้งในการประชุมแบบครบองค์และการประชุมเชิงปฏิบัติการถึงแก่นสำคัญของการประชุม ครั้งนี้ นั่นคือ ราชการส่วนท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ในเอเชียจะสามารถสร้างชุมชนเมืองและชนบทที่ยั่งยืนได้อย่างไร

การประชุมดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึง ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่สำคัญต่ออนาคตทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวด ล้อมของไทย

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประชากรของไทยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 26 ล้านคนเป็น 65 ล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้สร้างปัญหาให้แก่ส่วนท้องถิ่นของไทยอย่างมากในแง่ของการจัดการเมือง

เพราะเมืองมีหน้าที่หลายอย่างทั้งต้องเป็นสิ่งแวดล้อม เป็นบ้านที่อยู่อาศัยที่ดี เป็นที่ทำงาน มีเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง เป็นพื้นที่พักผ่อนสันทนาการและพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมและบันเทิง โดยมีปัญหาที่สำคัญคือ โครงสร้างพื้นฐานของเมืองเติบโตไม่ทันการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร

ดังนั้น เมืองต่างๆ ของไทยจึงประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไปทั่วทั้งมลพิษทางอากาศและทางเสียง การสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอ ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลงเนื่องจากการใช้น้ำมากเกินไป และปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง

รัฐบาลไทยตระหนักในปัญหาเหล่านี้ มานานหลายทศวรรษแล้ว และพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ส่วนท้องถิ่นของไทยสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ด้วยการนำวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวด ล้อมและการวางผังเมืองมาใช้

แผนและนโยบายระดับชาติของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหลายฉบับพยายามจะรวมเอาประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในเมือง เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างเช่น นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 และแผนการจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2550-2554

ไทยเริ่มใช้ "การประเมินผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม" ในปี 1981 ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 6 (1986-1991) ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของไทย ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญ ด้วยการสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา

รัฐบาลไทยยอมรับว่า ทรัพยากร ธรรมชาติอันมีจำกัดของไทยถูกนำไปใช้แต่เฉพาะนโยบายเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับถัดจากนั้นของไทยจึงได้วางกรอบนโยบายสิ่งแวด ล้อมแห่งชาติอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก

โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น และกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่าง ยั่งยืน ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 10 ก็ริเริ่มนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งเน้นความมีเหตุมีผล ทางสายกลาง และการสร้างภูมิคุ้มกัน

อย่างไรก็ตาม การนำนโยบายไปปฏิบัติยังมีช่องว่างอยู่มาก ทำให้นโยบายทั้งหมดข้างต้นยังไม่ประสบผลสำเร็จ ไทยคงต้องเรียนรู้อีกมากจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้

ข้อสรุปสำคัญอีกประการที่ได้จากการประชุมที่พัทยาครั้งนี้คือ ข้าราชการระดับเทศบาลและตำบลของไทยเผชิญปัญหาที่ไม่ต่างไปจากปัญหาที่ส่วนท้องถิ่นในประเทศอื่นๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิก หรือส่วนอื่นๆ ของโลกเคยเผชิญมาแล้ว เพียงแต่บางประเทศอย่างเช่นเกาหลีใต้สามารถ ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วกว่าไทย

ส่วนท้องถิ่นของไทยต้องผลักดันกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมๆ กับการพยายามสร้างสภาพแวด ล้อมที่ดีต่อการดำรงชีวิตซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ

การจะบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองประการข้างต้นพร้อมกันไม่ใช่เรื่องง่าย การปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่แห่งการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และการเต็มใจที่จะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เมืองต่างๆ ของไทยมีความ ยั่งยืนและเป็นสถานที่ที่น่าอยู่มากกว่านี้

รัฐบาลไทยพยายามสร้างความเข้มแข็งให้แก่ส่วนท้องถิ่น โดยเริ่มกระบวนการ นี้มานานมากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว ด้วยการส่งเสริมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง การกระจายอำนาจเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลกและถูกเร่งให้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากการประชุมสุดยอดสหประชาชาติที่บราซิลเมื่อปี 1992

โดยหลักการพื้นฐานแล้ว การกระจายอำนาจคือการส่งเสริมให้ท้องถิ่นคิดหาวิธีแก้ปัญหาให้แก่ปัญหาระดับโลก อย่างเช่นปัญหาความยากจนและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ส่วนราชการท้องถิ่นทั่วโลกได้แสดงให้เห็นว่า เมืองสามารถเป็นแรงผลักดันหลักในการเปลี่ยน แปลงอย่างสร้างสรรค์ได้

ผลก็คือ ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา กระบวนการกระจายอำนาจของไทยได้ให้อิสระในการปกครองตนเองและจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนท้องถิ่นของไทยมากขึ้น หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือการกำหนดให้ส่วนราชการท้องถิ่นจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่สามารถสนองตอบได้มากกว่านี้ โดยให้มีการสนับสนุนด้วยแผนต่อเนื่องระยะ 3 ปี

โชคร้ายที่ดูเหมือนว่า ส่วนราชการท้องถิ่นของไทยยังคงไม่พร้อมที่จะทำได้ถึงมาตรฐานระดับสูงที่ส่วนกลางคาดหวังไว้ อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ

ทั้งภาคสาธารณะ (ประชาชน, สื่อ และอื่นๆ) และข้าราชการในระดับท้องถิ่นยังคงขาดความรู้ ทักษะ และความ เข้าใจที่เหมาะสม เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม

ยิ่งกว่านั้น กระบวนการวางแผนใน ระดับท้องถิ่นของไทยยังใช้วิธีการวางแผนแบบมีโครงการเป็นตัวนำซึ่งมีลักษณะเป็นแผนระยะสั้นเท่านั้น และยังขาดวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาทางกายภาพที่กว้างกว่า

หน้าที่อันหลากหลายของความเป็น เมืองดังได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อการพัฒนาทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น จะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินอย่างครอบคลุม

แผนยุทธศาสตร์เพื่อการวางผังเมือง (Strategic Urban Planning: SUP) ซึ่งเป็นวิธีการวางแผนที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในชาติอุตสาหกรรมตะวันตกหรือชาติมหาอำนาจในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้ สามารถจะให้วิสัยทัศน์ที่จำเป็นดังกล่าว ได้แต่วิธีการแผนยุทธศาสตร์เช่นนั้นแทบจะนำมาใช้ในบริบทของไทยไม่ได้เลย

นอกจากนี้ไทยยังมีการประสานการวางผังเมืองและแผนการใช้ที่ดินในท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับกรอบการวางผังทางกายภาพในระดับผังภาคและผังประเทศ น้อยมาก ซึ่งหมายความว่า กระบวนการวางผังเมืองในทุกระดับของส่วนราชการไทยยังไม่ค่อยประสานสอดคล้องกันดีนัก

เมืองท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ของไทยดูเหมือนจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง ของไทย สำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยแล้ว การท่องเที่ยวเคยเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของไทย ในอดีต

ภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วน 6% ใน GDP ของไทย และได้ทำให้หลายเมือง ของไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างขนานใหญ่ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและกายภาพ รวมทั้งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างเมือง 2 เมืองของไทยที่มีวิธีการรับมือปัญหาที่เกิดจากการท่องเที่ยว เติบโตอย่างรวดเร็วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ เมืองพัทยา และเทศบาลเมืองแกลง

เมืองพัทยาเป็น 1 ใน 4 เมืองใหญ่ของไทยที่ถูกความเป็นเมืองแทรกแซง เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาได้รับสถานะพิเศษตั้งแต่ปี 1978 ในระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทย ใน ปี 2005 จำนวน 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยว ต่างชาติทั้งหมด 14 ล้านคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยในปีนั้นอยู่ในเมืองพัทยา

ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 เมืองพัทยาเติบโตอย่างรวดเร็ว จนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก จึงไม่น่า แปลกใจที่ 60-80% ของอาคารทั่วเมืองพัทยาจะสร้างขึ้นอย่างผิดกฎหมาย โดยไม่ได้รับอนุญาตการก่อสร้างอย่างเหมาะสม อาคารเหล่านี้กลายเป็นปัญหาและทำลายความพยายามในการวางผังเมือง และการวางแผนการใช้พื้นที่โดยรวมของไทย

ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวด ล้อมบังคับให้เมืองพัทยาต้องหันกลับมาคิดใหม่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเมือง การต่อสู้กับปัญหามลพิษทางน้ำและการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ กลายเป็นนโยบายหลักของเทศบาลเมืองพัทยาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

แม้ว่าพัทยาจะประสบความสำเร็จในการปรับปรุงสภาพของเมืองได้อย่างน่าทึ่ง แต่พัทยาก็ยังคงต้องต่อสู้กับซากเดน ที่เหลือของการเติบโตอย่างไร้การควบคุมที่ดำเนินติดต่อกันมานานหลายทศวรรษ

แต่เทศบาลเมืองแกลงซึ่งไม่ไกลจากพัทยากลับใช้วิธีที่แตกต่างจากพัทยาโดยสิ้นเชิง เทศบาลเมืองแกลงสร้าง วิสัยทัศน์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาเมืองให้มีขนาดเล็ก และไม่เกินความสามารถในการจัดการและทรัพยากรที่ท้องถิ่นมีอยู่

เทศบาลเมืองแกลงเป็นเมืองแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ (Environmental Management Systems: EMS) ยังริเริ่มนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศภายในพื้นที่รับผิดชอบ

ผลก็คือ ในปี 2005 แกลงได้รับรางวัลเมืองยั่งยืนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวด ล้อมในการมอบรางวัลดังกล่าว

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองของแกลงมีจุดสำคัญอยู่ที่การพลิกฟื้นแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อคน ในท้องถิ่น โดยมีผลพลอยได้คือการสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นแหล่งรายได้เสริมแต่ไม่ใช่แหล่งรายได้หลัก

แกลงได้นำวิธีการให้ผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน การพัฒนาและการวางผังเมืองมาใช้ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากเมืองพัทยา การปรึกษาหารือระหว่างข้าราชการกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในพัทยาจำกัดอยู่เพียงธุรกิจรายใหญ่ๆ ในภาคเอกชนไม่กี่รายเท่านั้น

ตัวอย่างการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จของแกลงแสดงให้เห็นว่ายังมีตัวอย่างดีๆ อีกมากมายในไทย และในฐานข้อมูลที่เพิ่งจัดทำใหม่โดยสมาคมสันนิบาต เทศบาลแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีบทเรียนอีกมากมายที่ไทยสามารถจะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ของชาติเอเชียอื่นๆ ในการประชุมที่พัทยาดังกล่าว วิทยากรหลายคนจากเกาหลีใต้แสดงให้เห็นว่า เกาหลีใต้ได้นำวิธีการวางแผนยุทธศาสตร์แบบตะวันตก มาใช้ในทุกระดับของส่วนราชการ

โดยให้ส่วนราชการท้องถิ่นเป็นตัวหลักในการปรับเปลี่ยนและจัดการวางผังเมืองใหม่และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นน่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ส่วนราชการทั้งระดับ ชาติและท้องถิ่นของไทย ยังจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากประสบการณ์ด้านเทคนิคของประเทศอื่นๆ อย่างเช่น เกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิธีพลิกฟื้นเมืองน้อยใหญ่ของไทยให้เป็นเมือง "สีเขียว"

ความสำเร็จของเกาหลีใต้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งเมื่อพิจารณาว่า เมื่อ 55 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้น ประสบภัยสงครามและด้อยพัฒนาอย่างรุนแรง

แต่มาบัดนี้ เกาหลีใต้เกือบจะไล่ตามทันชาติที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกได้แล้ว และเกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศเดียวในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกที่มีวิธีการดีๆ ที่ไทยอาจเรียนรู้ได้ แต่ไทยควรเปิดกว้างที่จะเรียนรู้จากชาติใดๆ ก็ตามทั้งในเอเชียและที่อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ไทยอาจต้องระวังนโยบายบางอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่นการที่รัฐบาลไทยกำลังพยายามจะทำให้ไทยเป็นชาติผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลไทยต้องระมัด ระวังที่จะไม่ทำให้ชาติอื่นๆ เข้าใจผิดว่าไทยไม่ต้องการจะได้รับความร่วมมือด้านการพัฒนาจากประเทศอื่นๆ อีกต่อไปแล้ว

ในระหว่างการประชุมที่พัทยา ตัวแทนจากส่วนท้องถิ่นของไทยหลายคนถ่ายทอดประสบการณ์จากหลายท้องถิ่นในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส่วนท้องถิ่นของไทยมีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และ ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว รัฐบาลไทย ควรจะรับฟังเสียงของคนในท้องถิ่นให้มาก

รวมทั้งควรจะจัดให้มีการหารือถกเถียงกันเช่นนี้ต่อไป เพื่อหาทางนำประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ มาสนับสนุนให้ไทยสามารถสร้างเมืองที่ดีและยั่งยืน การจัดประชุมต่างๆ อย่างเช่นที่จัดขึ้นที่ เมืองพัทยาเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม นับว่า เป็นเวทีที่ดีในการแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ และการถกเถียงที่มีประโยชน์ รวมทั้งเป็นเวทีในด้านการเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us