Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"ข้อบกพร่องของกฎหมายรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534"             
โดย รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
 


   
search resources

Logistics & Supply Chain




ประเทศไทยได้มีการค้าระหว่างประเทศ โดยทางทะเลมาเป็นเวลาช้านานแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจวบจนถึงปัจจุบัน ในอดีตเรายังไม่มีตัวบทกฎหมายที่เป็นหลักพื้นฐานในการรับขนของทางทะเล เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น ระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้ขนสินค้ามักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากกับผู้เกี่ยวข้องด้วยกันทุกฝ่าย เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยตรง

คงจะมีแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 วรรค 2 ที่บัญญัติไว้ว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"

การที่เรายังไม่มีกฎหมายเฉพาะจึงเป็นหน้าที่ของผู้ใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นทนายความ, เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือศาลที่จะหาตัวบทกฎหมายมาปรับใช้กับคดีรับขนของทางทะเลไปก่อน ซึ่งหากนำกฎหมายมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมก็คงจะไม่เป็นปัญหาอย่างใด

แต่เท่าที่ผ่านมากลับเป็นการเพิ่มปัญหามากขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจขาดความมั่นใจในการวางแผนธุรกิจ ทำให้การค้าและเศรษฐกิจของประเทศถูกกระทบกระเทือนโดยปริยาย

จนกระทั่งได้มีการร่างพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ขึ้นและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว

แต่มีปัญหาที่น่าพิจารณาก็คือ พระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับย้อนหลังไปถึงสัญญาที่ทำก่อนที่จะประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือไม่ เพราะเหตุว่า

1) ไม่มีข้อความใดในพระราชบัญญัตินี้ที่ห้ามนำมาใช้กับสัญญาที่ทำขึ้นก่อนพระราชบัญญัติรับขนของทะเล 2534 ประกาศบังคับใช้

2) พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่มีข้อความใดในบทเฉพาะกาลที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. นี้ มีผลบังคับใช้จะทำอย่างไรและจะปฏิบัติอย่างไร

3) หากเกิดกรณีดังต่อไปนี้ เช่น คู่สัญญาทำสัญญาก่อนที่พระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับ แต่เกิดกรณีพิพาทในช่วงที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือคู่สัญญาทำสัญญาก่อนพระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับแต่เมื่อจะฟ้องร้องพระราชบัญญัตินี้ได้มีผลใช้บังคับแล้ว

ดังนั้นจะใช้กฎหมายใดในการพิจารณาตัดสิน

ถ้าพิจารณาถึงในแง่ที่ว่า คู่สัญญาได้ทำสัญญาก่อนที่ พ.ร.บ. นี้จะมีผลบังคับใช้คู่สัญญาก็จะทราบถึงสิทธิและหน้าที่ในเวลาที่เริ่มทำสัญญาอย่างแน่นอน ซึ่งช่วงเวลานั้นไม่มี พ.ร.บ. นี้ออกมาใช้บังคับแต่อย่างไร

คู่สัญญาจึงยังไม่รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ผลบังคับใช้อนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นก็อาจจะขัดต่อเจตนารมณ์ในการทำสัญญาของคู่สัญญาในเวลาที่ทำสัญญากัน ซึ่งย่อมรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระยะเวลานั้นเป็นอย่างไร

ดังนั้นในระยะเริ่มแรก ที่เมื่อมีคดีความนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแล้ว ปัญหาการตีความว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้หรือไม่ จึงเป็นที่น่าขบคิด ภาระนี้คงจะต้องรอคำวินิจฉัยของผู้ใช้กฎหมายคือศาล ตีความด้วยความยุติธรรม เพราะมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ในเรื่องเดียวกัน

สิ่งที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ตามมาตรา 4 ได้บัญญัติไว้ว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังอีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร หรือจากที่แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักรมายังที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุในใบตราส่งว่าให้ใช้กฎหมายอื่นหรือกฎหมายระหว่างประเทศบังคับก็ให้เป็นไปตามนั้น

แต่แม้ว่าจะระบุไว้เช่นนั้นก็ตาม ถ้าปรากฏว่า คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยก็ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับ

ปัญหาจึงมีขึ้นว่าตามมาตรา 4 ที่บัญญัติไว้ว่าการขนส่งทางทะเลตาม พ.ร.บ. จะใช้เฉพาะการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศเท่านั้น เช่น การขนส่งจากจุดหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังอีกจุดหนึ่งในต่างประเทศ หรือจากจุดหนึ่งในต่างประเทศเข้ามายังราชอาณาจักร

แต่สำหรับการขนส่งทางทะเลภายในประเทศแล้ว จะไม่ให้ใช้ พ.ร.บ. นี้มาใช้บังคับ เว้นแต่จะตกลงกันอย่างชัดแจ้ง โดยทำเป็นหนังสือระบุในสัญญาว่าจะนำ พ.ร.บ. นี้มาใช้บังคับจึงจะนำ พ.ร.บ. นี้มาใช้บังคับได้

ซึ่งหากจะพิจารณาว่า ผู้ยกร่าง พ.ร.บ. ได้เลือกใช้เขตแดนของประเทศหรือที่เรียกว่าเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐเป็นเครื่องมือในการบ่งบอกแบ่งแยกว่า กรณีใดจะใช้ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ หรือกรณีใดที่ไม่เข้าข่ายการใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้

ซึ่งเขตอำนาจอธิปไตยนี้เองเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และรอบคอบเพราะเหตุว่าในอาณาเขตทางทะเลไม่ว่าจะเป็นทะเล อาณาเขต, เขตต่อเนื่อง, เขตเศรษฐกิจจำเพาะ การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐมีความแตกต่างกัน

และประการที่สำคัญคือ พรมแดนทางทะเลของประเทศไทยและเพื่อนบ้านมีการซ้อนทับ (OVER LAPPING AREA) ซึ่งมักจะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทกันเสมอ เช่น กรณีระหว่างประเทศไทย-เวียดนาม และกัมพูชา และประเทศไทยกับมาเลเซีย เป็นต้น

ดังนั้น การใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้จึงควรจะคำนึงถึงความเสี่ยงภัยทางทะเลเป็นเกณฑ์ มากกว่าที่จะคำนึงถึงพรมแดนทางภูมิศาสตร์ เพราะการรับขนทางทะเลไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางทะเลในประเทศ หรือการขนส่งทางทะเลหรือนอกประเทศ เมื่อเกิดภัยพิบัติก็ย่อมเป็นภัยพิบัติเหมือนกัน ควรจะได้รับการปฏิบัติด้วยกฎเกณฑ์เดียวกัน

ในกฎหมายของประเทศอังกฤษนั้น การขนส่งสินค้าไม่ว่าจากท่าเรือไปยังท่าเรือแห่งไหนก็ตาม ถือว่าเป็นการขนส่งทางทะเลทั้งสิ้น การปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งทางทะเล ไม่ว่าเป็นการขนส่งในประเทศ หรือขนส่งนอกประเทศ จึงเหมือนกัน เพราะไม่ได้คำนึงถึงพรมแดนทางภูมิศาสตร์แต่คำนึงถึงความเสี่ยงภัยทางทะเลเป็นสำคัญ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us