|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
- การแข่งของค่ายรถภายใต้ “หัวรบ” ใหม่ จะส่งให้ผู้ตามกลายเป็นผู้นำได้หรือไม่
- เชฟโรเลต – โตโยต้า – ฮุนได บุกก่อน ค่ายมาทีหลังจะรับมืออย่างไร
- “พลังงานทางเลือก” อาจจุดชนวนให้โครงสร้างการแข่งขันเปลี่ยนหมด เมื่อคนสนใจความประหยัดมากกว่าแบรนด์
- ใครออกรถป้ายแดงให้อดใจอีกนิด ปลายปีรถประหยัดพลังงานมีให้เลือกตรึม
การส่งเชฟโรเลต อิควิน็อกซ์ ฟิว เซล (Equinox Fuel Cell) และ ทาโฮ (Tahoe 2-Mode Hybrid) เข้ามาแสดงในเมืองไทย ในงานจีเอ็ม ออโต้ เทค ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม ที่ผ่านมา กับการประกาศของ ประธานคณะกรรมการบริหารจีเอ็ม มร.ริค แวกอเนอร์ ถึงการลงทุนเพิ่มอีก 455 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล สามารถใช้พลังงานไบโอดีเซล หรือก๊าซ CNG ได้ที่จังหวัดระยอง
เป็นความเคลื่อนไหวของตลาดรถยนต์ในบ้านเราที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่ารถที่เป็นพลังงานทางเลือกใหม่ๆจะเข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนเกม และเปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขันของตลาดรถยนต์บ้านเราได้มากน้อยเพียงใด
บางทีการส่งรถพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะที่เป็นก๊าซธรรมชาติ CNG (Compressed Natual Gas) หรือ NGV (Natural Gas foe Vehicle) เข้ามาอย่างเต็มพิกัดของค่ายเชฟโรเลต ทั้งในช่วงที่ผ่านมาอย่าง เชฟโรเลต ออพตร้า CNG ออพตร้า เอสเตท CNG รวมทั้งรถกระบะ เชฟโรเลต โคโลราโด CNG และในอนาคตที่กำลังจะส่งรุ่น อาวีโอ ที่มาในเวอร์ชั่นใหม่ สามารถใช้เชื้อเพลิงเอทานอล E20 และเชพโรเลต อาวีโอ E20 CNG ที่กำลังจะตามออกมาในปลายปี 2551 อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่ายนี้คว้าชัยเหนือค่ายญี่ปุ่นบางค่ายก็เป็นได้
หรือบางทีการประกาศว่าจะลุกขึ้นมาประกอบรถยนต์ไฮบริดในประเทศไทยในรถยนต์นั่งคัมรี่ ของค่ายโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คัมรี่ สามารถคว้า และรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลางเหนือ ฮอนด้า แอคคอร์ด และนิสสัน เทียน่า ชนิดไม่ต้องออกแรงมานัก เนื่องจากได้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบความประหยัดที่น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ กับกลุ่มที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม
รถยนต์รุ่นใหม่ที่บรรจุพลังงานทางเลือกเข้ามาเป็นทางเลือกในยุคที่ผู้บริโภคกังวลกับค่าน้ำมันที่แม้วันนี้จะปรับตัวลงมาเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้วก็ตาม แต่ในอนาคตไม่แน่ว่าอาจจะปรับเพิ่มสูงขึ้นไปอีกเมื่อไรก็ได้ ดังนั้น รถยนต์ประเภทนี้น่าจะเป็น “หัวรบ” ใหม่ที่จะใช้ชิงส่วนแบ่งการตลาดให้กับค่ายของตนได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
อันที่จริงรถยนต์พลังงานทางเลือก อาจไม่ใช้เรื่องใกล้ตัวอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ถ้าพูดกันเมื่อปีหรือ 2 ปีก่อน ส่วนใหญ่มองว่าค่ายผู้ผลิตรถยนต์ยังต้องพัฒนารถยนต์ประเภทนี้อีกหลายปี แม้แต่เครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์น้ำมันกับมอเตอร์ไฟฟ้า ที่กำลังขยายตัวอย่างมากในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็น่าจะต้องรอไปอีก 1-2 ปีข้างหน้า แต่เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอยู่ตลอดจากเดิมที่เคยปริโภคกันลิตรละ 20 กว่าบาทมาเป็นลิตรละกว่า 40 บาทเช่นทุกวันนี้ ทำให้ตลาดรถยนต์เมืองไทยเริ่มตื่นตัว และปรับตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าว
คาดว่าคันจริงของโวลต์คงจะมีรายละเอียดโดยรวมไม่ต่างจากคันต้นแบบที่เปิดตัวออกมาเมื่อปีที่แล้ว
โดยเฉพาะยิ่ง บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย จัดกิจกรรมโรดโชว์แสดงแสนยานุภาพของรถยนต์ที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน หรืออาศัยน้ำมันสำหรับเป็นตัวขับเคลื่อนน้อยมาก ก็ยิ่งทำให้ผู้ใช้รถยนต์เมืองไทย รู้ถึงกระแส และทิศทางของการพัฒนารถยนต์พลังงานทางเลือกที่มากกว่า การนำรถไปติดตั้งก๊าซ NGV หรือ LPG
ต้นปีหน้าโตโยต้าส่งคัมรี่ไฮบริดนำร่อง
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะเริ่มสายการผลิตรถยนต์รุ่น คัมรี่ไฮบริด ออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้ และเป็นรถเครื่องยนต์ไฮบริดรุ่นแรกที่ถูกนำมาผลิตและประกอบในประเทศไทย รวมถึงเป็นการนำร่องและทดลองตลาดไฮบริด ในประเทศไทย ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่รถยนต์ไฮบริดรุ่นอื่นๆ
คัมรีไฮบริด ที่จะเปิดตัวปลายปีนี้ จะเป็นเครื่องยนต์ไฮบริด เจนเนอเรชั่นที่ 2 ของโตโยต้า โดยใช้โรงงานเกตเวย์ เป็นสถานที่ประกอบ เครื่องยนต์เป็นการทำงานร่วมกันของเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 ลิตร 4 สูบ DOCH 147 แรงม้า กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังสูงสุด 105 กิโลวัตต์ ขนาด 650 โวลต์ ใช้แบตเตอรี่แบบนิกเกิล เมทัล ไฮไดร(Ni-MH) เครื่องยนต์ไฮบริดตัวนี้โตโยต้าระบุว่าให้สมรรถนะ และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอยู่ที่ประมาณ 5.2 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตรหรือราวๆ 19.2 กิโลเมตรต่อลิตร
ตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองขนาดนี้ คงหาที่ไหนไม่ได้กับรถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร ถ้าไม่ใช่เครื่องยนต์ลูกผสม แบบไฮบริดเช่นนี้
อย่างไรก็ดี คัมรีไฮบริด คงไม่ใช่รถยนต์ไฮบริดรุ่นแรกที่เข้ามาทำตลาด เพราะก่อนหน้านี้ 1-2 ปี บริษัทผู้นำเข้ารถยนต์อิสระหรือเกรย์มาร์เก็ต หลายๆ ราย ต่างนำรถยนต์โตโยต้าไฮบริด หลายรุ่น หลายเซ็กเมนท์เข้ามาทำตลาดก่อนแล้ว ทั้งโตโยต้า อัลพาร์ด ไฮบริด, โตโยต้า เอสติม่า ไฮบริด, โตโยต้า แฮริเออร์ไฮบริด และโตโยต้า พรีอุส รถยนต์ไฮบริดที่ทำยอดขายสูงสุดในสหรัฐอเมริกา
แต่เนื่องจากทั้งหมดถูกนำเข้าโดยเกรย์มาร์เก็ต ทำให้รถยนต์ประเภทนี้มีปัญหาในเรื่องการบำรุงรักษา โดยเฉพาะแบตเตอรี่ สำหรับเก็บไปสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้านั้น ค่อนข้างมีราคาสูง นอกจากต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงแล้ว ที่ผ่านมาแบตเตอรี่ของเครื่องยนต์ไฮบริดก็อยู่สภาวะขาดตลาด ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องทำการร่วมทุนกับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าของเครื่องยนต์ไฮบริด ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้โตโยต้า มอเตอร์ประเทศญี่ปุ่นก็ร่วมมือกับบริษัท มัตซึชิตะ เจ้าของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่นสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าว เพื่อสามารถรองรับความต้องการของตลาดรถยนต์ไฮบริดในอนาคตอันใกล้ได้
ดังนั้นการเข้ามาทำตลาดของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย น่าจะช่วยให้ตลาดรถยนต์ไฮบริดขยายตัวได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความมั่นใจในเรื่องบริการหลังการขาย
ที่สำคัญคือ การลงทุนเปิดสายการผลิตรถยนต์ไฮบริด ในประเทศของโตโยต้า ครั้งนี้ ย่อมมีผลต่อทิศทางการแข่งขันในธุรกิจยนต์ของเมืองไทยหลังจากนี้ เนื่องจากในตลาดระดับโลกแล้ว ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่เริ่มเบนเข็มการพัฒนาเครื่องยนต์ไฮบริดกันมากขั้น ทั้งนิสสัน, มาสด้า, ฟอร์ด และจีเอ็ม เป็นต้น
สำหรับการเปิดทศวรรษใหม่ของกลุ่มจีเอ็ม และจีเอ็มประเทศไทยภายใต้แนวคิดใหม่ GM next พร้อมกับการจัดกิจกรรมแสดงรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่นั้น มีบางส่วนที่ผลิตและวางตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเครื่องยนต์ไฮบริด เนื่องจากรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยมาก เครื่องยนต์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 5000 ซีซี.ถึง 6000 ซีซี. ขึ้นไป ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันทะยานขึ้นไม่หยุดทั่วทั้งโลก ก็ทำให้ตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคเริ่มหันไปหารถที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กลง รวมถึงเครื่องยนต์ไฮบริด เพื่อความประหยัด
จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ โตโยต้า มอเตอร์ สามารถเจาะตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น และยอดขายก็มีแนวโน้มจะแซงค่ายรถยนต์ของอเมริกาเอง
ส่งผลกระทบถึง กลุ่มจีเอ็ม ต้องมีการปรับแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า GM next โดยอาศัยเรื่องของการดำเนินกิจการยาวนานถึง 100 ปีเต็มในปีนี้เป็นจุดเปลี่ยน โดยพุ่งเป้าไปที่การวิจัย และพัฒนารถยนต์พลังงานทางเลือก ที่ให้ทั้งความประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ดี การนำรถยนต์แห่งอนาคตรุ่นใหม่มาแสดงนั้นก็เพื่อแสดงให้ตลาดรถยนต์เมืองไทย มองเห็นทิศทางการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ เช่นรถยนต์ แซเทิร์น วิว กรีนไลน์ ไฮบริด (Saturn Vue Greenline Hybrid) รถเอนกประสงค์ เครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์ใช้น้ำมัน และมอเตอร์ไฟฟ้า ที่จะเปิดตัวเชิงพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาในปี 2009 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า, เชฟโรเลต ทาโฮ (Chevrolet Tahoe) เป็นรถเอนกประสงค์เอสยูวี ไฮบริดขนาดใหญ่ และอิควิน๊อก รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน
คาดการณ์กันว่า การเริ่มบุกเบิกตลาดรถยนต์ไฮบริดของโตโยต้า จะเป็นแรงกระตุ้นให้ค่ายรถอื่นๆ หันมาสนใจผลิต ทำตลาดรวมถึงส่งออกรถยนต์ไฮบริดมากขึ้น รวมถึงเชฟโรเลตของกลุ่มจีเอ็ม ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการวางแผนสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะสิ่งที่จีเอ็มจะต้องทำคือ การพัฒนารถยนต์ไฮบริด ต้นทุนต่ำ และมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่น
ส่วนค่ายรถยนต์อื่นๆ นั้น ดูเหมือนว่า เวลานี้ฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทย คงต้องทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ไฮบริด ที่ผ่านมาฮอนด้า เองก็มีการส่งรถยนต์ซีวิค รุ่นเครื่องยนต์ไฮบริด เข้ามาทดลองใช้งาน และทำตลาด แต่เป็นการทำตลาดแบบเช่าใช้หน่วยงานราชการ ที่ผ่านมาฮอนด้าเองอาจไม่พอใจกับผลการทดลองในครั้งนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอยู่ในช่วงที่ราคาน้ำมันถูก ทำให้มีตลาดในกลุ่มทดลอง หรือเช่าใช้นั้นมองไม่เห็นความประหยัดมากนัก
ขณะที่ในรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค รุ่นใหม่ ฮอนด้าเองก็นำรถยนต์รุ่นไฮบริดเข้ามาทดลองใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากใน 1-2 ปีข้างหน้า ฮอนด้าจะมีแผนพัฒนาและผลิตรถยนต์ไฮบริดในประเทศไทยก็คงไม่แปลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องรอให้โครงการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ หรือรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานที่ลงทุนไปกว่า 5,000 ล้านบาท เริ่มทำและขยายตลาดเสียก่อน
ส่วนค่ายรถอื่นๆ นั้น ในเวลานี้คงยากที่จะประเมินว่าใครจะเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ไฮบริดในประเทศไทย เพราะหลายๆ ค่ายรถยนต์ก็มีโรงงานผลิตรถยนต์หลายๆ โรงงานในทวีปเอเชีย หรือแม้แต่ประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงนโยบายการให้การสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าตลาดรถยนต์ไฮบริดในไทยจะขยายตัวมากเพียงไร ก็คงต้องรอดูผลงานของโตโยต้า ที่จะผลักดันคัมรี ไฮบริดเข้าสู่ตลาดช่วงต้นปี 2552 เพราะหากตลาดให้การยอมรับ แต่ละค่ายก็คงไม่ยอมสูญเสียโอกาสของตลาดกลุ่มนี้ไป โดยเฉพาะจีเอ็มประเทศไทยที่กำลังประกาศว่าทศวรรษหน้า นั้นจะก้าวสู่รถยนต์พลังงานทางเลือก
TH!NK รถยนต์พลังไฟฟ้าของนอรเวย์ก็ยังมีขายอยู่ในตลาด และได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง
อีโคคาร์พระเอกคั่นเวลา
หากเราส่วนใหญ่มองว่ากว่าจะไปถึงเวลานี้ อาจนานเกินรอ ดังนั้นแล้วตลาดรถยนต์ไทยก็ยังมีรถยนต์ในโครงการอีโคคาร์ ซึ่งมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายๆ รายโดยเฉพาะ โตโยต้า, ฮอนด้า และมิตซูบิชิเข้าร่วมเป็นต้น และโครงการนี้ จะเริ่มมีรถยนต์ที่ออกจากสายผลิตราวปลายปี 2552
รถยนต์อีโคคาร์นี้ แม้จะไม่ใช่เทคโนโลยี เครื่องยนต์ไฮบริด แต่ก็ให้ความประหยัดสูง เนื่องจากรัฐบาลมีการกำหนดสเปคเครื่องยนต์ให้สามารถวิ่งในอัตราสิ้นเปลืองที่ต่ำกว่า 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือ 20 กิโลเมตรต่อลิตร และรถอีโคคาร์ก็จะมีราคาไม่สูงมากนัก ราคาจะอยู่ระหว่าง 350,000-400,000 บาท แต่จุดอ่อนของรถประเภทนี้คือ เป็นรถยนต์ขนาดเล็กไปสักหน่อย
เพราะฉะนั้นหากต้องการใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้น ก็หนีไม่พ้นรถยนต์ทั่วไปที่ทำตลาดอยู่ในเวลานี้
อย่างไรก็ดีนอกจากรถอีโคคาร์แล้ว ยังมีรถยนต์ประเภทซิตี้คาร์ที่ให้ความประหยัดสูงอีก 2 รุ่นที่จะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คือ ฟอร์ด เพียสต้า และมาสด้า 2 ซึ่งเป็นตัวคันเวลาอีกตัวหนึ่งก่อนที่จะได้พบ กับรถยนต์พลังงานทางเลือกในอนาคตอันใกล้ รถทั้งสองรุ่นจะออกจากสายการผลิตเดียวกันคือ โรงงานออโตั อลิแอนซ์ โดยทั้งสองจะใช้โครงสร้างหลักร่วมกัน
ฟอร์ดระบุว่า สำหรับฟอร์ดเฟียสต้านั้น เป็นรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุด โดยในต่างประเทศนั้นเพิ่มเริ่มออกจากสายการผลิตในยุโรป ไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
E85 มาแรงแซงแบบไม่ตั้งตัว
สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน E85 นั้น แม้จะมีข่าวคราวมาก่อนหน้านี้ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังสับสนงุนงง เพราะไทย โดยเฉพาะ บริษัท ปตท. พึ่งเริ่มให้บริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ไปเมื่อไม่นานมานี้ มาวันนี้ ปตท. จำกัด(มหาชน) ก็เริ่มทำประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเปิดให้บริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ในปลายเดือนสิงหาคมนี้ แต่เป็นการเริ่มทดลอง
ที่ทำให้สับสน และกังวลกับ ผู้ใช้รถยนต์ตอนนี้คือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 มีอยู่กี่รุ่นกี่ยี่ห้อ และในอนาคตสถานีบริการน้ำมันจะเปลี่ยนมาขายน้ำมัน E85 กันหมดหรือไม่ แล้วรถยนต์รุ่นเก่าๆ ที่ใช้งานกันอยู่จะเป็นอย่างไร เพราะตามข้อเท็จจริงแล้ว รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ต้องเป็นรถที่มีการผลิตขึ้นมารองรับน้ำมันชนิดนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของ เอทานอลสูงมาก
ปัจจุบันมีรถยนต์เพียง 2 ยี่ห้อที่ประกาศจะทำตลาดในประเทศไทยคือ วอลโว่ รุ่น C30 รถยนต์แบบแฮชท์แบ็ก 3 ประตู่ในเซกเมนท์รถยนต์ระดับหรู ซึ่งมีราคาค่าตัวสูงถึงกว่า 2 ล้านบาท และฟอร์ด ประเทศไทย ที่มีแผนจะขายรถยนต์ ฟอร์โฟกัส ที่ใช้น้ำมัน E85 ในช่วงนี้
ทำให้ตลาดรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน E85 ดูจะไม่คึกคักสักเท่าไร เพราะค่ายรถยนต์ใหญ่ โดยเฉพาะโตโยต้า หรือฮอนด้า แสดงตัวชัดเจนว่ายังไม่สนใจจะผลิตและขายรถยนต์ E85 อีกทั้งรถยนต์ประเภทนี้จะมีอัตราสิ้นเปลืองสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินทั่วไปถึง 30%
หากใครคิดจะทดลอง นำมาใช้งานก็สามารถเติมน้ำมัน E85 ได้ จากสถานีบริการน้ำมัน ปตท. แต่ก็จะมีให้บริการเพียงไม่กี่ห่ง
หน้าตาของเชฟโรเลต โวลต์รุ่นจำหน่ายจริงที่จะเปิดตัวปลายปี 2009 ซึ่งทางจีเอ็มนำออกมาเปิดเผยบางส่วน
รถติดก๊าซทางออกสำหรับประหยัดค่าน้ำมัน
ไม่ว่าจะเป็นไฮบริด หรือแก๊สโซฮอล์ E85 ย่อมต้องใช้เวลาใช้เวลาเตรียมการพอสมควร แต่สิ่งที่ทำได้ง่าย และรวดเร็วที่สุด ในเวลานี้คือนำรถยนต์ไปติดตั้งระบบก๊าซไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV เพื่อลดภาระค่าน้ำมัน กระทั้งรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีความประหยัดน้ำมันสูงยิ่งขึ้น หรือบางค่ายก็หันไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV ให้กับลูกค้าเอง
โดยโตโยต้า ได้เตรียมเปิดตัว โตโยต้า ลิโม่ ติดตั้ง NGV ในอีก 1-2 เดือนนี้ รถรุ่นนี้เป็นโมเดลเดียวกับโตโยต้า อัลติส แต่ตัดอุปกรณ์บางอย่างออก เพื่อให้ราคาต่ำลง พร้อมกับติดตั้งระบบก๊าซ NGV ออกจากโรงงาน ซึ่งปกติรถรุ่นนี้จะเป็นรถผลิตเพื่อให้นำไปใช้เป็นรถโดยสารสาธารณะหรือแท็กซี่ และปกติก่อนนำไปให้บริการเจ้าของรถส่วนใหญ่จะนำไปติดตั้งระบบก๊าซ ทั้ง LPG และ NGV กันเอง
ขณะที่ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย เจ้าของแบรนด์เชฟโรเลต หลังจากเริ่มยุทธ์ศาสตร์ใหม่ในชื่อ GM next ก็เริ่มขยับเข้าสู่รถยนต์พลังงานทางเลือกเต็มรูปแบบ ด้วยการเตรียมส่ง เชฟโรเลต อาวีโอ CNG รถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์ เครื่องยนต์ 1400 ซีซี.ติดตั้งก๊าซ CNG หรือ NGV ออกจากสายการผลิตในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
Nice รถยนต์พลังไฟฟ้าจากเมืองจีนที่นำมาเปิดตลาดในบริติช อินเตอร์เนชัน มอเตอร์โชว์ 2008 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้มีการบุกเบิกตลาด NGV ด้วยรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เชฟโรเลตออพ ตร้า CNG และออพตร้า เอสเตท CNG รวมถึงปิกอัพ โคโลราโด CNG รถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ที่ทำงานร่วมกับระบบก๊าซ NGV ทำให้เชฟโรเลต เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีรถรุ่น CNG มากที่สุด และเกือบครบทุกรุ่นที่ทำตลาด
โดยเฉพาะโคโลราโด CNG นั้นปัจจุบันเป็นแบบ ดูอัลฟิว (Dual Fuel) ที่ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงแบบผสม ระหว่าง ก๊าซ CNG กับ น้ำมันดีเซล ในสัดส่วน 65:35 คือ ฉีดก๊าซ CNG 65% และจ่ายน้ำมันดีเซล 35% เป็นการใช้เชื้อเพลิง 2 ชนิดร่วมกัน และมีเพียงรุ่นปิกอัพตอนเดียว เหมาะสำหรับใช้งานบรรทุกเป็นหลัก แต่ในอนาคตอันโกล้ เชพโรเลตจะมีการเพิ่มรุ่น CNG กับโคโลราโด รุ่นอื่นๆ ทั้งแค็ป และดับเบิลแค็ป
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่ากางพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ที่สามารถใช้ก๊าซ NGV ได้ 100% ซึ่งเชฟโรเลตยังไม่เปิดเผยว่า การพัฒนาจะสิ้นสุด และเริ่มผลิตออกมาจำหน่ายเมื่อใด แต่ก็คาดว่า แผนการนี้คงต้องรออีกราว 2 ปี หรือปี 2553 ช่วงที่โรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลแห่งใหม่ของเชฟโรเลต เริ่มเดินสายการผลิต
อนาคตยานยนต์โลกไร้น้ำมัน
ในขณะที่หลายๆ คนกำลังสนอกสนใจกับรถยนต์พลังงานทางเลือกทั้งรถยนต์ไฮบริด รถยนต์ที่เติมก๊าซไฮโดรเจน หรือรถยนต์ที่วิ่งด้วยพลังานจากชีวภาพ แต่ในอีกมุมมองหนึ่งของบริษัทรถยนต์ก็กำลังขมักเขม้นกับการเข็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า สำหรับขับเคลื่อน แทนน้ำมันให้ได้ 100% หรือ เกือบ 100%
แนวโน้มของรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้น มีด้วยการ 3 รูปแบบด้วยกันคือ รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ร่วมกับเครื่องยนต์ หรือที่เรียกว่าไฮบริดนั่นเอง แต่ที่เจ๋งกว่าคือ รูปแบบต่อมา เป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจากการชาร์ตไฟฟ้าจากปลั๊กในบ้าน และรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กติดตั้งอยู่ แต่มันจะมีหน้านที่เพียงแค่ปั่นกระแสไฟ เข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนต่อไป
การกลับมาอีกครั้งของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
แม้จะมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน แต่ดูเหมือนว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่รับกระแสฟ้ามาจากแบตเตอรี่จะยังไม่ตายเสียทีเดียว หลังจากที่จีเอ็ม หรือเจนเนอรัล มอเตอร์ส ชักปลั๊กเมื่อปลายทศวรรษที่ 1990 โดยไม่เดินเครื่องผลิต EV1 รถยนต์พลังไฟฟ้าในสายการผลิตของตัวเองต่อไป
ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเดิมๆ คือ ราคาและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่ทั้งแพงและชาร์จไฟนาน แถมถ้าไฟเกลี้ยงแบตฯ รถยนต์ก็กลายเป็นเศษเหล็กดีๆ นี่เอง เพราะไปไหนต่อไม่ได้จนกว่าจะชาร์จไฟด้วยเวลา 8 ชั่วโมงจนเต็มแบตเตอรี่
แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ข้อจำกัดเหล่านี้ถูกลดทอนให้มีความรุนแรงน้อยลง เพราะถึงอย่างไรรถยนต์ไฟฟ้าก็ยังต้องชาร์จแบตเตอรี่อยู่ดี เพียงแต่ใช้เวลาน้อยลงถึงเกือบครึ่ง โดยเหลือประมาณ 3-4 ชั่วโมงด้วยแบตเตอรี่ยุคใหม่แบบลิเธียม-ไออนเหมือนกับที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คและโทรศัพท์มือถือ และแน่นอนว่าราคาของแบตเตอรี่ก็ถูกลง แม้จะยังไม่ถึงกับถูกจนน่าเชื่อ แต่ก็ถูกลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ยุคก่อนๆ
สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่ให้ความสนใจกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังเห็นจะเป็นนิสสันกับพันธมิตรอย่างเรโนลต์ในการคลอดโปรเจ็กต์ที่เรียกว่า Better Place กับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกขายในบางประเทศที่สนใจ และที่มีขายแล้วคือ อิสราเอล และเดนมาร์ก ส่วนโปรตุเกสเพิ่งลงนามกัน และจะเริ่มในปีหน้า ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้จะร่วมมือในการสร้างระบบสาธารณูปโภคออกมารองรับกับการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งนั่นคือ การสร้างแท่นชาร์จสาธารณะ รวมถึงการลดหย่อนภาษีสำหรับรถยนต์ประเภทนี้
นอกจากนั้น ทางนิสสันเองก็ประกาศว่าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่แกะกล่องออกมาขายในตลาดแบบ Mass Production ในปี 2010 ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันเป็นของใหม่ที่ไม่ได้พัฒนามาจากรถยนต์รุ่นใดรุ่นหนึ่งของตัวเองที่มีขายในตลาด และนี่ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากการร่วมมือกับ NEC ในการพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ซึ่งแบตเตอรี่รุ่นนี้จะถูกนำมาใช้ต่อยอดสำหรับรถยนต์ปลอดมลพิษทั้งหลาย เช่น ไฮบริด และเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell ที่จะเปิดตัวในอนาคต
ส่วนผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นที่สนใจเจาะตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นรายย่อย เช่น TH!NK แห่งนอรเวย์ ซึ่งในอดีตเคยอยู่ในเครือฟอร์ด หรือแม้แต่จีนอย่างค่าย NICE ที่เพิ่งนำรถพลังไฟฟ้าของตัวเองไปเปิดตัวในงานบริติช อินเตอร์เนชัน มอเตอร์โชว์ 2008 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทางเลือกใหม่ของการขับเคลื่อน
ด้วยเหตุที่รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell ยังเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์ เพราะข้อจำกัดหลายอย่างทั้งราคาของเทคโนโลยีและความแพร่หลายของไฮโดรเจนที่จะใช้เติม นั่นก็เลยทำให้หลายค่ายพยายามมองหาทางออกในการพัฒนารถยนต์ทางเลือกใหม่ออกมารองรับกับความต้องการของลูกค้าก่อนที่โลกยานยนต์จะก้าวเข้าสู่ยุคของรถยนต์ปลอดมลพิษอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีที่น่าสนใจและทางจีเอ็มถือเป็นผู้นำที่จะบุกเบิกตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า คือ โวลต์ ซึ่งความแปลกของรถยนต์รุ่นนี้คือ การสลับแนวทางของรถยนต์ไฮบริดเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยตามปกติแล้ว เราจะทราบกันว่ารถยนต์ไฮบริด จะมีมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ช่วยในการขับเคลื่อน (บางครั้ง) และชาร์จกระแสไฟฟ้าเมื่อมีการเบรกหรือถอนคันเร่ง โดยหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนยังเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน
แต่สำหรับโวลต์สิ่งที่ต่างไป คือ การใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดเล็กรับหน้าที่ในการปั่นกระ แสไฟฟ้า เพื่อผลิตส่งให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน ซึ่งจริงอยู่ที่ว่ารถยนต์ประเภทนี้อาจจะไม่ใช่รถยนต์ปลอดมลพิษในแบบ ZEV หรือ Zero-Emission Vehicle แต่ก็ถือว่าเป็นการดัดแปลงไอเดียที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะทำให้ข้อจำกัดในเรื่องระยะทางการแล่นของรถยนต์ไฟฟ้าแบบเดิมๆ ที่ขึ้นอยู่กับจำนวนของกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่หมดไป อันเนื่องมาจากมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กคอยปั่นกระแสไฟฟ้าให้ ถ้าน้ำมันหมดก็แวะปั๊มเติมได้
ที่พิเศษกว่านั้น คือ การออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยตัวรถสามารถเสียบปลั๊กเข้ากับบ้านเรือนเพื่อชาร์จไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่เมื่อไม่มีการใช้รถได้ ซึ่งเมื่อต้องการใช้งาน ในช่วงแรกของการเดินทาง หากมีระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร ระบบก็จะอาศัยแต่กระแสไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวในการส่งให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน เมื่อถึงบ้านหรือที่ทำงานก็เสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ แต่ถ้าแล่นเกินระยะจากนี้ เครื่องยนต์ก็จะทำงานเพื่อชาร์จกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เข้ามาชดเชยที่เสียไป
นั่นเท่ากับว่า ถ้าในแต่ละวันของการใช้รถยนต์มีระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร ก็เรียกว่าเครื่องยนต์แทบไม่ต้องถูกสตาร์ทขึ้นมาเพื่อชาร์จไฟฟ้าเข้ามาเก็บ และทำให้โวลต์ขับเคลื่อนแบบไร้มลพิษอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะเกิดขึ้นสำหรับโวลต์หากมีการผลิตออกมาขาย คือ ราคาค่าตัวที่อาจจะแพงกว่ารถยนต์ทั่วไปหลายเท่า และถ้าภาครัฐไม่มีการอุดหนุนเรื่องภาษีก็อาจทำให้คนไม่สนใจ และเป็นเรื่องยากที่จะได้รับความนิยมในตลาด
และอีกเรื่อง คือ การเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวขายเป็นครั้งแรกของโลก....ตรงนี้ก็น่าสนใจ เพราะถ้าเกิดใช้แล้วดีก็รอดไป และถ้าใช้ไปแล้วมีปัญหาทั้งแบบจุกจิก ใช้ไปซ่อมไป หรือมีปัญหารุนแรงขนาดหนัก โอกาสร่วงก็มีสูง จีเอ็มต้องแบกความเสี่ยงตรงนี้เอาไว้ในฐานะผู้บุกเบิกเทคโนโลยี
|
|
 |
|
|