Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 กันยายน 2551
“ไฮซีซัน”ไทยคึกคัก แอร์ไลน์ไทย-เทศ งัดข้อสุดฤทธิ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์
โฮมเพจ แอร์เอเชีย

   
search resources

ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
พาที สารสิน
Aviation




ตั้งแต่ต้นปี2551 เป็นต้นมาตัวเลขการปรับลดเที่ยวบินลงของสายการบินในประเทศเพิ่มขึ้นทุกเดือนโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์แอร์ไลน์)กำลังบ่งบอกถึงทิศทางธุรกิจในอนาคตอาจจะเดินต่อไปค่อนข้างจะลำบาก แม้ว่าจะมีการปรับราคาตั๋วโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม เชื่อกันว่าขนาดของธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ ไม่น่าจะมีการขยายตัว หรือเกิดสายการบินโลว์คอสต์ใหม่ขึ้นมาอย่างแน่นอน

ขณะเดียวกันปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบจนทำให้สายการบินต้นทุนต่ำต้องลดเที่ยวบินลงอย่างน่าใจหายครั้งนี้กลายเป็นช่องว่างทางการตลาดที่ถูกคู่แข่งขันระหว่างประเทศภายในตลาดอาเซียนด้วยกันหยิบนำใช้เป็นจุดขายของตัวเองโดยการเพิ่มเที่ยวบินเข้ามาหวังเป็นทางเลือกใหม่ให้คนเดินทางซึ่งสังเกตจะเห็นได้ว่าสายการบินในแถบเพื่อนบ้านเรามีการขอเพิ่มเที่ยวบินอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้การปรับตัวของสายการบินระหว่างประเทศที่เหลืออยู่อย่าง ไทยแอร์เอเชีย จึงต้องเหนื่อยเป็นพิเศษ เพราะการเข้ามาของคู่แข่งขันต่างประเทศมีการใช้กลยุทธ์เรื่องของราคาเป็นตัวกำหนดแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสายการบินเจ็ตสตาร์ หรือ มาเลเซียแอร์ไลน์

การใช้จุดยืนทางการตลาดที่คล้ายกันด้วยการสร้างสงครามราคาอาจจะส่งผลในระยะสั้นๆแต่สายการบนิไทยแอร์เอเชียก็ยังคงยึดจุดขายเดิมเป็นกลยุทธ์แต่มีการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีของการแข่งขัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาสายการบินไทยแอร์เอเชียมีการปรับใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นเครื่องมือการตลาด โดยดำเนินการแก้ปัญหาต้นทุนน้ำมันต่างจากคู่แข่งรายอื่นด้วยการไม่บวกค่าธรรมเนียมน้ำมันที่เพิ่มขึ้นลงในค่าตั๋ว แต่ใช้วิธีจัดเก็บผ่านค่าธรรมเนียมการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง ภายใต้แนวคิด “กระเป๋ายิ่งน้อย ยิ่งประหยัด” ซึ่งคิดค่าบริการการโหลดกระเป๋าด้วยการจองทางอินเตอร์เน็ตในราคา 30 บาท และในราคา 50 บาท สำหรับการจองที่เคาน์เตอร์สนามบิน

ถึงแม้จะมีการปรับลดเส้นทางและลดเที่ยวบินภายในประเทศบ้างก็ตามแต่ ทัศพล แบแลเว็ลด์ ซีอีโอไทยแอร์เอเชียกลับบอกเป็นเพียงมาตรการที่สายการบินนำมาใช้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเท่านั้น หากมองถึงคู่แข่งขันอย่างนกแอร์ที่นับวันจะมีเส้นทางบินที่เหลือน้อยลงและไม่มีการเปิดให้การบินระหว่างประเทศด้วยแล้วทำให้ไทยแอร์เอเชียค่อนข้างจะได้เปรียบสายการบินอื่น เพราะมีเครือข่ายกว่า 10 เส้นทางบินในประเทศ และในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า มีการเตรียมเปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง และกรุงเทพฯ-กว่างโจว ทำให้เส้นทางการบินระหว่างประเทศเพิ่มเป็น 12 เส้นทาง

เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงนี้การอัดโปรโมชั่นด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้คนเดินทางของสายการบินต้นทุนต่ำแทบจะไม่มีให้เห็นตามสื่อโฆษณาเท่าไรนักทั้งนี้อาจเป็นเพราะคู่แข่งขันในตลาดเดียวกันเริ่มเหลือตัวเลือกไม่มากนักนั่นเอง ขณะเดียวกันสายการบินบูทิคแอร์ไลน์อย่าง บางกอกแอร์เวย์ กลับโหมทำโปรโมชั่นด้วยราคาตั๋วเดินทางในเส้นทางภายในประเทศแค่ 1,000 บาทเท่านั้น

“การออกมาทำโปรโมชั่นสวนกระแสของสายการบินบางกอกแอร์ครั้งนี้ น่าจะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆนอกฤดูกาลท่องเที่ยวเท่านั้น เพียงเพื่อหวังกระตุ้นให้คนเดินทาง อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะมาถึงในอีกไม่กีเดือนข้างหน้าคาดว่าราคาตั๋วก็จะถีบตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน”แหล่งข่าวในธุรกิจสายการบินกล่าว

อย่างไรก็ตามช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวไทยที่กำลังจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมศกนี้ น่าจะเป็นช่วงที่สายการบินระหว่างประเทศกำลังมองหาตลาดใหม่ๆที่จะเข้าไปขยายฐานโดยเฉพาะประเทศไทยที่มีศักยภาพทั้งในด้านของแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พัก ส่งผลให้มีสายการบินระหว่างประเทศเริ่มขอเพิ่มเที่ยวบินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีสายการบินระหว่างประเทศที่เข้ามาทำตลาดในบ้านเราแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็มีการถอนตัวออกไปบ้างโดยยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศอาทิ สายการบินแอร์บากันของพม่าที่ของดเที่ยวบินมากที่สุดประมาณกว่า 10 เที่ยวบิน

นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของสายการบินในเรื่องของคุณภาพความปลอดภัยกลายเป็นปัจจัยต้นๆที่ผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการ ขณะที่ราคากลายเป็นเรื่องรองลงไปส่งผลให้สายการบินต้นทุนต่ำจำเป็นต้องมีการพัฒนาในบางจุดเพื่อต่อสู้แข่งขันกับสายการบินในระดับเดียวกันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไทยแอร์เอเชียพยายามที่ใช้ยุทธศาสตร์ประกาศตัวเองว่าเป็นสายการบินที่มีเครื่องบินใหม่ที่สุดโดยใช้เครื่อง แอร์บัสA 320 เป็นจุดขายและนับว่าได้ผลไม่น้อย ดูได้จากตัวเลขยอดจองตั๋วเครื่องบินครึ่งปีแรก 2551 ที่มีไม่ต่ำกว่า 2.1ล้านคนและคาดว่าจะตลอดทั้งปีจะมีไม่ต่ำกว่า 4.6 ล้านคนที่เข้าใช้บริการ

ไม่เว้นแม้แต่สายการบินยักษ์ใหญ่ช่วงตารางบินฤดูหนาวตั้งแต่ปลายกันยายน 2551 เป็นต้นไป สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เอมิเรตส์ แควนตัส เตรียมใช้แอร์บัส A 380 เป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ตลาดและเครือข่ายบริการแข่งขันกันรุนแรง 3 ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป อเมริกา ต่างจากการบินไทยยังต้องรอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปลี่ยนมติแผนลงทุนเกือบ 1 แสนล้านบาท จัดหาฝูงบินเฉพาะกิจ 22 ลำ คือ แอร์บัส A 330-300 จำนวน 8 ลำ และโบอิ้ง 787 อีก 14 ลำ และรอเป็นแอร์ไลน์เกือบสุดท้ายที่จะนำเข้า A 380 อาจเลื่อนจากเดิมรับปี 2552/53 เป็น 2556/57 ก็เป็นได้ อาจทำตลาดตามคู่แข่งไม่ทัน

ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าการบินไทยเตรียมแก้เกมกาตลาดด้วยการออกหุ้นกู้ให้กับผู้ที่สนใจซึ่งเชื่อว่าการปล่อยข่าวออกมาแบบนี้อาจจะไม่สร้างผลดีเท่าไรนักให้กับการบินไทยเพราะนั่นหมายถึงวิกฤติของการบินไทยที่พยายามจะหาทางสร้างรายได้เข้าสู่บริษัทในทุกรูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมต่อสู้ในตลาดธุรกิจการบิน

ในขณะที่สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส จัดตารางบินฤดูหนาวชัดเจนแล้วพร้อมจะใช้ A 380 ลำที่ 2 ไปบินประจำสิงคโปร์-ลอนดอน พร้อมเพิ่มความถี่จาก 1 เป็น 2 เที่ยว/วัน และตั้งแต่ตุลาคม 2551 สายการบินชั้นนำของโลกพร้อมใช้ฝูงบิน A 380ชิงตลาดทุกน่านฟ้า

การใช้บริการฝูงบินใหม่ของแต่ละสายการบินทั้งสายการบินต้นทุนต่ำและสายการบินชั้นนำระดับอินเตอร์ออกมาผงาดน่านฟ้า...น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัยได้ดีที่สุด เพราะจากผลวิจัยพบว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ กลับมองธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ ว่าปัญหาของธุรกิจสายการบินในขณะนี้อยู่ที่ราคาน้ำมันที่ยังมีราคาแพง แม้ว่าจะมีการปรับตัวลงแต่ยังถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่นิ่ง ทั้งนี้ จะต้องรอสถานการณ์ต่อไปซึ่งมีผลกระทบถึงรายรับ-รายจ่าย ปัญหาน้ำมันดังกล่าวมีผลกระทบต่อสายการบินถึง 50%

ส่วนแนวโน้มในอนาคตอาจจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างอาจจะมีการปรับราคาตั๋วโดยสารเป็นลักษณะครึ่งต่อครึ่งกับสายการบินปกติ และการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านอื่น เพื่อจูงใจลูกค้าที่จะใช้บริการสายการบินให้มากขึ้นเพื่อลดการขาดทุน และต้องเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันดึงดูดปริมาณผู้โดยสารให้มีจำนวนมากขึ้นจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนกแอร์มีการอัดแคมเปญใหม่ภายใต้ชื่อ “นกเปลี่ยนได้”โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดภายในระยะเวลาที่กำหนด

แต่ทุกอย่างอาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะจุดยืนเดิมของนกแอร์ได้ถูกเปลี่ยนไปหลังจากที่มีนโยบายผู้ถือหุ้นใหญ่ให้มีการปรับเส้นทางการบินระหว่างการบินไทยและนกแอร์ เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันกันเอง รวมถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน นอกจากนี้หลังจากเกิดวิกฤติราคาน้ำมันที่ผันผวนและปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นกแอร์ต้องยกเลิกเที่ยวบินชั่วคราวใน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-กระบี่, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ-เชียงราย อย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องรอดูสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกระยะหนึ่งก่อน ส่วนเส้นทางบินในต่างประเทศนั้นได้มีการยกเลิกบินทั้งหมด เช่น กรุงเทพฯ ฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ให้บริการ 2 เที่ยวต่อวันด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 และเส้นทางกรุงเทพฯ บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 วันละ 1 เที่ยวบิน ด้วยเครื่องบิน 737-400

แม้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของสายการบินนกแอร์ จะไม่มีการควบรวมกิจการกับสายการบินไทย แต่จะมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ และการบริหารงานภายในองค์กรก็ส่งผลให้สายการบินนกแอร์กำลังเป็นสายการบินที่ถูกจับตามองรองจากสายการบิน วัน ทู โก ที่ถูกระงับให้หยุดบินไปแล้ว

ขณะที่ฤดูกาลท่องเที่ยวของไทยกำลังจะเริ่มขึ้น แต่เพราะด้วยเงื่อนไขต่างๆที่นกแอร์ถูกจำกัดไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินที่ลดจำนวนลงกว่าครึ่ง รวมถึงเส้นทางบินที่ถูกระงับไม่ให้ทับซ้อนกับบริษัทการบินไทยด้วยแล้วเชื่อได้ว่าวิกฤติของนกแอร์ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก การกลับมาโลดแล่นบนน่านฟ้าไทยจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและยากยิ่งนัก


สถิติสายการบินปรับเที่ยวบินจากทั้งหมด 4,586 เที่ยวบิน

เที่ยวบินภายในประเทศ
เดือน ยกเลิกเที่ยวบิน
มีนาคม 141 เที่ยวบิน
เมษายน 126 เที่ยวบิน
พฤษภาคม 222 เที่ยวบิน
มิถุนายน 413 เที่ยวบิน
กรกฎาคม 462 เที่ยวบิน

เที่ยวบินระหว่างประเทศ
สายการบิน ยกเลิกเที่ยวบิน
แอร์บากันของพม่า 10 เที่ยวบิน
มหันต์แอร์ ของอิหร่าน 1 เที่ยวบิน
ดุกแอร์ ของภูฏาน 2 เที่ยวบิน
บังกลาเทศแอร์ไลน์ 1 เที่ยวบิน

สายการบินที่ขอเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ
สายการบิน จำนวนที่ขอเพิ่มเที่ยวบิน
กัลฟ์แอร์ เพิ่ม 3 เที่ยวบิน
ฮ่องกงแอร์ไลน์ เพิ่ม 2 เที่ยวบิน
เจ็ตสตาร์แอร์ไลน์ เพิ่ม 3 เที่ยวบิน
สิงคโปร์แอร์ไลน์ เพิ่ม 7 เที่ยวบิน
ศรีลังกาแอร์ไลน์ เพิ่ม 3 เที่ยวบิน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us