Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2551
คนไทยหนี้ภาคครัวเรือนพุ่ง1.3แสนบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

   
search resources

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Economics




คนไทยหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนเป็นหนี้ 1.35 แสนบาท เพิ่มขึ้น 15.84% เหตุรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทำให้ต้องกู้ยืมนอกระบบ เผยคนรายได้ต่ำกว่าเดือนละหมื่นบาทส่อแววมีปัญหามากสุด เพราะไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ อาจส่งผลกระทบต่อปัญหา NPL แบงก์ที่อาจถูกชักดาบ จี้รัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดเงินลงรากหญ้า

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน ปี 2551 ว่า คนไทยมีการก่อหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสถิติเดือนส.ค.2551 คนไทยมีหนี้สินต่อครัวเรือน 135,166 บาท เพิ่มขึ้น 15.84% จากปีก่อนที่มี 116,681 บาท ทำให้ขนาดหนี้สินครัวเรือนโดยรวมเพิ่มขึ้น 16.55% มีมูลค่ารวม 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี

สาเหตุที่คนไทยมีสัดส่วนการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย เพราะค่าครองชีพเพิ่ม 75.3% ดอกเบี้ยสูง 17.2% น้ำมันแพงขึ้น 4.6% ทำให้คนส่วนมากต้องหาทางออกด้วยการกู้เงินแทน โดยเฉพาะการพึ่งเงินนอกระบบที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 35% สูงกว่าปี 2550 ที่มี 32.2% และปี 2549 ที่ 26.1% สวนทางกับหนี้ในระบบที่ลดลงจากปี 2549 มี 73.9% เหลือ 67.8% ในปี 2550 และปีนี้ 65% ตามลำดับ โดยวัตถุประสงค์การกู้ยืม เพื่อใช้จ่ายประจำวัน 36.81% ยานพาหนะ 26.89% ที่อยู่อาศัย 7.71% ค่ารักษาพยาบาล 14.93% และลงทุน 13.81%

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ประชาชน 56.50% ระบุว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ มีเพียง 10.79% เท่านั้นที่มีรายได้สูงกว่าหนี้ ขณะที่รายได้และหนี้เพิ่มเท่ากันที่ 32.71% ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถชำระหนี้ และอาจทำให้ธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 10,000-20,000 บาทที่ยอมรับว่ามีปัญหาการผ่อนส่งเกิน 80% ขณะที่รายได้ 20,001-50,000 บาท มีปัญหาชำระหนี้ 59-69% รายได้ 50,001-90,000 บาท มีปัญหา 56.70% และสูงกว่า 90,001 บาท มีปัญหา 40.10%

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหารุนแรง จนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเมื่อเทียบกับจีดีพีแล้ว จะมีสัดส่วน 25.97% เป็นระดับที่ภาครัฐบริหารได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวคือกลายปัญหาระดับบุคคล โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำ ที่จะลุกลามต่อความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคต และทำให้บรรยากาศการบริโภคภายในซบเซาต่อไป แม้ตัวเลขจีดีพีปีนี้จะโต 5.5% แต่ไม่ช่วยให้คนระดับล่างมีรายได้เพิ่ม เพราะรายได้หลักจะตกอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ดังนั้น ภาครัฐต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และกระจายงานลงสู่รากหญ้ามากขึ้น ผ่านโครงการเมกกะโปรเจคท์ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการใช้จ่ายครัวเรือนในอนาคตมีแนวโน้มลดลงอีก เพราะกว่า 60% ระบุว่าของแพงทำให้ต้องประหยัด และไม่ต้องการกู้ยืมเพิ่มแล้ว เพราะตอนนี้กู้เต็มพิกัดแล้ว นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่กังวลปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ และหนี้สาธารณะของประเทศ แต่ไม่ได้กลัวปัญหาหนี้ครัวเรือน ส่วนความเห็นต่อนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐ มีมากกว่า 60% ระบุว่าพอใจมาก และได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะช่วยลดรายจ่าย ในช่วงค่าครองชีพที่สูง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us