Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กันยายน 2551
ธาริษาลั่นใช้นโยบายการเงินเข้ม ดูแลเงินเฟ้อ-สร้างเสถียรภาพศก.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




ผู้ว่าฯ ธปท.ประกาศนโยบายการเงิน ดูแลเสถียรภาพด้านราคาเนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นที่ต้องให้ ความสำคัญต่อไป พร้อมยอมรับการเข้มงวดนโยบายการเงินกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2551 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 9 นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ภายใต้หัวข้อการสัมมนา "นโยบายการเงิน ในโลกที่ผันผวน : ความท้าทายและกลยุทธ์ตั้งรับ" วานนี้ (3 ก.ย.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการที่แรงกดดันด้านราคาและความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กัน จากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศอย่างเช่นในขณะนี้ การดำเนินนโยบายการเงินจึงมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากทุกทางเลือกของนโยบายต่างส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจด้วยกันทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักของแต่ละทางเลือกอย่างรอบคอบ และคำนึงผลประโยชน์โดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเป็นสำคัญ

สำหรับนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการดูแล เสถียรภาพทางด้านราคา ขณะเดียวกันก็มิได้ละเลยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขอย้ำว่านโยบายการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรือดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำก็เพื่อช่วยรักษาอำนาจซื้อของประชาชนและความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างสมดุลให้กับภาคการออมที่ถูกกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจ และมีผลให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวอีกด้วย"

นางธาริษาระบุว่า หัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน ในภาวะปัจจุบัน จึงอยู่ที่การหาจุดสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายการเงินที่เริ่มเข้มงวดมากขึ้นนี้เป็นการแสดงความแน่วแน่ของ ธปท.ที่จะดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และลดการคาดการณ์ความรุนแรงของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต

"การดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำลงในอนาคตนี้ จะสร้างบรรยายกาศที่เอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งในที่สุดเป็นการ เพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวและย้ำว่า จุดสมดุลของการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนี้ จึงเป็นไปในทิศทางที่ต้องดูแลเสถียรภาพด้านราคาเนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นที่ต้องให้ ความสำคัญต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ ธปท.ยอมรับว่า นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับกับการชะลอลงดังกล่าวได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสัมมนาวิชาการของ ธปท.ปีนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ ธปท.จะนำเสนอ ผลงานการศึกษาวิจัย 5 เรื่อง เพื่อตอบ คำถามตามโจทย์ที่ตั้งไว้ตามหัวข้อสัมมนาดังกล่าว คือ 1. พรมแดนของนโยบายการเงินในสภาพแวดล้อมทางการเงินยุคใหม่ 2. พลวัตของเงินเฟ้อและนัยต่อการดำเนินนโยบายการเงิน 3. บทบาทของอัตราแลกเปลี่ยนใน การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบ เป้าหมายเงินเฟ้อของไทย 4. ความไม่แน่นอนของระดับศักยภาพการผลิตกับการดำเนินนโยบายการเงิน และ 5. ประสิทธิผลของนโยบายการเงินในโลกที่มีความเชื่อมโยงสูง ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยทั้ง 5 หัวข้อ นอกจากจะตอบโจทย์ตามหัวข้อสัมมนาที่ตั้งไว้แล้ว ยังเป็นการศึกษา ที่ต้องการคำตอบว่า ช่องทางการส่งผ่านนโยบายการเงิน ซึ่งมี 5 ช่องทางหลักที่ได้แก่ ตลาดการเงิน สินเชื่อ ราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน และช่องทางการคาดการณ์ยังใช้ได้ดีหรือไม่ เพราะภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจการเงินผันผวนและมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ทำให้ประสิทธิผลของนโยบายการเงินอาจได้รับผลกระทบหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน โดยเฉพาะสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ในตลาดโลกทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กำลังเป็นความท้าทายของธนาคารกลางทั่วโลกที่จะรักษาเสถียรภาพด้านราคาไปพร้อมๆ กับการดูแลให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก อาจทำให้การส่งผ่านทั้ง 5 ช่องทางไม่เป็นอย่างที่ ธปท. คิด หรือไม่เป็นไปตามทฤษฎี จึงมีความ จำเป็นต้องศึกษาวิจัยว่าช่องทางการ ส่งผ่านนโยบายการเงินทั้ง 5 ช่องทาง ในปัจจุบันนี้ ยังใช้ได้หรือไม่

นอกจากนี้ เวทีสัมมนาครั้งนี้ ยังมีการเสวนาโดยวิทยากรรับเชิญอย่างเช่น นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒินายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นต้น สำหรับงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2551 ของ ธปท.จะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 ก.ย. 51 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us