Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"ใครเป็นใครในแบงก์ที่กัมพูชา"             
 

   
related stories

"ทำไมจึงแข่งกันเปิดธนาคารที่กัมพูชา?"
"เรียล ดอลลาร์ ปัญหาการเงินของเขมร"

   
search resources

ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์
พจน์ บุณยรัตพันธ์
Banking and Finance




ธนาคารกสิกรในกัมพูชา

"ผมไม่เคยนึกฝันมาก่อนว่าจะเปิดกิจการธนาคารของตนเอง ที่จริงแล้วผมบอกลูกสาวเสมอ ๆ ว่า "อย่าเรียนวิชาด้านการธนาคารเลย ถ้าหากไม่ได้เป็นเจ้าของธนาคารเอง" พจน์ บุณยรัตพันธ์ แห่งธนาคารกสิกรกัมพูชา (CAMBODIA FARMERS BANK) หรือซีเอฟบีกล่าว

ก่อนหน้านี้ พจน์ใช้ชีวิตการทำงานถึง 18 ปีที่ธนาคารกรุงเทพ โดยประจำที่ลอนดอนและจาการ์ตาก่อนที่จะเปลี่ยนไปจับธุรกิจการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ในนิวยอร์ก จนเมื่ออายุได้ 46 ปีแล้ว

จึงมาปักหลักที่ซีเอฟบี โดยเพิ่งเปิดสำนักงานในพนมเปญไล่หลัง ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ (CAMBODIA COMMERCIAL BANK) เพียงไม่กี่เดือน

การที่พจน์เลือกอาชีพด้านการธนาคารก็เพราะความเข้าใจผิดตั้งแต่ครั้งยังเด็กที่คิดว่างานธนาคารนั้นเลิกตอนบ่ายสามโมง แต่เมื่อเขาเข้าไปทำจริง ๆ ปรากฏว่าต้องทุ่มเทเวลาให้จนถึงราวตีสองทีเดียว

พจน์จบการศึกษาระดับมัธยมจากวิทยาลัยอัสสัมชัญศรีราชา จากนั้นสอบเข้าเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความที่บิดาของเขาอยู่ในวงราชการมานาน และเกษียณอายุในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย จึงเล็งเห็นความยากลำบากในสายอาชีพ และตัดสินใจส่งเขาไปศึกษาต่อทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษแทน

เมื่อครั้งที่พจน์ศึกษาวิชาสถาบันธนาคาร เขาได้ตอบคำถามอาจารย์ในการสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับบทบาทของนักการธนาคารว่า "นักการธนาคารเป็นนักวิชาชีพแขนงหนึ่งเช่นเดียวกับแพทย์ แต่คนไข้ของผมคือนักธุรกิจ ถ้าหากผมช่วยรักษาพวกเขาให้มีสุขภาพแข็งแรง ถือว่าผมประสบความสำเร็จในอาชีพแล้ว"

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว พจน์เข้าฝึกงานกับดอยช์แบงก์ในฮัมบูร์ก ก่อนเข้าประจำธนาคารกรุงเทพ สาขาลอนดอน จนปี 1972 จึงย้ายไปประจำสาขาในจาการ์ตา และอยู่ที่นั่นนานถึง 14 ปี จนก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของสาขาทั้งสองแห่ง

หลังจากนั้น พจน์ลาออกไปทำงานกับ "บอร์ดริช ไฟแนนซ์" ซึ่งเป็นธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ในวอลล์สตรีทนานถึงห้าปี ก่อนจะหวนคืนสู่ธุรกิจธนาคารอีกครั้ง ด้วยเหตุผลที่อ้างว่าเป็นความบังเอิญ

พจน์เล่าว่าเขาได้รับคำแนะนำจากสมาชิกฝ่ายต่อต้านเขมรผู้หนึ่ง และได้รู้จักกับเจ้าหญิงนโรดม อรุณรัศมี ซึ่งเป็นพระธิดาองค์หนึ่งของสมเด็จนโรดมสีหนุ และเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารพาณิชย์สาขานิวยอร์ก

ปัจจุบันเจ้าหญิงนโรดม อรุณรัศมีเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของซีเอฟบี อีกทั้งเป็นผู้จัดการ และรองประธานคณะกรรมการบริหารด้วย

"เรามีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องการพัฒนากัมพูชา "พจน์กล่าว "ผมเห็นว่าจะมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพกัมพูชาที่ปารีส และผมคิดว่าระบบธนาคารนั้นมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ พอผมคิดว่าเราเป็นนักการธนาคารมาก่อน เราก็น่าจะตั้งธนาคารขึ้นสักแห่งได้"

เดือนกันยายนปีที่แล้ว พจน์จึงดำเนินการติดต่อกับธนาคารกลางของกัมพูชาและคณะกรรมาธิการการลงทุนต่างประเทศ พร้อมกับเสนอแผนการสำหรับพัฒนาที่ดินทางด้านการเกษตรขนาดเล็ก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะผู้ว่าการธนาคารกลางกัมพูชาเองก็ถือกำเนิดในไทยและสามารถพูดภาษาไทยได้ ส่วนตัว กง สาม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการนั้นก็คุ้นเคยกับพจน์มาก่อน

การดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่มีปัญหาติดขัดอยู่บ้างในเรื่องการตั้งชื่อกิจการ เพราะรัฐบาลกัมพูชาเห็นว่า ธนาคารกสิกรไทยนั้นได้เข้าไปขออนุญาตเปิดสำนักงานสาขาในชื่อ "ธนาคารกสิกรไทยกัมพูชา" (THAI FARMERS BANK CAMBODIA) จะต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารกสิกรไทยพนมเปญ" (THAI FARMERS BANK PHNOM PENH) เพื่อเลี่ยงความสับสน

5 เมษายนที่ผ่านมา ซีเอฟบีก็ได้ฤกษ์เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจากการใช้พื้นที่ 2 ชั้นของอาคารขนาด 4 ชั้นในย่านธุรกิจทางตะวันออกของพนมเปญ ซึ่งซื้อจากกระทรวงการคลังมาในราคา 500,000 ดอลลาร์ และอยู่ในระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมอยู่

พจน์มีผู้ช่วยสำคัญสองคนซึ่งเขาดึงตัวมาจากธนาคารกรุงเทพคือ อดิศร ตันติเมธ และ ม.ล. อุ่นใจ มาลากุล ส่วนพัฒน์ บุณยรัตพันธ์ บิดาของพจน์นั้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของธนาคาร

ทีมงานของพจน์มีอยู่ด้วยกันราว 30 คน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยและอดีตผู้ช่วยของเขาสี่ห้าคนมาจากจาการ์ตา นอกนั้นเป็นชาวกัมพูชาสองสามคน

ทีมงานดังกล่าวได้รับการฝึกอบรมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์ "แบงก์ การ์ด" ที่เป็นซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุด และเพิ่งวางตลาดในสหรัฐฯ ได้ราวสี่เดือน

พจน์เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับธุรกิจธนาคารในกัมพูชาที่อยู่ในภาวะล้าหลังจากระบบธนาคารของโลกไปนับสิบปี

กับเงินทุนจดทะเบียนของซีเอฟบีจำนวน 5 ล้านดอลลาร์ พจน์ชี้แจงว่า เป็นเงินทุนที่ได้จากบรรดาผู้ถือหุ้น โดยรายสำคัญก็คือบุญชัย ลอพัฒนพงศ์ เพื่อนสนิทของบิดาของเขาและประกอบธุรกิจค้าไม้อยู่ในอุบลราชธานี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการธนาคารด้วย

นอกจากนั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พจน์ยังก่อตั้งบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศชื่อ "กัมโบเดีย-ไทย โค" ในกรุงเทพขึ้น เพื่อรองรับในกรณีที่กฎหมายการลงทุนต่างประเทศของกัมพูชาไม่อาจคุ้มครองการลงทุนของเขา ในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายธนาคาร

กิจการแห่งนี้เป็นธุรกิจร่วมทุน มีฐานะเป็นโฮลดิ้งคอมปะนีของซีเอฟบี และเจ้าหญิงนโรดม อรุณรัศมีถือหุ้นอยู่ 10%

ส่วนซีเอฟบีนั้นจดทะเบียนเป็นธนาคารท้องถิ่นในกัมพูชามีธนาคารกลางของกัมพูชาถือครองสัดส่วนทุนจดทะเบียนราว 10% รวมทั้งมีคณะกรรมการบริหารกิจการโดยตำแหน่ง 1 คนด้วย

ซีเอฟบีดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับกิจการธนาคารทั่วไป รวมทั้งบริการเงินฝากประจำ การโอนสิทธิตราสารและบริการเงินฝากสกุลต่าง ๆ การระดมทุนให้บริษัท กับการให้คำแนะนำในด้านการลงทุนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

พจน์เชื่อว่าความสามารถในการประกอบธุรกิจจะเป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจในต่างประเทศอยู่แล้ว

และสิ่งที่ลูกค้าต้องการไม่ใช่ระบบของธนาคาร หากเป็นการอำนวยความสะดวกและประสิทธิภาพของบริการที่ทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นมากขึ้น

ส่วนด้านของซีเอฟบีเองก็มีเครือข่ายอยู่ในต่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอยู่อีกทั้งยังร่วมมือทางธุรกิจอยู่กับซิตี้แบงก์ เครดิต ลีอองแนส์ และอินเตอร์เนชันแนล เนเดอร์แดน แบงก์ด้วย

พจน์ชี้ว่า ธนาคารวางเป้าหมายว่าจะดำเนินธุรกิจไปจนถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในห้าปี โดยชี้ว่าพนักงานแต่ละคนมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารระหว่างประเทศกันอย่างต่ำ 10 ปี และทางธนาคารก็ลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาล จึงมีแนวโน้มที่จะเปิดสาขาเพิ่มอีก โดยเริ่มจากที่เสียมเรียบซึ่งซีเอฟบีได้ไปเช่าที่ไว้แล้ว

"สภาพของกัมพูชาตอนนี้เหมือนกับเมืองไทยเมื่อสี่สิบห้าปีก่อน" พจน์ให้ความเห็นโดยชี้ว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายแต่เปิดโอกาสให้กับธุรกิจทุกแขนง เพียงแต่ต้องสร้างและฟื้นฟูบูรณะครั้งใหญ่

แม้ว่าทุกวันนี้พจน์จะเหน็ดเหนื่อยกับภารกิจอันมากมายแต่สิ่งที่ชัดเจนอยู่ภายในจิตใจของเขาก็คือ เขาแทบไม่เชื่อในโชคของตัวเองที่ได้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารแห่งหนึ่ง

ซึ่งถ้าจะเทียบไปแล้วน่าจะเท่ากับตระกูลโสภณพนิช, เตชะไพบูลย์ และล่ำซำที่ผลักดันกิจการธนาคารให้เติบโตขึ้นได้ โดยอาศัยจังหวะโอกาสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us