Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กรกฎาคม 2546
กฟผ.ดูดเงิน1.2แสนล.ปี47 "จัดระเบียบหุ้นไอพีโอ"กันปัญหาแย่งทุน             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ปตท., บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
ภูมิใจ ขำภโต




บล.บัวหลวงประเมินตลาดไอพีโอครึ่งปีหลังต่อเนื่องครึ่งแรกปีหน้าฮ็อตสุดๆ บริษัทเอกชนควงคู่รัฐวิสาหกิจ พาเหรดระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดใหม่ แนะที่ปรึกษาการเงิน "จัดระเบียบกกระจายหุ้น" ให้ดี ป้องกันปัญหากระจุกตัว และแย่งเงินจากประชาชนทั่วไป แม้สภาพคล่องส่วนเกินตลาดเงินไทยปัจจุบันสูงถึง 8 แสนล้านบาทก็ตาม ขณะที่บริษัทเอกชนยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. และอยู่ระหว่างขายหุ้นนับสิบบริษัท รวมถึง กฟผ.ที่เตรียมกระจายหุ้นมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาทปีหน้า มากที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย 29 ปีที่ผ่านมา มากกว่าหุ้น ปตท. (PTT) ที่กำลังทำให้หุ้นไทยเป็นกระทิงขณะนี้ถึง 3 เท่า

นายภูมิใจ ขำภโต ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง ในเครือธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยแนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจ ครึ่งปีหลังต่อเนื่องปีหน้า คาดว่าจะคึกคัก และได้รับความสนใจ ทั้งส่วนขายสามัญเพื่อเสนอขายประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) ของบริษัทเอกชน-รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และตลาดใหม่ และการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนบริษัทจดทะเบียนปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกปี 2547 ที่ กฟผ. จะเป็นพระเอก ด้วยการระดมทุนไอพีโอเป็นล็อตๆ มูลค่ารวมกันกว่า 1.2 แสนล้านบาท "จัดระเบียบระดมทุน"

เนื่องจากปัจจัยลบ โดยเฉพาะปัญหาแพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (ซารส์) คลี่คลาย ขณะที่ปัจจัยบวก ราคาหุ้นในตลาดฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องขณะนี้ คาดว่าหลังปิดงบการเงินไตรมาส 2 จะมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมาก ทั้งบริษัทเอกชนและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษาการเงินจึงต้องจัดสรรระบบที่ดี เพื่อป้องกันปัญหากระจุกตัวการระดมทุน และป้องกันปัญหาแย่งเงินจาก ประชาชนทั่วไป แม้ขณะนี้สภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงินไทยสูงถึงกว่า 8 แสนล้านบาท อย่างน้อย 11 บริษัทจ่อคิว

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยบริษัทเอกชนที่จะจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. นับไฟลิ่งแล้ว ประกอบด้วย บมจ.ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) วันที่นับไฟลิ่ง 1 ต.ค. 2545 บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็น ลีดอันเดอร์ไรต์ บมจ.ไทยมิตซูวา วันที่นับไฟลิ่ง 16 ก.ค. 2546 บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บมจ. ที. เค. เอส. เทคโนโลยี วันที่นับไฟลิ่ง 28 เม.ย 2546 บล.ยูไนเต็ด แอ็ดไวเซอรี่ เซอร์วิส เป็นที่ปรึกษาการเงิน

บมจ.โฟคัส อินฟราสตรัคเจอร์ วันที่นับไฟลิ่ง 25 มี.ค. 2546 บล.พัฒนสินเป็นที่ปรึกษาการเงิน บมจ.สหโคเจน (ชลบุรี) วันที่นับไฟลิ่ง 24 มี.ค. 2546 บล.ฟินันซ่าเป็นที่ปรึกษาการเงิน บมจ.มาร์โบว์ 30003 วันที่นับไฟลิ่ง 18 มี.ค. 2546 บล.เคจีไอเป็นที่ปรึกษาการเงิน บมจ.เอ็มเอฟอีซี วันที่นับไฟลิ่ง 15 ก.ค. 2546 บล.ทิสโก้ เป็นที่ปรึกษาการเงิน บมจ.มาสเตอร์ แอด วันที่นับไฟลิ่ง 9 ก.ค 2546 บล.ไอบีเป็นที่ปรึกษาการเงิน วันนี้ (21 ก.ค.) บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์ เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (AIT) ผู้ให้บริการออกแบบและวางระบบโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเซ็นสัญญาเพื่อแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย นำบริษัทจะจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก.ค.นี้ เพื่อนำเงินที่ระดมทุน ขยายฐานเงินทุนให้มีขนาดใหญ่พอรองรับการร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ระดับ 1,000 ล้านบาทต่อโครงการขึ้นไป ทั้งของภาครัฐ และเอกชน โดยบริษัทจะเสนอขายไอพีโอ 7 ล้าน หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5 บาท ส่วนบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IRCP) เสนอขายไอพีโอ 13 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 6.50 บาท พาร์ 2 บาท ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 23 ก.ค. เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI

วัตถุประสงค์ระดมทุนครั้งนี้ เพื่อนำเงิน ที่ได้ร่วมทุนกับบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนบริษัทฯ อนาคต จากการเห็นศักยภาพการเติบโตธุรกิจไอที ปัจจุบัน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท ชำระแล้ว 84 ล้านบาท

แปรรูป กฟน. รอรัฐชี้ขาด

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.บัวหลวง กล่าวถึงความคืบหน้าการทำธุรกิจที่ปรึกษาการเงินร่วมแปรรูปการไฟฟ้านครหลวง เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ต้องรอความชัดเจนด้านนโยบายควบรวมการไฟฟ้านครหลวง กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ว่าจะออกมารูปแบบใด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากแผนงาน กฟผ.จะต้องแปรรูปเป็นมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณไตรมาส1 ปี 2547

ขณะที่ กฟผ. มีแผนกระจายหุ้นถึง 1.2 แสน ล้านบาท แต่จะแบ่งเป็นล็อตๆ เพื่อไม่ให้กระทบ การระดมทุนบริษัท-รัฐวิสาหกิจอื่นๆ และราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยโดยรวม ขณะที่หุ้น กฟผ. ขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของหุ้น ปตท. (PTT) ที่ขณะนี้ กำลังมีบทบาทอย่างมากทำให้กระทิงตลาดหุ้นไทยดุ และผลักดันดัชนีตลาดหุ้นไทยทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง

นายภูมิใจกล่าวว่า บล. บัวหลวงมีเป้าหมาย จะรุกตลาดวาณิชธนกิจมากขึ้น ด้วยการอาศัยเครือข่าย และฐานลูกค้าธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท เพื่อให้บริษัทฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งตั้งเป้าหมายว่า ช่วงครึ่งหลังปีนี้ บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจประมาณ 50-100 ล้านบาท โดยบริษัทได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาการเงินบริษัทเอกชน เพื่อนำหุ้นเสนอขายประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 บริษัท

รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาออกตราสารหนี้ 2 บริษัท รวมถึงการเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปัจจุบัน มูลค่ารวมประมาณหลายพันล้านบาท หุ้นไอพีโอจะเป็นบริษัทด้านสินค้าเกษตร และบรรจุภัณฑ์ ขณะนี้ อยู่ระหว่างยื่นเสนอข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.

"คาดรายได้ด้านวาณิชธนกิจของบริษัทครึ่งปีหลัง จะประมาณ 50-100 ล้านบาท จากครึ่งปีแรกมีรายได้แล้ว 20-30 ล้านบาท ปัจจุบัน โครงสร้างรายได้ของบริษัท จะมาจากค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) และการบริหารกองทุนส่วนบุคคล 70-80% วาณิชธนกิจ 20-25% บริษัทมีเป้าหมาย จะรักษาสัดส่วนรายได้ในระดับดังกล่าว" นายภูมิใจกล่าว

ด้านแผนนำบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล ซึ่งธนาคารกรุงเทพในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะพิจารณาเวลาและความเหมาะสม

นอกจากนี้ บริษัทต้องมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจติดต่อกัน 2 ปี ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ใหม่ รับบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนประมาณ 200-250 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการทำธุรกิจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us