|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เงินเฟ้อ ส.ค. 6.4% ลดจากเดือนก่อนที่ทำสถิติสูงสุดถึง 9.2% อ้างอานิสงส์ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ที่ช่วยลดค่าน้ำมัน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ “พาณิชย์”ได้ทีคุยคุมเงินเฟ้ออยู่หมัด ยันยังไม่ปรับเป้าเงินเฟ้อทั้งปีจาก 5-5.5% แม้ 8 เดือนทะลุ 6.7% ไปแล้ว ด้านแบงก์ชาติยอมรับเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงกว่าที่คาด กนง.ห่วงเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันผันผวน แนะจับตาใกล้ชิด
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนส.ค.2551 เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ลดลง 3% เทียบกับเดือนส.ค.2550 สูงขึ้น 6.4% เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2551 ที่เคยสูงขึ้นสูงสุด 9.2% ถือเป็นการปรับลดลงอย่างมาก และเมื่อเทียบเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) สูงขึ้น 6.7%
ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.7% เนื่องจากดัชนีหมวดผักและผลไม้สูงขึ้น 5.6% ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชี กระหล่ำปลี มะนาว พริกสด ส้มเขียวหวาน มะม่วง และทุเรียน ขณะที่อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น 1.2% ทั้งอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ปลาและสัตว์น้ำสูงขึ้น 1.1% สำหรับอาหารประเภทข้าวมีแนวโน้มราคาลดลง
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงในอัตราค่อนข้างสูง 6.2% เนื่องจากน้ำมันในตลาดโลกลดลง และมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศลดลง 15% โดยน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง น้ำมันดีเซล 7 ครั้ง ขณะที่ผลจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ทำให้ค่าน้ำประปาลดลง 59.2% ค่ากระแสไฟฟ้าลดลง 37.8% ค่าโดยสารรถประจำทางลดลง 5.3% และค่าโดยสารรถไฟลดลง 23.7%
“เงินเฟ้อในเดือนส.ค. ที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากถึง 3% เป็นผลมาจากมาตรการดูแลสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้ตรึงราคาสินค้าบางรายการ และลดลงบางรายการ และที่สำคัญได้อานิสงค์จาก 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล”นายศิริพลกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อเดือนส.ค.ที่สูงขึ้น 6.4% ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 29% เมื่อเทียบกับราคาของปีก่อนที่ยังไม่ปรับสูง ทำให้ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.4% และดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 14.3% จากการสูงขึ้นของหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 30.2% ผักและผลไม้ 19% เนื้อสัตว์ 17.8% และเครื่องประกอบอาหาร 16.2%
ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงานออก เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ลดลง 0.9% เทียบกับเดือนส.ค.2550 สูงขึ้น 2.7% เฉลี่ย 8 เดือนแรก สูงขึ้น 2.4% โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของค่าโดยสารสาธารณะและค่าน้ำประปา
นายศิริพลกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ปรับเป้าประมาณการเงินเฟ้อทั้งปีที่ 5-5.5% แม้ว่าขณะนี้เงินเฟ้อ 8 เดือนแรกจะเพิ่มขึ้น 6.7% ไปแล้วก็ตาม โดยจะมีการประเมินตัวเลขอีกครั้งหลังจากจบไตรมาสที่ 3 แต่หากประเมินตามสมมติฐานที่มีอยู่ปัจจุบันนี้ ที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันเฉลี่ย 113 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ 6.5-6.9%
ทั้งนี้ เป้าเงินเฟ้อ 5-5.5% นั้น ใช้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยน 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันเฉลี่ย 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นายศิริพลกล่าวว่า ในปี 2552 จะมีการปรับปรุงการทำเงินเฟ้อให้มีความทันสมัยและสะท้อนการบริโภค และวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนให้มากขึ้น โดยจะมีการปรับปรุงรายการสินค้าที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อ เช่น มะพร้าวขูด เป็นกะทิสำเร็จรูป เทปเพลง เป็นซีดีเพลง ฟิลม์ถ่ายรูป เป็นเมมโมรี่ การ์ด ค่าตัดผม เป็นค่ายืดผม และเพิ่มรายการสินค้า เช่น ค่าบริการมือถือ (ค่าโหลดเพลง และค่าส่ง SMS) ค่าโดยสารสาธารณะ (ค่ารถไฟฟ้า BTS และค่ารถไฟใต้ดิน) ถุงยางอนามัย หมวกกันน๊อค
นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มพื้นที่สำรวจเงินเฟ้อ เช่น ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มบางบอนและบางบัวทอง ภูมิภาค เพิ่มนครพนม น่าน ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง ขณะเดียวกัน จะเพิ่มสัดส่วนการจัดเก็บตัวอย่างสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนี้ ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าปลีกสมัยใหม่เพิ่มขึ้น
ธปท.รับเงินเฟ้อลดกว่าที่คาด
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาโดยเงินพื้นฐานที่ปรับลดลงระดับอยู่ 3.7% และเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 9.2% ว่า ยอมรับว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนก.ค.ลดลงกว่าที่ธปท.คาดไว้มาก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ธปท.คาดไว้ โดยเชื่อว่าส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจาก 6 มาตรการ 6 เดือนของภาครัฐ ที่ช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน และนโยบายการเงินของธปท.ที่ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
“หากดูจากแบบทดสอบที่เราได้สร้างไว้หลายสถานการณ์ มอว่าเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเยอะกว่าที่คาดไว้ เมื่อเทียบจากเดือนก่อนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 3.7% และเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.7% ลดลดลง 1% ถือว่าเยอะพอสมควร ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปก็ใกล้เคียงกับทีธปท.คาดไว้”นางอมรากล่าว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีความกังวล ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีความผันผวนอยู่มาก จึงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้นางอมรา ยังกล่าวถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่มีความวุ่นวายในขณะนี้ว่า ยอมรับว่า เหตุการณ์ประทวงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิไตย จนมีการปิดสนามบินในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวให้ลดลงแน่นอน แต่สถานการณ์การเมืองจะเป็นตัวซ้ำเติมเศรษฐกิจอีกหรือไม่นั้น มองว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบ
คงจะต้องรอดูสถานการณ์ก่อนสักระยะ เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นความรุนแรงว่าอยู่ในระดับใด แต่ที่ผ่านมาธปท.ก็ได้นำปัจจัยการเมืองเข้าประเมินในการประชุมทุกครั้งอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามหากดูจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมถือว่าเศรษฐกิจยังไปได้ดี เช่น การมูลค่าการส่งออก และนำเข้า ออกมาดีอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่การลงทุนในกองทุนต่างๆ ก็อยู่ในเกณฑ์ดีเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจูงใจ ส่วนการลงทุนไม่ได้หายไป โดยยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีโอกาสที่จะเกิดเงินเฟ้อรอบ 2 อีกหรือไม่ นางอมรากล่าวว่า คงจะต้องติดตามดูต่อไป แต่เงินเฟ้อที่ลดลงในขณะนี้ อย่างน้อยก็ช่วยให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ขณะที่ความคาดการณ์เงินเฟ้อลดลง โอกาสการขอขึ้นค่าแรงของแรงงานก็ลดลงได้
|
|
 |
|
|