Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"คนดูแลโรงงานนิวเคลียร์"             
 


   
search resources

ปานจิต ฐานีพานิชสกุล
Electricity




"ปัญหาเรื่องนิวเคลียร์คือต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ แต่ไหนแต่ไรมาเราก็รู้ว่าพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น การจะเอาโครงการนี้เข้ามาค่อนข้างเป็นอันตรายต่อการยอมรับของประชาชน จะต้องค่อย ๆ ทำการเผยแพร่ความเข้าใจเพราะนิวเคลียร์การตัดสินใจวันนี้ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เลย ของอย่างนี้ไฮเทค ต้องเตรียมคนที่มีคุณภาพ เตรียมโครงสร้างที่รัดกุมพอ"

เจ้าของคำกล่าวข้างต้นคือ ปานจิต ฐานีพานิชสกุล ซึ่งหวุดหวิดจะได้บริหารงานด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่มีโครงการจะสร้างเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่แล้วแต่ถูกกระแสคัดค้านจากประชาชนไปเสียก่อน

ปัจจุบันข้าราชการหญิงคนนี้ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์กำกับความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งหน่วยงานนี้จะต้องทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่คาดว่าจะสร้างในปี พ.ศ. 2549 หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถฟันฝ่ากระแสคัดค้านจากประชาชนไปได้

งานสัมมนาเรื่องข้อพิจารณาในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการเปิดตัวครั้งสำคัญสำหรับแนวคิดในการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นทางออกของพลังงานสำหรับประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

ประเด็นสำคัญที่สุดที่จะต้องถูกทวงถามจากสาธารณชนหากเลือกพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางออกคือเรื่องความปลอดภัย

ปานจิตใขข้อข้องใจนี้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเพียงหนึ่งในสามประเภทของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่ต้องมีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบติดตามให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปตามมาตราฐานความปลอดภัยซึ่งทางทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเป็นผู้จัดทำมาตราฐาน

ทั้งนี้หมายความว่าหาก กฟผ. ได้รับอนุมัติในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ศูนย์กำกับความปลอดภัยแห่งนี้จะต้องร่วมพิจารณาตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าการออกแบบโรงไฟฟ้า การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ การดำเนินการก่อสร้าง หรือการเดินเครื่องไฟฟ้า และรวมไปถึงการรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย

ผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนจะอยู่ในขั้นตอน ตั้งแต่การได้รับรังสีจากการทำเหมืองยูเรเนียม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับโรงไฟฟ้าประเภทนี้ การเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้า การสกัดแท่งเชื้อเพลิงและการจัดการกากกัมมันตรังสีที่สำคัญคือการได้รับรังสีจากอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้า

อุบัติเหตุที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนกว่าครึ่งค่อนโลกคือเหตุการณ์เมื่อปี 2522 ที่ที่ไมน์ไอแลนด์ รัฐเพนซิลวาเนีย อเมริกา และ 7 ปีต่อมาที่เชอร์โนบิลในรัสเซีย

"เหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลเกิดจากการที่คนควบคุมเครื่องเกิดนึกแผลงทำการทดลองภายในโรงไฟฟ้าโดยการตัดระบบความปลอดภัยออกทั้งหมด แล้วบอกว่าจะลองเดินเครื่องต่ำดูว่าน้ำจะช่วยระบายความร้อนต่ำมั๊ยเหมือนกับคนขับรถบอกว่าวันนี้จะไม่แตะเบรคแต่ใช้เกียร์แทนแล้วขับไม่เร็วหรอก อย่างนี้เลยเกิดปัญหาขึ้น"

ด็อกเตอร์ด้านนิวเคลียร์จากมหาวิทยาลัยปารีสชี้แจงหนึ่งในสองอุบัติเหตุที่ผู้คนหวาดกลัว เธอยังต่อท้ายด้วยว่าเครื่องปฏิกรณ์ที่เชอร์โนบิลนั้นเป็นรุ่นแรก ๆ ซึ่งเก่ามากเกินกว่าที่จะเอามาเทียบกับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันได้

การออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องป้องกันเรื่องการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีอย่างน้อยสามด่านด้วยกัน ด่านแรกเป็นเปลือกหุ้มเชื้อเพลิงตามด้วยท่อของแกนเครื่องปฏิกรณ์ทนแรงดันสูง และอาคารคอนกรีตหุ้มอีกชั้นหนึ่ง

นอกจากนั้นยังจะต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ระบบเตือนภัยและระบบระงับเหตุเพื่อให้เครื่องสามารถหยุดทำงานได้ทันทีที่เกิดเหตุ

"เทคโนโลยีใหม่มีแนวโน้มจะพึ่งระบบธรรมชาติมากขึ้น เช่นถ้าเกิดอะไรขึ้นแทนที่จะต้องอาศัยคนไปเปิดก๊อกน้ำเพื่อระบายความร้อน หรือใช้สวิสไฟฟ้า จะหันมาใช้ระบบธรรมชาติมีแท็งค์เก็บน้ำให้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หรือระบบแม่เหล็กเช่นเมื่อเครื่องร้อนถึงขั้วแล้วแม่เหล็กจะทำงานสวิสไฟฟ้าจะปิดเองทันที"

ปานจิตกล่าวถึงแนวโน้มอันนี้ว่า เพื่อเป็นการป้องกันในเรื่องความประมาทของเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

ปัญหาอีกอันหนึ่งที่มีการพูดถึงกันมากคือเรื่องการจัดการกับกากกัมมันตรังสีหากประเทศไทยเลือกใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1000 เมกกะวัตต์จะมีแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วประมาณปีละ 25 ตัน

ซึ่งภายในแท่งเชื้อเพลิงเหล่านี้จะมีกากกัมมันตรังสีที่มีระดับรังสีสูง ต้องปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจึงจะสลายตัวไป

การจัดการกับกากเหล่านี้ จะต้องนำแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วไปเก็บไว้ในบ่อน้ำภายในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ โดยใช้บ่อขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 12 เมตร ลึก 12 เมตร จะสามารถบรรจุแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วในแต่ละปีได้ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้าประมาณ 30 ปี

ในแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วจะมีกากกัมมันตรังสีประมาณ 3 % ส่วนที่เหลือจะเป็นยูเรเนียมและพลูโตเนียมที่สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้

เมื่อมีปริมาณเชื้อเพลิงใช้แล้วมากพอ อาจจะจัดส่งแท่งเชื้อเพลิงเห่านี้ไปยังโรงงานในประเทศต่าง ๆ ที่รับสกัดแยกให้เหลือเฉพาะกากจริง ๆ เช่นประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เป็นต้น กากที่เหลือจะนำไปหลอมรวมกับแก้วทำให้อยู่ในรูปของผลึกแก้ว

"แต่ก่อนประเทศอย่างฝรั่งเศสเขารับสกัดยูเรเนียมและพลูโตเนียมออกเหลือเป็นกาก ซึ่งเขาก็จะเก็บกากไว้ที่ฝรั่งเศสเลย ระยะหลังมีหลายประเทศส่งไปสกัดมากขึ้นคนฝรั่งเศสก็บอกว่าประเทศเขาไม่ใช่ที่ทิ้งกากของทั่วโลกนะเขาก็เลยรับสกัดแล้วส่งกลับคืนประเทศนั้น ๆ ถือว่ากากใครกากมันเฉลี่ยกันไปเก็บจะดีกว่า" ปานจิตกล่าว

สำหรับกากกัมมันตรังสีที่เป็นผลึกแก้วผ่านการสกัดแล้วทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้จัดเตรียมสถานที่เก็บกากไว้โดยเฉพาะ และมีหน่วยงานที่จะตรวจสอบติดตามสภาพของกากเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้อำนวยการศูนย์กำกับความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์มีความเห็นต่อเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าจะต้องเป็นการทำงานแบบโปร่งใส เพราะต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่นานาชาติกำหนดอยู่แล้ว และสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือต้องให้ประชาชนได้รับรู้ทุกขึ้นตอนในเรื่องของข่าวสาร การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าประเภทนี้

"สมมุติเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอินเดีย เมฆดำลอยมา มีรังสีไม่มาก เราต้องบอกให้ประชาชนรู่ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เช่นล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ผักต้องล้างก่อนกิน ห้ามเด็ก ๆ ไปเล่นนอกบ้าน หรือปิดหน้าต่างบ้านให้มากที่สุด เป็นต้น ไม่ใช่ปิดข่าวเงียบบอกแต่ว่าไม่มีอะไรอยู่เรื่อย อันนี้ผิดมาก เพราะคนไม่รู้ว่าจะทำตัวอย่างไร"

เมื่อถามถึงความพร้อมทางด้านบุคลากร เธอเล่าว่าตอนนี้ทางศูนย์มีเจ้าหน้าที่อยู่ 3-4 คน มีคนที่จบมาทางด้านนี้อยู่ตามหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งถ้าตัดสินใจจะสร้างจริง ๆ แล้วก็ต้องดึงคนเหล่านี้มา และก็สามารถดึงผู้เชี่ยวชาญข้างนอกมาเป็น ADVISORY GROUP เช่นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ในเรื่องการหาสถานที่ตั้งเป็นต้น

ส่วนในขั้นตอนของการดำเนินการควบคุมเครื่องคงจะต้องมีการเตรียมการส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษางานด้านการควบคุมความปลิดภัย งานด้านเทคนิควิชาการเหล่านี้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศจะให้ความช่วยเหลือทางด้านนี้ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลด้านสว่างจากนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่คลุกคลีอยู่กับพลังงานประเภทนี้

แต่ในอีกบางซอกมุมมืดของสารกัมมันตรังสี ที่เกิดจากการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคมะเร็งร้ายหรือผลจากการได้รับสารนี้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยการทำอันตรายต่อโครโมโซมของเซลล์ไข่ของแม่หรือสเปอร์มของพ่อ อาการผิดปกติเหล่านี้จะปรากฏออกมาให้เห็นในรุ่นลูกรุ่นหลาน

ที่ผ่านมากว่าสองทศวรรษที่พลังงานนิวเคลียร์เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะยังเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินกว่าที่สารเหล่านี้จะแผลงฤทธิ์ให้ผู้คนได้พบเห็นด้านมืดของมัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์โดยเฉพาะชาวต่างประเทศมักเอ่ยอ้างตัวเลขของการได้รับอันตรายจากการดำรงอยู่บนโลกที่มีสภาพแวดล้อมเป็นพิษต่าง ๆ ว่าเมื่อเทียบกับอันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างหลังดูจะปลอดภัยกว่ามากทีเดียว

เหมือนกับว่าพวกเขาเหล่านั้นกำลังบอกว่าทุกวันนี้ชีวิตก็เสี่ยงพออยู่แล้ว จะมีความเสี่ยงเพิ่มอีกซักอย่างจะเป็นไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us