Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551
Exim Bank กับภารกิจหลักใน GMS             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Import-Export
Banking and Finance
อภิชัย บุญธีรวร




โดยชื่อและบทบาทแล้ว EXIM Bank ของไทย คือผู้เล่นสำคัญรายหนึ่งในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างจาก ADB หรือ JBIC ซึ่งนักลงทุนไทยที่มองเห็นโอกาส ไม่สามารถมองข้ามได้

ถ้ามองในสเกลใหญ่ ที่ผ่านมา สถาบันการเงินที่เข้าไปมีบทบาทสูงในการพัฒนาพื้นที่ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ซึ่งเป็นที่คุ้นชื่อกันดี คงหนีไม่พ้นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) องค์กรความ ร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า (Japan International Cooperation Agency: JICA) หรือธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (The Japan Bank for Cooperation: JBIC) ฯลฯ

หากย่อสเกลลงมา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรงแล้ว หลาย คนอาจยังไม่รู้ว่าการประกาศบทบาทเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM ก็คือการประกาศตัวเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้เล่นหลักอีกรายหนึ่งในพื้นที่แห่งนี้ไม่แตกต่างจากสถาบันการเงินระดับโลกที่ยกตัวอย่างขึ้นมาข้างต้น

EXIM ได้ประกาศบทบาทใหม่ที่จะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศ ในการ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งมีณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ และอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ EXIM เป็นผู้แถลงด้วยตัวเอง

"ด้านการสนับสนุนธุรกิจไทยในต่างประเทศ นอกเหนือจากการให้บริการครบวงจรแก่นักธุรกิจไทย ตั้งแต่สินเชื่อการออกหนังสือค้ำประกัน และบริการประกันความเสี่ยงการลงทุน EXIM BANK จะเพิ่มบทบาทใหม่ในเชิงรุกที่จะผลักดันให้ เกิดธุรกิจของคนไทยในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเจรจากับภาครัฐและ เอกชนของต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสทาง ธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ไปจนถึงการร่วมลงทุนกับนักธุรกิจไทยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินและความสามารถในการแข่งขันของนักธุรกิจไทยในต่างประเทศ" เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในเอกสารแถลงข่าวในวันนั้น

ก่อนหน้าการประกาศบทบาทใหม่ดังกล่าวเมื่อปลายปี 2549 EXIM ได้ปรับวิสัยทัศน์และภารกิจของธนาคารใหม่ โดยเริ่มบรรจุไว้ในรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา

โดยระบุวิสัยทัศน์ไว้ว่า "เป็นสถาบัน การเงินชั้นนำด้านการค้าและการลงทุนในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ"

ขณะที่ภารกิจมี 2 ข้อ คือ

- ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ส่งออก และผู้ลงทุนไทยเพื่อการพัฒนาประเทศ

- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงิน และประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อการพัฒนาการค้าและการลงทุน

ถือเป็นวิสัยทัศน์และภารกิจที่ focus ลงไปชัดเจน

EXIM เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2536 เริ่มเปิดดำเนินการในเดือน กุมภาพันธ์ 2537 โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2537

10 ปีเศษ หลังเปิดดำเนินการมา คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าบทบาทของ EXIM เป็นสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ให้บริการทางการเงินแก่ผู้นำเข้าและส่งออกเท่านั้น การให้บริการทางการเงินเพื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย ยังไม่เด่นชัด นัก

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลก เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว โอกาสของการออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยไม่ได้เปิดกว้าง มีเพียงบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถทำได้ และประเทศที่มีการออกไปลงทุนของนักธุรกิจไทย ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น

ผิดกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ ที่อยู่ใน GMS ด้วยกัน ที่ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ปิดและมีความเสี่ยง

4 ปีที่แล้ว หลังจากหลายประเทศในย่านนี้เริ่มเปิดประเทศมากขึ้น มีการออก นโยบายเปิดกว้างรับเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างเต็มที่ ตลอดจนมีการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายการคมนาคมขึ้นมารองรับ

จากพื้นที่ที่เคยถูกมองว่าเป็นพื้นที่ปิดและมีความเสี่ยง กลายเป็นพื้นที่ที่น่าดึงดูดเงินลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มีนักลงทุนต่างชาติ เดินทางเข้า-ออกกันอย่างขวักไขว่ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส รัสเซีย อเมริกัน นักลงทุนจากประเทศในตะวันออก กลางและที่สำคัญที่สุดคือนักลงทุนจากจีน

ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังถูกมองว่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุด หากประเทศใน GMS พัฒนาขึ้นมา เพราะเท่ากับเป็น การเปิดประตูทางออกสู่ทะเล โดยเฉพาะใน ฝั่งมหาสมุทรอินเดียให้กับสินค้าของจีน

ขณะที่ไทย ซึ่งโดยสภาพภูมิประเทศ ดูจะได้เปรียบมากที่สุด เพราะตั้งอยู่กึ่งกลางเป็นเหมือนไข่แดงในกลุ่ม GMS กลับยังไม่ได้แสดงบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ใดให้เด่นชัดนัก นอกจากกลุ่มอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ที่ออกไปลงทุนสร้างเขื่อน รับเหมาก่อสร้าง อาศัยพื้นที่ในการเพาะปลูก เพื่อหาแหล่งผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงาน ฯลฯ

การประกาศบทบาท วิสัยทัศน์และ ภารกิจของ EXIM ที่มุ่งเน้นเป็นสถาบันการเงินชั้นนำใน GMS เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงถือเป็นความเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนขึ้นในระดับประเทศ

เพราะเหตุที่ EXIM ถือเป็นธนาคาร ของรัฐ "เราต้อง focus เพราะความที่เราเป็นธนาคารเฉพาะ เราคงไม่ลงไปแข่งกับธนาคารพาณิชย์ ในธุรกรรมที่เป็น commercial bank ทั่วไป แต่เราต้องมองหาพื้นที่ใหม่ที่เราได้เปรียบ" อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ EXIM ให้เหตุผลกับ "ผู้จัดการ"

อภิชัยเริ่มเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ก่อนหน้าเข้ารับตำแหน่งนี้ เขาเป็นกรรมการผู้จัดการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.)

เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป สำนักงานผู้แทนธนาคารราโบแบงก์เนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย โดยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวถึง 6 ปี นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ด้านวาณิชธนกิจ ในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์นววิคเตอร์ บัลลาส และผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอสซีเอฟ

อภิชัยจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุนจาก Japan Foundation

หลังเข้ารับตำแหน่งใน EXIM เขาเห็นความจำเป็นที่จะต้องวาง position ของ EXIM ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ทั้งองคา พยพของธนาคาร มองเป้าหมายการทำงาน ที่ตรงกัน และร่วมมือกันผลักดัน EXIM มุ่งสู่จุดหมายดังกล่าว

ธุรกรรมของ EXIM ในระยะนั้นคือการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในเรื่องของการส่งออก และนำเข้าเป็นหลัก รองลงมาคือการรับประกันสินเชื่อให้กับผู้ส่งออกยังไม่มีธุรกรรมที่สนับสนุนในเรื่องการลงทุน ของคนไทยในต่างประเทศมากนัก

แต่สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการสำหรับการส่งออกและนำเข้า กำลังถูกแย่ง เค้กจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่เริ่มเปิดให้บริการแข่งกับ EXIM และความที่ธนาคาร พาณิชย์เหล่านั้น มีฐานเงินทุนที่สูงกว่า อาจทำให้ EXIM เสียเปรียบ

ประกอบกับการนำเข้าและส่งออก มีตัวแปรเรื่องค่าเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น หากเน้นธุรกรรมดังกล่าวมากเกินไป ในขณะที่ค่าเงินมีความผันผวน โอกาสเกิดหนี้ เสียย่อมมีมากกว่า

เขาจึงต้องหาธุรกิจที่เป็นพื้นที่ใหม่ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ที่สำคัญ เป็นพื้นที่ที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยยังไม่เข้าไปร่วมแข่งขันด้วย

พื้นที่ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังเปิดประเทศ จึงเป็นเป้าหมายที่อภิชัย มองไว้

ความจริงก่อนที่อภิชัยเข้ามาเป็น กรรมการผู้จัดการ EXIM เอง ก็เคยเข้าไปมี ธุรกรรมในพื้นที่ GMS อยู่แล้ว แต่ก็เป็น การไปแบบเงียบๆ

"เราทำมาตั้งแต่ต้น แต่ไม่มากนัก มาเน้นหนักในช่วง 2 ปีเศษที่ผ่านมานี้"สมพร จิตเป็นธม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับ EXIM ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเปิดดำเนินการบอก โดยตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการใหม่ๆ ในปี 2537 EXIM ได้เป็นแกนนำสถาบันการเงินของไทยไปร่วมปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งแรกของประเทศเวียดนาม ร่วมกับสถาบันการเงินของญี่ปุ่น โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกู้ในส่วนที่ได้จากสถาบันการเงินไทย จะต้องนำมาใช้ซื้อวัสดุก่อสร้างและเครื่องไม้ เครื่องมือจากประเทศไทยเท่านั้น

รวมถึงการร่วมปล่อยกู้ให้กับเอกชน ไทยที่เข้าไปสร้างเขื่อนในลาวหลายแห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การปล่อยกู้ให้กับกลุ่มสามารถฯ ในการเข้าไปทำธุรกิจวิทยุการบินในประเทศกัมพูชา แต่เงินกู้ก้อนที่เป็นข่าวฮือฮากันมาก ที่สุดคือ การปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลพม่า วงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ซื้ออุปกรณ์ในสถานีรับสัญญาณดาวเทียมของ บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ (ปัจจุบันคือบริษัท ไทยคม) เมื่อปี 2548 ที่ดูเหมือนผู้บริหาร ชุดปัจจุบันไม่อยากกล่าวถึงมากนัก

ในการหาพื้นที่สำหรับการทำธุรกิจใหม่ อภิชัยได้วาดวงกลมไว้ 3 ระดับ

วงในสุดคือในประเทศไทยที่ EXIM มีบทบาทอยู่แล้ว

วงถัดไป คือประเทศรอบบ้าน ซึ่งก็คือประเทศที่อยู่ในกลุ่ม GMS

และวงที่ 3 คือประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพและน่าสนใจ

ภารกิจแรกที่อภิชัยให้ความสำคัญ คือการพัฒนาฐานข้อมูล และสร้างเครือข่าย ธุรกิจสำหรับประเทศใน GMS ซึ่งเป็นวงกลมวงที่ 2

"EXIM มีจุดแข็งอยู่แล้วคือฝ่ายวิจัย ซึ่งเน้นงานด้านวิชาการและฝ่ายต่างประเทศ ทำให้เรามีฐานข้อมูลอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่หลังจากเรา focus ชัดเจนแล้ว ทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องเน้นหนักมากขึ้น"

นอกจากการเน้นหนักแล้ว สิ่งที่อภิชัยให้ความสำคัญที่สุดเพื่อให้ EXIM สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือการปรับยุทธวิธีทำธุรกิจใหม่จากที่เคยตั้งรับ เป็นการทำธุรกิจเชิงรุก

"ที่ผ่านมา เราเหมือนกับรอว่านักธุรกิจเขาจะขยายหรือออกไปลงทุนที่ใดแล้ว เราค่อยตามเขาไปให้บริการ แต่ปัจจุบัน ไม่ใช่เราต้องนำออกไปก่อน ไปสำรวจหาข้อมูลดูก่อนว่าในพื้นที่ใดหรือในอุตสาห-กรรมใดที่มีโอกาสสำหรับคนไทย แล้วเราก็เอาข้อมูลเหล่านั้นมาเสนอกับนักธุรกิจในไทยว่าสนใจหรือไม่ ถ้าสนใจเราก็พร้อมจะให้บริการ"

เขายกตัวอย่างกรณีนี้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ EXIM ได้ออกไปสำรวจพื้นที่ปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีการเลี้ยงปลาในกระชังกันมาก หลังจากเกษตรกรจับปลาขึ้นจากกระชังแล้วแล่ชิ้นเนื้อขาย ส่วนที่เหลือถูกนำไปใช้ทำปลาป่น ซึ่งใช้เทคโนโลยีล้าหลังกว่าไทย เจ้าหน้าที่ชุดนี้ได้นำข้อมูลกลับมานำเสนอโรงงานปลาป่นในประเทศไทย และชักชวนให้ไปลงทุนตั้งโรงงานปลาป่นที่นั่น เพื่อผลิตป้อน ให้กับโรงงานอาหารสัตว์

การปรับยุทธวิธีจากตั้งรับมาเป็น การทำธุรกิจเชิงรุกนั้น EXIM ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เริ่มจากการจัดตั้งฝ่ายวาณิชธนกิจขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 เพื่อให้ขอบข่ายการให้บริการกับนักลงทุนสามารถครอบคลุมได้ครบวงจรมากขึ้น

"เราปล่อยสินเชื่อได้ เราให้บริการทางการเงินอื่นๆ ได้ เรามีฝ่ายวิชาการที่รวบรวมข้อมูลที่หมายถึงโอกาสต่างๆ ซึ่งต่อไปอาจพัฒนาเป็นฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน หากนักลงทุนต้องการออกไปลงทุน จริงๆ ถ้าไม่ต้องการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ต้องซื้อกิจการที่มีอยู่แล้ว ฝ่ายวาณิชธนกิจที่ตั้งขึ้นมาก็พร้อมจะให้บริการเหล่านี้"

รวมถึงหากนักธุรกิจที่สนใจออกไปลงทุนยังไม่มีความมั่นใจในศักยภาพของพื้นที่ EXIM ก็พร้อมที่จะไปร่วมถือหุ้นด้วย ในลักษณะ venture capital

เมื่อต้นปีนี้เขาได้ปรับรูปแบบการทำงานของฝ่ายโครงการระหว่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมรับผิดชอบในเรื่องของการปล่อยสินเชื่อและรับประกันสินเชื่อในต่างประเทศ โดยรวบรวมทีมงานเฉพาะกิจขึ้นมา จัดตั้งเป็นโต๊ะประเทศ เป็นการรวบรวมบุคลากร จากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันรับภาระในการศึกษาหาข้อมูลของแต่ละประเทศที่เป็นเป้าหมายขึ้นมาโดยเฉพาะ

โต๊ะประเทศนี้จะทำงานคู่ขนานไปกับฝ่ายโครงการระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน EXIM มีโต๊ะประเทศที่ฟอร์มทีมขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว 5 โต๊ะ ประกอบด้วย โต๊ะเวียดนาม โต๊ะกัมพูชา โต๊ะลาว ซึ่งเป็นประเทศใน GMS และโต๊ะอินเดียกับโต๊ะอินโดนีเซีย ซึ่งอภิชัยให้เหตุผลว่าเพื่อให้การทำงานระหว่างวงกลม รอบกลาง และวงกลมนอกที่เขาได้วาดวงเอาไว้มีความต่อเนื่อง พร้อมขยายบทบาท ออกไปได้ทันที

"การทำงานเชิงรุกของโต๊ะประเทศนี้ ยกตัวอย่างกรณีโต๊ะเวียดนามที่เขาได้ไปเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีของเวียดนามอย่างเป็นทางการเพื่อแนะนำตัว และเก็บข้อมูลมาแล้วครั้งหนึ่ง จากนั้นแต่ละโต๊ะก็จะมีภารกิจที่จะต้องออกไปพบปะกับผู้วางนโยบาย และเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในแต่ละประเทศ เพื่อให้คนที่อยู่ในโต๊ะเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศที่รับผิดชอบมากที่สุด"

นอกจากการจัดตั้งโต๊ะประเทศขึ้นมาแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ อภิชัยยังได้รับการ อนุมัติจากคณะกรรมการในการแต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมขึ้นมาเป็นที่ปรึกษา ประเทศ ในประเทศที่ได้มีการจัดตั้งโต๊ะประเทศขึ้นมาแล้ว

ที่ปรึกษาประเทศจะทำหน้าที่ควบคู่ ไปกับโต๊ะประเทศ โดยให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ รวมถึงการชี้ช่องทาง โอกาสการลงทุน และติดต่อประสานงานหน่วยงานราชการของแต่ละประเทศให้กับเจ้าหน้าที่ของ EXIM หรือนักลงทุนที่เป็นลูกค้าของ EXIM

"เราต้องการให้ที่ปรึกษาเป็นคนท้องถิ่น แต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ แต่ต้องเป็นคน ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างดี พูด อ่านภาษาท้องถิ่นออก"

ปัจจุบัน EXIM เริ่มมองเห็นตัวแล้วว่าใครจะมาเป็นที่ปรึกษาประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ยังขาดที่ลาวและกัมพูชาที่ยังหาอยู่

วรางคณา วงศ์ข้าหลวง ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการระหว่างประเทศ บอกว่า การมีโต๊ะประเทศกับที่ปรึกษาประเทศ เมื่อได้ทำงานไปพร้อมๆ กับบทบาทเดิมของฝ่ายโครงการระหว่างประเทศแล้วจะทำให้ธุรกรรมด้านต่างประเทศของ EXIM โดดเด่นขึ้น

ปัจจุบันสัดส่วนระหว่างธุรกรรมภายในประเทศกับธุรกรรมในต่างประเทศ ของ EXIM อยู่ที่ระดับ 70 ต่อ 30 แต่จากบทบาทที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ให้มีความชัดเจนดังกล่าว ในอนาคตสัดส่วนนี้จะต้อง ปรับให้มาอยู่ในระดับที่เท่ากันคือ 50 ต่อ 50

อย่างไรก็ตาม ความที่ EXIM เป็นธนาคารของรัฐ ทำให้ EXIM มีทั้งข้อจำกัด และอุปสรรคหลายอย่างเหมือนกับธนาคาร ของรัฐรายอื่นๆ เช่น ธนาคารเพื่อวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ

ข้อจำกัดอย่างแรก คือฐานเงินทุน โดยในการจัดตั้ง EXIM ขึ้นมา รัฐบาลได้ลงเงินเบื้องต้น เป็นทุนจดทะเบียนไว้เพียง 6,500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับส่วนล้ำมูลค่า หุ้นและกำไรสะสมแล้ว เงินกองทุนของ EXIM ณ สิ้นปี 2550 มีอยู่เพียง 7,954.12 ล้านบาท ซึ่งน้อยมากหากเปรียบเทียบกับโครงการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่ GMS

"ถ้าพูดถึงเรื่องการปล่อยกู้ เราจึงทำได้เพียงการมีส่วนร่วมในการปล่อยกู้ เพราะฐานทุนเราน้อย โครงการหนึ่งอาจใช้ เงินเป็นแสนล้านบาท เราคงมีส่วนได้เพียงนิดเดียว เราจึงต้องพยายามหาบทบาทอื่น เช่น การเป็นที่ปรึกษา หรือธุรกิจวาณิชธนกิจ" อภิชัยอธิบาย

ทางออกในเรื่องนี้ อภิชัยเล่าว่า EXIM เป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อระดมเงินไปสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ GMS สำหรับลูกค้าของ EXIM โดยเบื้องต้นได้ตั้งวงเงินไว้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขณะนี้ได้มีการชักชวนสถาบันการเงินหลายแห่งเข้ามาเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน และมีการชักชวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 1 ราย ให้ เข้ามาเป็นผู้จัดการ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุป ภายในปีนี้

ข้อจำกัดอย่างที่ 2 คือการที่ EXIM เป็นธนาคารของรัฐที่ออกตามพระราชบัญญัติที่กำหนดให้ไม่สามารถรับเงินฝากจากประชาชนได้ การระดมเงินของ EXIM จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการออกตราสารไปขายในตลาดเงิน ซึ่งก็ต้องถูกจับตาและจัดเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตต่างๆ ทำให้ EXIM ต้องมีการบริหารงานที่รัดกุม เพื่อให้ผลประกอบการออกมาดี มีกำไรอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็มีอุปสรรค ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างที่ 3 คือ EXIM ต้องนำเงินส่งเข้ารัฐทุกปี โดยเฉลี่ย 50% ของกำไรที่ได้ ทำให้ EXIM ไม่สามารถนำกำไรไปสะสมไว้ในเงินกองทุนเพื่อขยายเงินกองทุนให้สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วตามที่ต้องการ

"ตอนนี้สิ่งที่เราอยากได้มากที่สุด คือให้รัฐใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามาให้เราอีก"

แต่ภายใต้ข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังมีข้อดี คือความที่ EXIM เป็นธนาคารของรัฐและใช้ชื่อว่า EXIM Bank ทำให้การที่จะไปติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในแต่ละประเทศ ไม่ค่อยมีเรื่องเข้ามาติดขัด และยังได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเทคนิคจาก EXIM Bank ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่อยู่ในเครือข่าย EXIM ด้วยกัน

"อย่างกรณี JBIC ซึ่งก็คือ EXIM Bank ของญี่ปุ่น เขาก็เคยเสนอมาให้เราส่ง พนักงานของเราไปฝึกงานกับเขาที่ญี่ปุ่น"

ผู้บริหารของ EXIM หลายคนเชื่อว่า ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใจกลาง GMS ทำให้ EXIM มีข้อมูลและเครือข่ายในกลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่แพ้สถาบันการเงิน ชั้นนำอย่าง JBIC หรือ ADB

การที่เป้าหมายของ EXIM กำหนด เป็นวิสัยทัศน์ไว้ ในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำใน GMS กับบทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่ต้องเป็นหัวหอกออกไปบุกเบิกพื้นที่ธุรกิจที่เพิ่งเปิดใหม่ให้กับนักลงทุนไทย

EXIM น่าจะเป็นสถาบันการเงินที่เป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของนักลงทุนไทย ที่สนใจออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ซึ่ง EXIM พร้อมให้บริการแม้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

"มันเป็นบทบาทของ EXIM โดยนิยามอยู่แล้ว เพราะ EXIM Bank ทั่วโลกเขาต้องทำตามบทบาทนี้ ซึ่งเราเรียกว่าเป็น EXIM Bank Activity คือธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งแตกต่างจาก Comercial Bank Activity ไม่ว่าจะเป็น EXIM ของเกาหลี หรือ JBIC เพียงแต่ EXIM ของแต่ละประเทศเขามีข้อจำกัด และข้อได้เปรียบต่างกัน อย่าง EXIM Bank ของสหรัฐอเมริกา ถือว่าเงินที่เขานำมาปล่อยกู้ ผ่าน EXIM เป็นเงินกู้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ดังนั้น EXIM ของเขา จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการระดมเงินทุน ซึ่งต่างจากของเราที่ต้องรับภาระนี้เองทั้งหมด" สมพร จิตเป็นธม อธิบาย

"ถ้าเราต้องการให้ไทยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ภารกิจนี้ก็เป็นภารกิจที่เราต้องมุ่งทำให้ประสบความสำเร็จ" เป็นคำพูดเสริมของอภิชัย ที่ดูจะมีความหมายยิ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us