ตลอดปี 2543 คาดว่าการส่งออกสินค้าอาหารโดยรวมจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะสินค้าดังกล่าวของประเทศไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันสูง
และจากการที่ World Eco-nomic Outlook October 1999 ได้คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
3.5% และการค้าในตลาดโลกจะ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.2%
รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาจะขยายตัวเพิ่ม
2.6% ญี่ปุ่น 1.5% สหภาพยุโรป 2 .7% และเอเชีย 5.4% ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารในตลาดดังกล่าว
ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์
ประกอบกับมีตลาดใหม่ ที่น่าสนใจสามารถรองรับ และขยายการส่งออกสินค้าอาหาร
ของไทยอีกจำนวนมาก
"มูลค่าการส่งออกอาหารของไทยปีที่ผ่านมา 2.3 แสนล้านบาท ไม่นับ ข้าว และน้ำตาลแต่ถ้าบวกเข้าไปจะมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 3 แสนกว่าล้าน บาท" กวี รวยรื่น รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าว
อาจจะพูดได้ว่าอาหารบางชนิด ที่ประเทศไทยส่งออกติดอันดับต้นๆ ของ โลก เช่น
สับปะรดกระป๋อง "ทั้งราคา และปริมาณเราเป็นเบอร์หนึ่งของโลก" กวีบอก นอกจากนี้ยังมีไก่
ผลไม้แช่แข็ง กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง เครื่องดื่มต่างๆ ที่ สามารถทำรายได้กลับเข้าไปประเทศได้อย่างมหาศาล
ในช่วงเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอาหารส่งออกถือเป็นตัวอย่างที่ดี
ที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนัก "เราบอกได้ว่าสินค้าอาหารเป็นสินค้า ที่ยืนอยู่ได้แม้จะมีเหตุการณ์อะไรมากระทบ"
อย่างไรก็ตามดูเหมือนจะเป็นความจริงมากนัก โดยเฉพาะในเรื่องของราคานั้น
ได้รับผลกระทบโดยตรง "เพราะต้องขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก และ จากการกีดกันของตลาดคู่ค้า"
กวีกล่าว
ปัญหาเหล่านี้กวีบอกว่าแก้ไขได้ "เรากำลังจะมองอาหารมุสลิม" ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าตลาดอาหารมุสลิม
"แคบ" เกินกว่าจะทำรายได้เข้าประเทศ แต่ความจริงแล้วกลับเป็นตรงกันข้าม
"ตอนนี้คนมองภาพอาหารมุสลิมผิดหมดเลย โดยมองว่าอาหารมุสลิมจะต้องไปขายให้ประเทศอาหรับ
ซึ่งไม่ใช่ จากนี้จะต้องมองภาพใหม่ให้กว้าง เรากำลังผลักดันให้อาหารมุสลิมออกไปตีตลาดโลกโดยใช้ตราฮาราลในผลิตภัณฑ์"
ความเป็นจริงในทวีปยุโรปประชากรเกือบครึ่งเป็นมุสลิม โดยเฉพาะประเทศ ที่แตกตัวออกมาจากสหภาพรัสเซีย
หรือยุโรปตะวันออกเป็นมุสลิม ทั้งสิ้นในสหรัฐอเมริกา 25% ของประชากรทั้งหมดเป็นมุสลิม
"มองว่าอาหารมุสลิมจะสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในไทยได้มาก ถ้ามองตลาดในเอเชีย
โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เกือบครึ่งเป็นมุสลิม"
กวีบอก
นอกจากนี้ตลาดส่งออกอาหารมุสลิม ที่มองข้ามไม่ได้ คือ อินเดีย ปากี สถาน
บังกลาเทศ และจีน ซึ่งประชากรกว่าพันล้านคนเป็นมุสลิม "ถ้าเราได้ ส่วน แบ่งตรงนี้จะสามารถทำรายได้มาก"
ถ้าปรับขบวนการผลิตอาหารแบบมุสลิม เชื่อว่าจะสามารถทำรายได้มากกว่านี้เกือบเท่าตัว
จากประชากรชาวมุสลิม ที่กระจายอยู่ทุกมุมโลก
ปัญหาอยู่ ที่ว่าเราจะสามารถจับตลาดนี้ได้หรือไม่