Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 กันยายน 2551
อะโคเนติค ครีเอตแวลู สู้ศึกสงครามราคาแอลซีดีทีวี             
 


   
search resources

ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย), บจก.
Electric




อะโคเนติค เตรียมลอนช์แอลซีดีทีวี 19 นิ้ว และ 22 นิ้ว ชูฟังก์ชั่นเชื่อมต่อดีวีดีและยูเอสบีพอร์ต สนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยคุดิจิตอล พร้อมงัดแคมเปญการตลาดสร้างยอดขายแบบโซลูชั่น สู้ศึกสงครามราคา หลังดิสเคานต์สโตร์ขนแอลซีดีทีวีราคาถูกรุกตลาด ขณะที่แบรนด์ดังอัดโปรโมชั่น ส่งไฟติ้งโมเดล สกัดแบรนด์รอง

สมรภูมิรบตลาดแอลซีดีทีวีทะลุจุดเดือด หลังจากสร้างดีมานด์จนปริมาณความต้องการสูงกว่าพลาสม่าทีวี ทว่าสงครามราคาในตลาดแอลซีดีทีวีก็หาได้หยุดหย่อนไม่ ทางตรงข้ามราคากลับดิ่งลงอย่างต่อเนื่องจนบรรดาค่ายยักษ์ใหญ่ต่างต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและฟังก์ชั่นใหม่ๆเพื่อรักษามูลค่าตลาดแอลซีดีทีวีมิให้ตกต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ ขณะเดียวกันก็มีการลอนช์ไฟติ้งโมเดลออกมาถล่มตลาดเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ซึ่งอีกนัยหนึ่งเป็นเสมือนการตีกันไม่ให้แอลซีดีทีวีแบรนด์รองได้แจ้งเกิด ประกอบกับดิสเคานต์สโตร์ต่างขนแอลซีดีโนเนมราคาถูกเข้ามาร่วมถล่มราคาจูงใจผู้บริโภคให้เข้าห้าง งานหนักจึงตกกับมวยรอง

ทั้งนี้ปัจจุบันตลาดแอลซีดีทีวีมีปริมาณความต้องการอยู่ที่ 550,000 เครื่อง คิดเป็นการเติบโตเชิงปริมาณสูงถึง 82% ในขณะที่มูลค่าตลาดแอลซีดีทีวีในเมืองไทยอยู่ที่ 14,750 ล้านบาท เติบโตขึ้น 36% ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดมีการเติบโตในเชิงปริมาณที่มากกว่าการเติบโตในเชิงมูลค่า สะท้อนให้เห็นถึงราคาที่ตกต่ำของแอลซีดีทีวี โดยตลาดหลักกว่า 60% เป็นแอลซีดีทีวีขนาด 32 นิ้ว ซึ่งมีราคาตกจากระดับ 3 หมื่นกว่าบาท เหลือ 2 หมื่นบาทต้นๆ ในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี

ล่าสุด ในปีนี้สงครามแอลซีดีทีวี 32 นิ้วได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่โดยมีราคาต่ำกว่า 20,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 1-2 ปีมีเพียงโลคัลแบรนด์อย่าง อมร (Amorn) และมิตรอน (Mitron) ที่จำหน่ายแอลซีดีทีวี 32 นิ้วราคาหมื่นกว่าบาทเท่านั้น แต่ในปีนี้ระดับราคาดังกล่าวสามารถหาได้ในกลุ่มแบรนด์เนมด้วยกัน ผสมโรงไปกับการแข่งขันในวงการค้าปลีกประเภทดิสเคานต์สโตร์ที่มีเทสโก้ โลตัส เป็นผู้นำตลาด โดย 1-2 เดือนก่อนหน้านี้เทสโก้ โลตัส เคยนำแอลซีดีทีวี 42 นิ้ว ของ TCL เข้ามาเขย่าตลาดด้วยราคาโปรโมชั่นเพียง 19,900 บาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่เท่ากับแอลซีดีทีวี 32 นิ้ว ล่าสุดนำแอลซีดีทีวี แบรนด์ ALPHA เข้ามาทำตลาด โดยมีโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่มีคูปองลด 50% สามารถซื้อได้ในราคา 9,995 บาทเท่านั้น จากราคาปรกติ 19,990 บาท

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบรรดาแบรนด์รองที่ทำตลาดแอลซีดีทีวี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อะโคเนติค ที่ประกาศเทียบรัศมีแบรนด์เกาหลีและแบรด์ญี่ปุ่นมาก่อนหน้านี้ โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีและดีไซน์ พร้อมช่องทางจำหน่าย เพื่อยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น แม้แอลซีดีทีวีจะไม่ใช่สินค้าที่สร้างยอดขายอันดับต้นๆของ อะโคเนติค แต่แอลซีดีทีวีถือเป็นสินค้าที่จะสร้างภาพลักษณ์ความเป็นแบรนด์ทันสมัยที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้า ทำให้ อะโคเนติค ไม่สามารถละทิ้งตลาดดังกล่าวได้ อีกทั้งแอลซีดีทีวียังเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์ดิจิตอลชิ้นเล็กอื่นๆที่ต้องอาศัยวอลลุ่มจำนวนมากในการสร้างยอดขาย ซึ่งที่ผ่านมาอะโคเนติคมีการใช้สงครามราคาปะทะกับบรรดาแบรนด์เนม โดยเฉพาะในช่วงที่บรรดาแอลซีดีทีวีแบรนด์เนมมีการดัมป์ราคา ส่งผลให้อะโคเนติคต้องดัมป์ราคาสู้ โดยวางระดับราคาให้ต่ำกว่าโปรโมชั่นของคู่แข่ง 1,000 บาท พร้อมแจกสินค้าพรีเมียมให้กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเล่นดีวีดี

ทั้งนี้ในการใช้สงครามราคาปะทะกับคู่แข่งนั้นทางอะโคเนติคต้องมีการเจรจากับช่องทางจำหน่ายเป็นรายๆไปเพื่อขอลดค่า GP ในช่วงที่ทำโปรโมชั่น เพื่อนำส่วนลดที่ได้มากำหนดราคาโปรโมชั่นที่จะสามารถดึงดูดผู้บริโภค โดยจะทำเฉพาะช่องทางที่ถูกคู่แข่งทำโปรโมชั่นโจมตีเท่านั้น อีกทั้งยังต้องค่อยทำความเข้าใจกับบรรดาช่องทางจำหน่ายต่างๆเพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งจากการทำโปรโมชั่นราคาถูกต่ำในช่องทางที่คู่แข่งกำลังทำโปรโมชั่นอยู่ ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น

“การทำโปรโมชั่นสู้ในบางครั้งก็ต้องยอมขาดทุนเพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้” นิภาภรณ์ พวงทอง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) ผู้บริหารแบรนด์อะโคเนติค

อย่างไรก็ดี อะโคเนติค เคยกำหนดนโยบายด้านราคาให้ถูกกว่าผู้นำตลาดที่เป็นแบรนด์เกาหลี และ ญี่ปุ่นประมาณ 5,000 บาท ทว่าการขยายตลาดอย่างหนักของแบรนด์เกาหลีอย่างซัมซุงที่มีสินค้าครอบคลุมตลาดตั้งแต่ตลาดพรีเมียมมาถึงตลาดแมส ทำให้อะโคเนติคไม่สามารถรักษาช่องว่างระหว่างราคาที่ 5,000 บาทได้ โดยปัจจุบันช่องว่างระหว่างราคาของอะโคเนติคและแบรนด์เนมอยู่ที่ 1,000-2,000 บาท

“พฤติกรรมในการเลือกซื้อแอลซีดีทีวีของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันจะพิจารณาจากปัจจัยราคาเป็นหลัก อีกทั้งทิศทางของตลาดแอลซีดีทีวีที่มีแนวโน้มของราคาที่ลดลง ก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาก่อนการตัดสินใจซื้อมากขึ้น โดยมีเรื่องดีไซน์เป็นปัจจัยหนุนในการตัดสินใจซื้ออีกที ดังนั้นเราจึงเตรียมลอนช์แอลซีดีทีวีรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยมีดีไซน์ที่สวยงาม มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆ” นิภาภรณ์ กล่าว

ปัจจุบัน อะโคเนติค มีแอลซีดีทีวี 2 ขนาด คือ 32 นิ้ว ราคาเริ่มต้นที่ 25,900 บาท ซึ่งในช่วงที่ต้องทำโปรโมชั่นสู้กับบรรดาแบรนด์เนมอาจจะต้องดัมป์ราคาลงมาอยู่ที่ 12,900 บาท ส่วนอีกขนาดคือ 42 นิ้ว มีราคาอยู่ที่ 35,900 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ลดลงจาก 39,900 บาท

ทั้งนี้บริษัทมีแผนที่จะลอนช์แอลซีดีทีวีขนาด 19 นิ้ว ราคา 13,900 บาท และขนาด 22 นิ้ว ราคา 22,900 บาท ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยมีช่องต่อดีวีดี และต่อ USB พอร์ต โดยแอลซีดีทีวีรุ่นใหม่จะมาพร้อมกับดีไซน์ที่สวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า พร้อมด้วยหน้ากากทีวีที่สามารถถอดเปลี่ยนสี เปลี่ยนลวดลายได้ เพื่อให้แอลซีดีทีวีของ อะโคเนติค เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนดีไซน์ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีแผนที่จะทำการตลาดแบบโซลูชั่น โดยเสนอแพกเกจความบันเทิงครบชุด ซึ่งประกอบด้วย แอลซีดีทีว เครื่องเล่นดีวีดี และลำโพง ในราคาพิเศษ

อะโคเนติค มีการพัฒนาช่องทางจำหน่ายภายใต้ชื่อ The I Life ซึ่งเปลี่ยนมาจากชื่อ เดอะ บูติค ดิจิตอล ซึ่งเป็นอิมเมจชอปที่จะสร้างภาพลักษณ์ความทันสมัยให้กับแบรนด์อะโคเนติค โดยปัจจุบัน The I Life มีสาขาทั้งหมด 7 แห่ง ส่วนช่องทางจำหน่ายที่เป็นดีลเลอร์มีทั้งหมด 250 ราย มีจำนวนร้านค้าและสาขารวมกันกว่า 300 แห่ง ขณะที่ช่องทางโมเดิร์นเทรดก็จะเน้นห้างสรรพสินค้าและสเปเชียลตี้สโตร์

ในขณะที่บรรดาคู่แข่งระดับแบรนด์เนม นอกจากจะดัมป์ราคาแอลซีดีทีวีรุ่นเก่าแล้ว ยังมีการทำการตลาดเพื่อยกระดับความต้องการของผู้บริโภคให้หันมาใช้แอลซีดีทีวีที่มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าตลาดแอลซีดีทีวีให้สูงขึ้น ซึ่งหลายๆค่ายต่างมุ่งไปสู่การเป็น Full HD TV โดยผู้นำตลาดอย่างซัมซุงมีการใช้ดีไซน์เป็นตัวนำ ซึ่งปีที่ผ่านมาซัมซุงประสบความสำเร็จจากแอลซีดีทีวีรุ่น บอร์โดซ์ พลัส ส่วนในปีนี้มีการปรับไลน์การผลิตแอลซีดีทีวีที่โรงงานศรีราชาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดระดับกลาง-บนมากขึ้น ล่าสุดเตรียมลอนช์แอลซีดีทีวี รุ่น GIORGIO-AMANI

“ปัจจัยความสำเร็จของซัมซุงเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีและดีไซน์ ทำให้สามารถสร้าง ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล ที่เปลี่ยนภาพลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานหลักเพียงอย่างเดียวไปสู่การเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้าน ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้บริโภคหันมานิยมผลิตภัณฑ์ของซัมซุง” สุพจน์ ลีลานุรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ธุรกิจภาพและเสียง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าว

ก่อนหน้านี้ซัมซุงมีการลอนช์แอลซีดีทีวี Full HD 100 เฮิรต์ซ รุ่น F8 ซึ่งมี 2 ขนาดคือ 52 นิ้ว ราคา 229,990 บาท และ ขนาด 46 นิ้ว ราคา 159,990 บาท โดยใช้ตีมที่ว่า The Art of Perfection ที่นอกจากจะเน้นเทคโนโลยีความคมชัดแล้วยังมีดีไซน์หรู กรอบเงาดำ พร้อมปุ่มเปิด-ปิดแบบสัมผัส พร้อมไฟสีน้ำเงิน ซึ่งทั้งหมดล้วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เช่นเดียวกับแอลจีที่หันมาเน้นในเรื่องของดีไซน์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการลอนช์ สการ์เล็ต แอลซีดีทีวี ที่เน้นเรื่องดีไซน์ ระดับพรีเมียม มีราคาสูงกว่าแอลซีดีรุ่นปรกติเกือบ 1 หมื่นบาท โดยในช่วงแรกมีการลอนช์ 4 รุ่น คือ รุ่น 32 นิ้วมีราคาอยู่ที่ 29,990 บาท รุ่น 37 นิ้วมีราคา 39,990 บาท ส่วนอีก 2 รุ่นรองรับสัญญาณระดับฟูลเอชดีคือ 42 นิ้ว ราคา 74,990 บาท และ รุ่น 47 นิ้ว ราคา 99,990 บาท แม้จะเป็นโปรดักส์ไฮเอนด์ แต่ก็ถือว่าแอลจียังมีราคาถูกกว่าแอลซีดีทีวี ซัมซุง F8 ค่อนข้างมาก

ในขณะที่โซนี่ มีการ อัปเกรดลูกค้าเก่า ควบคู่ไปกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยแคมเปญ Big Match…Big Screen…Big Fun เป็นแคมเปญที่โซนี่ลอนช์ในช่วงมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลยูโร และโอลิมปิค 2008 เป็นการกระตุ้นฐานลูกค้าเก่าของโซนี่ให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีขึ้น โดยลูกค้าสามารถนำซีอาร์ที ทีวี ของโซนี่ 29 นิ้ว มาแลกซื้อแอลซีดีทีวีบราเวียเครื่องใหม่ โดยจะได้รับส่วนลดสูงสุด 10,000 บาท พร้อมขยายระยะเวลารับประกันนานถึง 20 เดือนสำหรับแอลซีดีทีวีบราเวียรุ่น 40 นิ้วขึ้นไป ตลอดจนการรับสิทธิ์ในการลุ้นรับรางวัลรวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท โดยรางวัลที่ 1 เป็นชุดผลิตภัณฑ์ Full HD มูลค่า 1.7 ล้านบาท ประกอบด้วย แอลซีดีทีวีบราเวีย 70 นิ้ว เครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ ชุดโฮมเธียเตอร์ กล้องไซเบอร์ชอท กล้องอัลฟ่า กล้องแฮนดีแคม ไวโอ้

นอกจากนี้โซนี่ยังขยายฐานลูกค้ารุ่นใหม่ด้วยการลอนช์แอลซีดีทีวี รุ่น KLV-20S400A ขนาด 20 นิ้ว เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภครุ่นใหม่ที่อาศัยในคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ รวมถึงเป็นแอลซีดีทีวีเครื่องที่ 2 ในห้องนอน โดยมีสีต่างๆให้เลือกถึง 5 สี คือ ดำ ชมพู ส้ม เขียว ฟ้า พร้อมกับจับคู่กับเครื่องเล่นดีวีดี รุ่น DVP-PR50 ซึ่งมี 5 สีคู่กับแอลซีดีทีวีของโซนี่ได้ ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคผู้หญิงที่เข้าถึงสีสันและดีไซน์ของสินค้าได้ง่ายกว่าเรื่องเทคโนโลยี อีกทั้งยังมีราคาไม่สูงมากนักโดยจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท ทำให้สามารถเจาะตลาดคนเริ่มทำงานได้ไม่ยาก

ขณะที่ตลาดผู้ใหญ่หรือสาวกรุ่นเก่าที่มีกำลังซื้อสูงก็จะใช้แอลซีดีทีวีบราเวียรุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไป รวมถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่เหล่านี้เมื่อมีฐานะการงานการเงินที่มั่นคงก็อาจจะมีการเปลี่ยนไปใช้แอลซีดีทีวีบราเวียรุ่นจอใหญ่ต่อไป ซึ่งในปีนี้โซนี่ได้ปรับมาตรฐานแอลซีดีทีวีบราเวียขนาด 40 นิ้วขึ้นไปทุกรุ่นจะให้สัญญาณภาพในระดับ Full HD จากเดิมที่มีสัญญาณภาพระดับ HD Ready ร่วมด้วย โดย แอลซีดีทีวีระดับ Full HD จะมีราคาโดยเฉลี่ยสูงกว่า แอลซีดีที่เป็น HD Ready ประมาณ 50% ดังนั้นการเปลี่ยนมาเป็น Full HD จึงช่วยสร้างมูลค่าให้กับยอดขายของโซนี่

อีกทั้งยังเป็นตัวเร่งให้กลยุทธ์ HD World ของโซนี่ประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวมีการลอนช์มาประมาณ 2 ปีแล้ว ทว่ายังไม่แพร่หลายเพราะนอกจากจะมีราคาแพงแล้ว โซนี่ยังเปิดช่องว่างให้ผู้บริโภคเลือกรุ่นที่ต่ำกว่า สำหรับในปีนี้ โซนี่จะเร่งสร้างตลาดเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ โดยอาศัยความเป็น Sony United ที่มีบริษัทในเครือ อย่างโซนี่ พิคเจอร์ และโซนี่ บีเอ็มจี ในการผลิตแผ่นภาพยนตร์และแผ่นเพลงในรูปแบบของแผ่นบลูเรย์ออกมาตอบสนองตลาด Full HD

ด้วยชื่อชั้น และช่วงเวลาที่อยู่ในตลาดมานาน ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์เนมจากญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคไทย ในขณะที่อะโคเนติคยังต้องใช้เวลาในการทำให้ผู้บริโภคยอมรับแบรนด์ ประกอบกับการมีจำนวนรุ่นแอลซีดีทีวีที่น้อยกว่า ก็ยิ่งเสียเปรียบ แต่ด้วยฟังก์ชั่นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ดิจิตอบอื่นๆผ่าน USB พอร์ต ก็อาจจะมีโอกาสที่จะเจาะตลาดผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ไม่ได้ยึดติดกับแบรนด์เนมได้บ้าง หากไม่ถูกค่ายยักษ์ส่งแอลซีดีทีวีที่มีฟังก์ชั่นเทียบเคียงออกมาประกบในระดับราคาที่ใกล้เคียงกันเสียก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us