|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุภาพรวมเศรษฐกิจ 7 เดือนยังขยายตัวได้ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูง แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาคการลงทุนเอกชนที่ยังซบเซาเนื่องจากขาดความเชื่อมั่น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของธปท.ล่าสุดเดือนก.ค.ภาคการลงทุนยังชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนแรกของปีว่า จากตัวเลขเศรษฐกิจของไทยล่าสุดเดือนกรกฎาคมที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)นั้น พบว่าการบริโภคภาคเอกชนมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.3 ในเดือนก.ค. เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.1 ในเดือนมิ.ย. นำโดย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ยอดขายรถจักรยานยนต์ยังคงได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกร ส่วนการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคและปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้จะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงก็ตาม สำหรับปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ยังคงหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน แม้ว่าราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจะปรับลดลงมากในเดือนก.ค. ก็ตาม ในทางกลับกัน ปริมาณจำหน่ายพลังงานทดแทน อาทิ ก๊าซ LPG และ NGV ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 27.8 และร้อยละ 270.5 ในเดือนก.ค. หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 18.7 และร้อยละ 234.8 ในเดือนก่อนหน้าตามลำดับ
ด้านการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยการลงทุนขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ในเดือนก.ค. เทียบกับร้อยละ 4.2 ในเดือนมิ.ย. โดยยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ 29.3 ในเดือนก.ค. ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 20.9 ในเดือนมิ.ย. เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากราคาดีเซลที่เป็นเชื้อเพลิงหลักยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่ ยอดขายปูนซีเมนต์ยังคงหดตัวลง หดตัวร้อยละ 15.0 ในเดือนก.ค. ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 16.7 ในเดือนมิ.ย.ตามภาวะหมวดก่อสร้างที่ยังคงซบเซา อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุน ยังคงขยายตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่องในเดือนก.ค.โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ในเดือนก.ค. จากร้อยละ 21.0 ในเดือนมิ.ย.
สำหรับการส่งออกมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.9 ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.5 ในเดือนมิ.ย. โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวทางด้านปริมาณสินค้าส่งออกเป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.2 ในเดือนก.ค. เร่งขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.4 ในเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ การส่งออกในหมวดสินค้าเกษตร ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง
ขณะที่การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 53.4 ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 31.5 ในเดือนมิ.ย. โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าเป็นสำคัญ โดยปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28.8 ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 ในเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในเดือนก.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยในหมวดเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 97.3 ในเดือนก.ค. เร่งขึ้นจากร้อยละ 67.8 ในเดือนมิ.ย. ส่วนการนำเข้าในหมวดสินค้าทุน และวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 40.0 และร้อยละ 56.7 ในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.5 และร้อยละ 28.7 ในเดือนมิ.ย. ตามลำดับ
ทั้งนี้ ภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ได้สะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาพรวม โดยมีแกนหลักอยู่ที่การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2550 และการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 26.1 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 17.2 ในปี 2550 สำหรับการลงทุน แม้ว่าจะสามารถขยายตัวร้อยละ 5.1 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 แต่ก็เป็นไปในอัตราที่ชะลอลง โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนล่าสุด (เม.ย.-ก.ค.)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา แต่หากประเมินภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2551 จะพบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง โดยอาจมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 4.8 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ ประเด็นทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนในระยะถัดไป ขณะที่ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ก็อาจเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับภาคส่งออกของไทย
|
|
 |
|
|