Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กรกฎาคม 2546
กองทุนฟื้นฟูฯเล็งประมูลลูกหนี้รอบใหม่ ก.ย.นี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
เกริก วณิกกุล
สายัณห์ ปริวัตร
Banking and Finance




กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมขายทอดตลาดสิทธิเรียกร้องลูกหนี้อีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ ตั้งเป้าหมายขายได้ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด ขณะที่การเพิ่มกลุ่มผู้เข้าประมูลสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ยังรออนุมัติจากก.ล.ต. ด้านระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารด้วยการใช้ภาพ คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปีหน้า

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการพื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในเดือนกันยายน 2546 นี้ กองทุนฟื้นฟูฯ จะเปิดประมูลสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้อีกครั้ง ภายหลังจากที่ได้มีการขายสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดรายละเอียดได้ว่าจะมีมูลค่าเท่าใด เพราะต้องมีการหารือกับกรมบังคับคดีอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าในการนำสิทธิเรียกร้องลูกหนี้อาจจะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการมูลค่าการขายสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่มีการนำสิทธิเรียกร้องลูกหนี้รวมของบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) 5 แห่ง

โดยคาดว่าการประมูลขายสิทธิเรียกร้องในครั้งนี้ จะสามารถขายสิทธิเรียกร้องได้ที่ประมาณร้อยละ 14-15 ของมูลค่าหนี้ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับการประมูลขายสิทธิเรียกร้องครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาที่ขายสินทรัพย์ได้ร้อยละ 14 ของมูลค่า ซึ่งราคา ดังกล่าวสามารถขายได้ไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ทำไว้จากก่อนหน้านี้

สำหรับความคืบหน้าในเรื่องการเพิ่มกลุ่มผู้เข้าประมูลสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้น ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังรอความเห็นชอบจากทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ทางบริษัทหลักทรัพย์เข้าประมูลสิทธิเรียกร้องได้ หลังจากที่ได้ส่งหนังสือร้องขอไปทาง ก.ล.ต. พิจารณาก่อนหน้านี้ และกำลังรอความเห็นชอบในเรื่องขอการแก้ไขระเบียบให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) สามารถเข้าประมูลสิทธิเรียกร้องได้เช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าการเพิ่มผู้ประมูลให้มากขึ้นนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน ตลอดจนกองทุนต่างๆ จะทำให้การประมูลสิทธิเรียกร้องสูงขึ้น

ส่วนประเด็นการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูนั้น โดยหลักการต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฟื้นฟูในช่วงนี้ จากกำหนด เดิมที่จะออกในปี 2547 คาดว่าจะส่งผลดีต่อประเทศ เพราะขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ใน ระดับต่ำ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางในการออมเงิน ตลอดจนการเพิ่มสินค้าในตลาดพันธบัตรอีกทางหนึ่งอีกด้วย

ระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพเริ่มปีหน้า

ด้านนายสายัณห์ ปริวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธปท. กล่าวถึง ความคืบหน้าของการพัฒนาระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารด้วยการใช้ภาพ (Image) ที่จะนำไปสู่กระบวนการการลดการเดินทางของเช็ค (Cheque Truncation) ว่า ขณะนี้ยังถือว่าโครงการดังกล่าวยังเป็นไปตามเป้าหมาย ที่คาดว่าจะสามารถเริ่มได้อย่างเร็วที่สุดในช่วง ปี 2547 โดย ธปท. ได้ทยอยเตรียมความพร้อมและพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อรองรับระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องไว้แล้ว

อย่างไรก็ตาม การที่จะมีการนำระบบหักบัญชีเช็คด้วยภาพมาใช้ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทางสถาบันการเงินภาคเอกชนทั้งหมดว่าจะต้องการที่จะนำระบบดังกล่าวมาใช้หรือไม่ เนื่องจาก ธปท. ต้องรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนด้วย รวมทั้งยังต้องรอความพร้อมในเรื่องระบบเทคโนโลยีต่างๆ ของบรรดาสถาบันการเงินทั้งหมดที่จะเข้าร่วมโครงการ เพราะขณะนี้ยังมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของเทคโนโลยี

ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการปรับปรุงระบบการชำระเงินและศูนย์หักบัญชีเช็คใหม่ ซึ่งถือเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการที่จะนำไปสู่การหักบัญชีเช็คด้วยภาพต่อไปในอนาคต เช่น การหักบัญชีเช็คข้ามจังหวัดที่ใช้ระยะเวลาเรียกเก็บเงินได้ภายใน 3 วัน รวมถึงเรื่องของการกำหนดมาตรฐานเช็คที่มีมาตรฐานเดียวกันหมด ซึ่งขอให้สถาบันการเงินพิมพ์เช็ครูปแบบใหม่หากเช็ครูปแบบเดิมหมดลง รวมถึงการจัดสัมมนา และการจัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อรองรับระบบดังกล่าวไปแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us