Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กันยายน 2551
ฝรั่งโขกดอกเบี้ยไทยกู้นอกสังเวยพรก.หมัก             
 


   
search resources

Loan




พ.ร.ก.ฉุกเฉินพ่นพิษทันควัน เจ้าหนี้ต่างชาติขวัญกระเจิง ผอ.สบน.เผยขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้กู้รัฐบาลไทย 0.4% มาอยู่ที่ดอกเบี้ยไลบอร์บวก 1.40% หรือรอบ 1 เดือนดอกเบี้ยปล่อยกู้รัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นแล้ว 0.8-0.9% ห่วงเอกชนกู้แพงและยากตามไปด้วย เผยอาจเหลือเพียง ปตท.และปูนใหญ่ที่ยังกู้ได้ ผวามูดี้ส์-เอสแอนด์พีลดเครดิตซ้ำ

นายพงศ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่าหลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ตลาดเงินต่างประเทศได้แสดงความไม่เชื่อมั่นต่อความน่าเชื่อถือในการกู้เงินของประเทศไทยอย่างชัดเจน ส่งผลให้ต้นทุนการกู้เงินในตลาดต่างประเทศของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นทันที 0.4% โดยต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลไทยวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน (Libor) บวก 1.4% จากในช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาที่อยู่ที่ดอกเบี้ยไลบอร์บวก 1%

“ต้นทุนเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทยเป็นปัจจัยหลัก เพราะในช่วงก่อนหน้าที่ประเทศจะมีวิกฤตการเมือง ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ไลบอร์ บวก 0.5-0.6% แต่เมื่อมีความวุ่นวายทางการเมืองต้นทุนการกู้เงินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ค่อยๆ เพิ่ม กระทั่งมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้นทุนเพิ่มทันที 0.4%” นายพงศ์ภานุกล่าว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ เมื่อต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การกู้เงินต่างประเทศของภาคเอกชนจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากโดยขณะนี้คาดว่าเอกชนไทยน่าจะหาเงินกู้จากตลาดต่างประเทศไม่ได้เลย ยกเว้นเอกชนชั้นดีอย่าง ปตท.หรือปูนซิเมนต์ไทย

ที่ยังกู้เงินต่างประเทศได้ แต่ก็ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูง ส่วนสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งมูดี้ส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส และเอส แอนด์ พีเตรียมปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย

นายพงศ์ภาณุยอมรับว่า สบน.ยังเป็นห่วงอนาคต หากไทยต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นคงไม่สามารถจำกัดการกู้เงินในแหล่งเงินภาครัฐได้

แต่ต้องกู้เอกชนต่างประเทศด้วยหากปัจจัยการเมืองไม่ดีเครดิตของไทยก็จะไม่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในตลาดเงินที่สูงขึ้น ณ ขณะนี้ ไม่กระทบการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้งหมดที่จะกู้เงินในงบประมาณปี 2552 จำนวน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะ สบน.ได้มีการเจรจากู้เงินกับแหล่งเงินภาครัฐ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศไว้แล้วก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก (worldbank) และเชื่อว่าแม้จะมีสถานการณ์ทางการเมืองที่แรงขึ้น แต่แหล่งเงินภาครัฐเหล่านี้จะไม่มีปัญหาจนยกเลิกเงินกู้หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยกเว้นว่าประเทศจะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน เพราะแหล่งเงินเหล่านี้ไม่ให้กู้เงินกับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

โดยขณะนี้เงินกู้เจบิกล่าสุดที่ไทยกู้อยู่ที่1.4% คงที่ตลอดสัญญาและเงินกู้ธนาคารโลกอยู่ที่ไลบอร์-0.06% ส่วนเงินกู้ใหม่รวมในปี
งบประมาณ 2552 ที่ สบน.วางไว้นั้น จะมีการกู้เงินใหม่เพื่อลงทุนในเมกะโปรเจกต์และเงินขาดดุลงบประมาณรวมกันทั้งสิ้น 460,000
ล้านบาท ในส่วนนี้ สบน.ยืนยันว่าจะสามารถดำเนินกู้ได้เช่นเดิม เพราะได้เจรจากับแหล่งเงินกู้ทางการไว้แล้ว การกู้ครั้งนี้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 ล้านล้านบาท หรือ 38% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 จาก3.4 ล้านล้านบาท หรือ 36% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2551   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us