Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551
รพ.สงขลานครินทร์ ต้นแบบหยุดภาวะ "สมองไหล"             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

   
search resources

Hospital
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์




"หมอ ก็เหมือนคนทั่วไปที่ต้องการความสุขความสบาย และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทำให้หมอในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ออกไปทำงานเอกชนบ้าง แต่ไม่ใช่หมอทุกคนที่มีความคิดเช่นนั้น" คำพูดของ อ.นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย เป็นหมอที่มีความเชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง เป็น 1 ใน 8 คนที่มีเหลืออยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ พื้นเพของหมอกิตติพงศ์เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาร่ำเรียนที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ กลับมาเป็นอาจารย์ และรักษาคนไข้ไปพร้อมๆ กัน

นพ.กิตติพงศ์บอกว่า เขายังไม่มีความคิดที่จะย้ายไปประจำโรงพยาบาลอื่น แม้ว่าจะได้รับการชักชวนบ้างก็ตาม เขารู้ดีหากรับงานใหม่ การทำงานจะเหนื่อยน้อยกว่านี้อีกหลายเท่า

และที่ นพ.กิตติพงศ์ยังอยู่ที่นี่อาจเป็นเพราะว่ายังมีความสุขกับการทำงานตรงนี้

เช่นเดียวกับ อ.นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา หมอศัลยกรรม เป็นคนหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยกำเนิด เรียน หนังสือ ทำงาน และมีครอบครัวอยู่ที่จังหวัด นี้มาโดยตลอด และเขายังไม่มีความคิดที่จะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น แม้ว่าพี่น้องบางส่วนของเขาย้ายขึ้นมาอยู่กรุงเทพฯ แล้วก็ตาม

นพ.บุญประสิทธิ์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาเป็นคนเรียนระดับปานกลาง แต่ก็สามารถเข้าคณะแพทย์ได้ และหลังจากเรียนจบที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาอีก 2 ปี และขอทุนมหาวิทยาลัยต่างประเทศเรียนเพิ่มเติม หลังจากจบแล้วก็กลับมาประจำ อยู่ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

เหตุผลหนึ่งที่ นพ.บุญประสิทธิ์ยังไม่ย้ายไปที่ไหน เป็นเพราะว่าโรงพยาบาลมีนโยบายการบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัย ให้กับหมออยู่ได้จนอายุ 60 ปี จนเกษียณ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า

นพ.บุญประสิทธิ์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ที่อยู่อาศัยของหมอเรียกว่า แคมปัส ที่พร้อมสมบูรณ์ มีระบบรักษาความปลอดภัย มีสถานที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา มีสิ่งอำนวยความสะดวก แต่น่าเสียดายที่ไม่มี โอกาสได้เห็น เพราะมีเวลาจำกัด

การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้หมอกลายเป็นนโยบายที่ช่วยรักษาให้หมอทำงานที่โรงพยาบาลต่อไป

และการผลิตหมอให้มีคุณภาพพร้อม ผลักดันให้หมอไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อนำความรู้มารักษาคนไข้และสอนนักศึกษาแพทย์เป็นนโยบายของ รพ.สงขลานครินทร์ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นองค์กรที่สร้างหมอเก่งๆ ไว้จำนวนมาก จึงทำให้เกิดการ "ดึงตัว" หมอไปทำงานที่อื่น โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน โดยเสนอเงินเดือนหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับความชำนาญและสาขาการ แพทย์ที่ขาดแคลน

นพ.สุเมธ พีรวุฒิ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อดีต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อ 16 ปีก่อน เกิดสมองไหลจำนวนมากในช่วงเวลานั้น คณะทำงานต้องประชุมกันทุกอาทิตย์และมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

วิธีการต่อสู้ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อยับยั้งให้มีสมองไหลน้อยที่สุด โดยเริ่มจากจัดการระบบเงินเดือนของหมอและพยาบาลใหม่ โดยปรับให้สูงกว่าระบบฐานเงินเดือนของข้าราชการที่ได้รับ พยาบาล ปรับเป็น 10,350 บาท เภสัชกร 11,343 บาท แพทย์ 13,281 บาท แต่ถ้าเป็นระดับอาจารย์ไปจนถึงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ มีฐานเงินเดือนตั้งแต่เริ่มต้น 30,000 กว่าบาทไปจนถึง 80,000 กว่าบาท

ผลจากการปรับฐานเงินเดือนทำให้ ช่วยหยุดสมองไหลได้เกือบทันที แต่ก็ยอม รับว่ายังมีหมอที่ยังออกไปบ้างเพราะความจำเป็นที่ต่างกันไป

นพ.สุเมธยังเชื่อว่า หมอหลายคนยังมีความคิดว่า ต้องการ "ความมั่นคง" มากกว่า "ความมั่งคั่ง"?? "ความรักองค์กร" เป็นอีกกุศโลบายหนึ่งที่โรงพยาบาลสร้างขึ้นมา ให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข สนุกกับการทำงาน มีการยกย่องชมเชย มีธรรมาภิบาล มีสวัสดิการที่ดี มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อรักษาพนักงาน 4,052 คนให้ทำงานต่อไป

"คนที่นี่มีความรักในองค์กร และผูกพันกับองค์กรสูงมาก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คนถึงยอมทุ่มเทเสาร์อาทิตย์ ทำงาน 7 วัน"

การสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ทดแทน รุ่นเก่า เป็นอีกพันธกิจหนึ่งที่โรงพยาบาลอยู่ระหว่างดำเนินการ และเรียกโครงการนี้ ว่า "การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง" ที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เพื่อคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมที่สุด และโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะสร้างผู้บริหารใหม่ขึ้นมา 60 คน

บุคลากรที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหาร จะต้องปฏิบติตามกฎกติกา โดยต้องเข้ารับ การอบรมภายในระยะเวลา 6 เดือนหรือเรียนรู้การเป็นผู้นำสัปดาห์ละ 2-3 วัน

ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะเป็นระดับหัวหน้า รองหัวหน้า ต้องผ่านหลักสูตรอบรมสู่ความเป็นเลิศ

โรงพยาบาลว่าจ้างผู้จัดอบรมที่มี ความรู้ความสามารถระดับสูงของประเทศมาให้ความรู้โดยตรง

การคัดเลือกผู้บริหารนี้จะไม่ยึดหลัก อาวุโส แต่จะดูจากความรู้ความสามารถเป็นหลัก ซึ่งแบบแผนที่ทำนี้จะเป็นต้นแบบ หรือ Role Model เพื่อสร้างผู้นำในอนาคต

อีกด้านหนึ่งของบทบาทที่เป็นภารกิจหลักของโรงพยาบาลแห่งนี้ในฐานะ โรงพยาบาลภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยใน 14 จังหวัดภาคใต้ รวมถึง 3 จังหวัดชายแดน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

การบริหารจัดการเพื่อยกมาตรฐาน องค์กรจึงเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของโรงพยาบาล ที่ต้องการยกระดับให้มีการรักษาคนไข้อยล่างมีคุณภาพ

โดยเฉพาะปริมาณคนไข้ที่มีจำนวน มากในแต่ละวัน เป็นภาพอันชินตาที่เห็นคนไข้รอรับการรักษานั่งรออยู่ค่อนวัน หรือ จำนวนเตียงของคนไข้ที่มีไม่เพียงพอจนล้น ออกมานอกห้อง เป็นภาพในโรงพยาบาล ของรัฐที่มีให้เห็นแทบจะทุกแห่ง

สิ่งสำคัญ คนไข้ที่ฐานะยากจนของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีถึง 70% เป็น คนไข้ที่โรงพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธได้

การสร้างตึก ซื้อยา และสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะต้องใช้งบประมาณในการบริหารงานต่อปีถึง 3,000 ล้านบาท

แต่งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากภาครัฐในแต่ละปี เป็นเงินเดือน และค่าตอบแทน 20% ส่วนอีก 70% เป็นงบที่ได้มาจากการรักษาคนไข้ และจากกองทุน มูลนิธิต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น อาทิ มูลนิธิโรคหัวใจ กองทุนประกันสังคม

"กองทุน" เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่ช่วยหล่อเลี้ยงโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้อยู่มาได้ตราบถึงวันนี้ ทำให้สามารถทำงานคล่องตัวขึ้น

แนวทางการบริหารคนและบริหารการจัดการทำให้โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับรางวัลบริการสู่ความเป็นเลิศ หรือ Thailand Quality Class: TQC จากสถาบันเพิ่ม ผลผลิตแห่งชาติ ในปี 2550 เป็นโรงพยาบาล แห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้

การเป็นตัวอย่างของโรงพยาบาลที่ช่วยเรื่องการจัดการ การบริหาร ทำให้โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ กว่า 80 กลุ่ม หรือประมาณ 2,000 คน มาเยี่ยมชมดูงานที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

รางวัลที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้รับ จุดสูงสุดไม่ได้มุ่งหวังรางวัลเพราะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร แต่เป็นการ นำแนวทางของ The Malcom Baldrige National Quality Award (MBNQA) มาใช้ในการจัดการบริหารแนวคิด บริหารองค์กร

สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ได้ตั้งปณิธานไว้ การรักษาคนไข้คนไทย โดยไม่มุ่งหวังพัฒนาไปเป็นศูนย์การรักษาพยาบาล (medical hub) แต่อย่างใด

ดูเหมือนว่า หมอ เจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลแห่งนี้กำลังเจริญรอยตาม ปรัชญาชี้นำของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย ที่กล่าวไว้ว่า

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"

ซึ่งเป็นข้อความที่ติดอยู่หน้าตึกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เปรียบเสมือนมนต์ขลังที่อยู่ในจิตวิญญาณของหมอและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us