Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"คลอสเตอร์:ในเยอรมนีไม่มีใครรู้จัก เมืองไทยดังเป็นบ้า"             
โดย ไชยยันต์ ปรัตถพงศ์
 


   
search resources

ไทยอมฤตบริวเวอรี่
ศิลป์ชัย ชัยสิทธิเวชช
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
Alcohol




ในเยอรมนีมีเบียร์อยู่ 5,000 ยี่ห้อ เยอรมนีจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งเบียร์ ทุก ๆ เมืองมีการผลิตเบียร์ไว้เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของตน ตำบลหนึ่งเมืองหนึ่งก็มีคนทำเบียร์อยู่หลายตระกูลหลากหลายยี่ห้อ แต่เบียร์ที่ได้รับความนิยมจริง ๆ ในเยอรมนีมีอยู่ไม่เกิน 3,000 ยี่ห้อ

เยอรมันมีเบียร์ดี ๆ ที่ได้รับความนิยมอยู่หลายตัว อย่างเบียร์ที่ดัง ๆ ในทางเหนือ ก็มีเบียร์ "แบ็ค" เรื่อยลงมาถึงภาพกลางตอนเหนือก็มี "โฮเซนน์" แล้วลงมาทางใต้ก็มีเบียร์ "โคแนนเบิร์ก" และอีกมากมาย ซึ่งเบียร์บางตัวของเยอรมนีมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

ฉะนั้นการจะนับยี่ห้อเบียร์ในเยอรมนีแล้วแบ่งตามสัดส่วนตลาดทำได้ยากยิ่ง เพราะเบียร์แต่ละยี่ห้อมีส่วนแบ่งอยู่ในตลาดน้อยมาก อย่างยี่ห้อที่ดัง ๆ มีส่วนแบ่งตลาดไม่เกิน 1% ในตลาดเบียร์เยอรมันเลย ส่วนใหญ่เขาจะจัดแบ่งกันตามลบริวเวอรี่ (โรงเบียร์)

จึงทำให้ในเยอรมนีมีโรงเบียร์อยู่เกือบ 1,000 โรง แต่ละโรงเบียร์ที่ผลิตอยู่หลายยี่ห้อตามแต่ของขนาดของบริวเวอรี่นั้น ๆ ซึ่งแต่ละบริวเวอรี่จะมีส่วนแบ่งตลาดอย่างมากที่สุด 3-5% ของจำนวนเบียร์ทั้งหมด

อาจจะเป็นเพราะว่าเบียร์มีราคาไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับน้ำอัดลมและมีปริมาณการผลิตที่สูงเพราะชาวเยอรมนีดื่มเบียร์กันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตลาดเบียร์ในเยอรมนีเป็นตลาดที่ใหญ่และเบียร์กลายเป็นสินค้าส่งออกชนิดหนึ่งไป

ในตลาดโลกมีเบียร์ที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเบียร์ที่ผลิตมาจากทวีปยุโรป ไม่ว่าจะเป็นไฮเนเก้นของฮอลแลนด์, เบ็คของเยอรมนี, คาส์ลเบิร์กของเดนมาร์ก กินเนสส์ของอังกฤษ และพรินซ์จากสาธารณรัฐเชคฯ

เบียร์จากประเทศอื่น ๆ ก็มีชื่อเสียงไม่น้อยเหมือนกัน อย่างบัตไวเซอร์เบียร์ของอเมริกา ซานมีเกลเบียร์ดังของฟิลิปปินส์ ไทเกอร์ของสิงคโปร์ กิลินของญี่ปุ่น อีกหลาย ๆ ตัวที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้ ก็ถือว่ามีชื่อเช่นกัน

บริษัท บราว์เวอร์ลายว์เบ็ค (BRAUEREI BACKS AND COMPANE) บริวเวอรี่ใหญ่มากแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในเยอรมนีทางเหนือ เป็นเจ้าของเบียร์อยู่ 5 ถึง 6 ยี่ห้อ เบียร์ที่ดังที่สุดของบริวเวอรี่นี้ คือ เบียร์เบ็ค (BACKS) อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปกุญแจสีดำ เบ็คเป็นทั้งเบียร์อันดับหนึ่งของเยอรมนีและเป็นเบียร์ที่มีผู้นิยมดื่มทั่วโลก

เบ็คมีชื่อเสียงมากในตลาดโลก มียอดขายมากเป็นอันดับ 2 รองจากไฮเนเก้นของฮอลแลนด์ เบ็คจึงเป็นสินค้าที่บราว์เวอร์ลายว์มีนโยบายผลิตส่งออกเป็นสินค้าสำเร็นรูป ไม่ยอมให้ลิขสิทธิ์การผลิตแก่ผู้ใดเลย เพราะต้องการรักษาคุณภาพไว้ให้เหมือนต้นตำรับ

อีกประการหนึ่งเพราะเบ็คคือสินค้าส่งออก จึงไม่ต้องการให้ผู้ใดมาผลิตแข่ง อันจะเป็นผลทางด้านการตลาด

แต่จะมีใครรู้บ้างว่าเบียร์ "คลอสเตอร์" ที่มีชื่อเสียงอยู่ในตลาดเบียร์เมืองไทยภายใต้การผลิตของบริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่ เป็นสูตรเดียวกันกับเบ็คเบียร์ชั้นนำของเยอรมนี เพียงแต่คลอสเตอร์ถูกนำมาปรุงแต่งให้เข้ากับนักดื่มเบียร์ชาวไทยเท่านั้น

"คลอสเตอร์ในเยอรมนีแทบไม่มีคนรู้จัก แต่ที่เมืองไทยดังเป็นบ้า" ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ นักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีทางตอนเหนือถึง 12 ปีกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในอดีตครั้งหนึ่ง คลอสเตอร์เคยเข้าสู่ตลาดเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการนำเข้าโดยตัวแทนจำหน่ายรายหนึ่งที่อยู่ในตลาดเยาวราช แต่อยู่ได้ไม่นานนักคลอสเตอร์ก็หายไปจากตลาดโดยไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่ง "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์" กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่เป็นผู้นำกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2518

ในสมัยนั้นไทยอมฤตขณะที่เริ่มเข้าสู่ตลาดเบียร์ใหม่ต้องประสบกับศึกหนัก กับยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดเบียร์ไทยคือเบียร์สิงห์ของบุญรอดฯ แข็งมากในตลาดเบียร์หลายตัวของไทยอมฤตที่เข้าสู่ตลาดไม่ประสบความสำเร็จเลยเป็นปัญหาหนักของไทยอมฤตในขณะนั้น

ไทยอมฤตจำต้องออกจากตลากระดับเดียวกับเบียร์สิงห์จึงได้นำสูตรการผลิตเบียร์คลอสเตอร์จากต่างประเทศเข้ามา เพื่อแบ่งเซ็กเมนท์ในตลาดเบียร์ไทย ให้แตกต่างจากสิงห์

"สมพงษ์" เป็นผู้หนึ่งที่มีความรอบรู้เชี่ยวชาญเรื่องเบียร์มาก เพราะเคยไปอยู่เยอรมนีมาหลายปี ด้วยความสนใจใฝ่หาความรู้เรื่องเบียร์ สมพงษ์จึงมีเพื่อนเป็นเจ้าของบริวเวอรี่ใหญ่ชื่อนาย HATTING ซึ่งเป็นประธานบริษัทบาวเวอร์ลายว์เบ็คเจ้าของเบียร์เบ็คที่ดังที่สุดในเยอรมนีนั้นเอง

คลอสเตอร์อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท คลอสเตอร์บาวเวอร์ลาย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบราว์เวอร์ลายว์เบ็ค ทำการตลาดในเยอรมนี

สมพงษ์เลยได้ติดต่อขอเช่าลิขสิทธิ์คลอสเตอร์จาก HATTING มา ซึ่งคลอสเตอร์เป็นหนึ่งในเบียร์ 6 ยี่ห้อของบาวเวอร์ลายว์เบ็ค แต่คลอสเตอร์ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเหมือนกับเบ็ค HATTING จึงให้เช่าลิขสิทธิ์คลอสเตอร์แก่สมพงษ์ ที่ขณะนั้นคิดเพียงว่าหากนำเข้ามาผลิตแล้วขายดีก็โชคดีไป

คลอสเตอร์เติบโตมาในตลาดเมืองไทยถึงทุกวันนี้เป็นเวลา 17 ปีแล้ว มียอดขายเป็นอันดับ 2 รองจากเบียร์สิงห์โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 8% ของตลาดรวมกว่า 10,000 ล้านบาทของตลาดเบียร์ไทย

ความต้องการในตลาดของเบียร์สูงขึ้นทุกขณะจนเมื่อ 2 ปีที่ป่านมา คลอสเตอร์ผลิตเต็มกำลังถึง 180,000 เฮกโตลิตร/ปี ก็ยังไม่พอกับความต้องการของตลาด

จนทำให้ไทยอมฤตต้องปรับปรุงโรงงานเก่าอยู่ในขณะนี้ โดยขยายกำลังการผลิตด้วยการเพิ่มสายการผลิตอีก 1 สาย ลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปี 2535 นี้ และจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 70,000 เฮกโตลิตร รวมกับกำลังการผลิตเดิมเป็น 250,000 เฮกโตลิตร/ปี

บทบาทของคลอสเตอร์ ว่ากันจริงในเอเชียหลาย ๆ ประเทศก็เคยมีการนำคลอสเตอร์เข้ามาจำหน่าย แต่ไม่มีประเทศใดประสบความสำเร็จเหมือนประเทศไทยเลย

คงเป็นเพราะความแปลกประหลาดของตลาดเมืองไทย สินค้าบางอย่างขายดีในต่างประเทศ แต่มาเมืองไทยกลับตรงกันข้าม เหมือนเป๊ปซี่มีที่ไหนที่ดังกว่าโค้กและขายดีกว่าโค้กอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ทุกวันนี้เบียร์คลอสเตอร์ของบาวเวอร์ลายร์เบ็คยังไม่ประสบความสำเร็จในตลาดเยอรมนีและในตลาดส่วนอื่นของโลกเลย ยกเว้นเมืองไทย

เช่นนี้แล้ว ไทยอมฤตจึงทั้งเก่งและเฮง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us