Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"รอยเตอร์ปะทะเทเลอเรท เสือพบสิงห์ในธุรกิจข้อมูล"             
 


   
search resources

เทเลอเรท (ประเทศไทย)
ทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์
News & Media
รอยเตอร์ (ประเทศไทย), บจก.




เทคโนโลยีได้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่มิอาจไม่มีไปแล้วในโลกของการสื่อสารอุปกรณ์เครื่องมือที่ไฮเทครุ่นแล้วรุ่นเล่าถูกทยอยตัวเข้ามาเพื่อสร้างความรวดเร็วฉับไวของข่าวสารข้อมูล

ยิ่งในแขนงแห่งบริการข่าวสารข้อมูลในระดับอินเตอร์เนชั่นแนลด้วยแล้ว ความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วในการรับส่งข่าวสารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุด

เทเลอเรทและรอยเตอร์เป็น 2 สำนักข่าวที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในเรื่องของการบริการข้อมูลข่าวสาร โดยสถานภาพแล้วทั้ง 2 มีฐานะเป็นคู่แข่งทางการค้ากันมาตลอด

ข้อมูลของเทเลอเรท (ประเทศไทย) จะถูกส่งจากนิวยอร์กมาที่โตเกียว ฮ่องกง และสิงคโปร์ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ในเอเชียโดยดาวเทียม แต่จากสิงคโปร์มากรุงเทพนั้นจะส่งได้ 2 ทางคือโดยดาวเทียมและเคเบิลใต้น้ำ

และจากสำนักงานเทเลอเรทที่ตึกชาญอิสสระ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังลูกค้าโดย 2 วิธีคือ ผ่านคู่สายโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์ (Leased line) และดาต้าเนท (DATANET) และมีส่วนที่ยังเป็นโครงการในอนาคตอยู่ก็คือการส่งผ่านทางดาวเทียม

ส่วนทางบริการของรอยเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากนิวยอร์ก โตเกียว มาสิงคโปร์และกรุงเทพฯ โดยใช้ดาวเทียมเช่นเดียวกัน เพียงแต่การส่งผ่านข้อมูลจากสำนักงานที่อาคารมณียา ถนนเพลินจิตไปยังลูกค้าจะผ่านทางสายโทรศัพท์เพียงวิธีเดียวเท่านั้น

จุดที่น่าสนใจของการแข่งขันในเรื่องเทคนิคระบบการรับส่งข้อมูลของทั้ง 2 บริษัทก็คือระบบการรับข้อมูลของลูกค้า

เพราะลูกค้าของทั้งสองบริษัทล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ 28 แห่ง บริษัทการค้า โดยมีบริษัทค้าพืชผลทางการเกษตร กับบริษัทน้ำมันอย่างไทยออยล์ กับคาลเท็กซ์รวมอยู่ด้วย

ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย สภาพตลาดหุ้น ตลาดทอง พลังงาน ฯลฯ จะต้องถูกนำเสนอในลักษณะวินาทีต่อวินาที (Real-time) และที่มากไปกว่านั้นก็คือเครื่องรับ (terminal) หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ก็จะต้องสามารถทำงานได้ทั้งวันทั้งคืนหยุดไม่ได้

ทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ เทเลอเรท พูดถึงเกณฑ์การตัดสินใจของลูกค้าในปัจจุบันว่าลูกค้าจะพิจารณาถึงตัวข้อมูลเป็นอันดับแรก แล้วก็จะมาดูในเรื่องของระบบว่าสามารถรองรับงานได้มีประสิทธิภาพเพียงใด มีความยุ่งยากในการใช้งานหรือไม่ และท้ายสุดก็คือมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหากจะมีการพัฒนาระบบในอนาคต

นี่เป็นเหตุผลที่ว่านับแต่นี้ไปบริษัทบริการข้อมูล มิอาจให้ความสำคัญแก่ตัวข้อมูลเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีได้กลายเป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งในการตัดสินใจของลูกค้า แนวรุกด้านเทคโนโลยีชั้นสูงในการให้บริการจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้น้ำหนักความสำคัญ

ทั้งเทเลอเรทและรอยเตอร์ต่างยอมรับในข้อนี้

เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างถึงความมีประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ว่าได้มีการพัฒนา (up-grade) อยู่ตลอดเวลา

ทั้งสองค่ายเรียกเครื่องรับหรือฮาร์ดแวร์ที่ลูกค้าใช้ดูข้อมูลเป็นโปรดักส์ชื่อต่าง ๆ โดยแต่ละโปรดักส์จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเฉพาะตัว (Features)

อย่างที่ค่ายเทเลอเรทโปรดักส์หลัก ๆ จะได้แก่ หนึ่ง เบสิก เทเลอเรท (Basic Telerate) ซึ่งจะเสนอข้อมูลในรูปของตัวอักษรล้วน ๆ สองเทเลอแทรก (Teletrac) จะเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ สาม แมทริกซ์ (Matrix) สามารถแสดงข้อมูลได้ทั้งรูปของตัวอักษรล้วน ๆ และเป็นกราฟ สี่ แทกทิเชียน (Tactician) เป็นการวิเคราะห์ข่าวแต่เพียงอย่างเดียว และล่าสุดก็คือเอดับบลิวเอส (AWS:Advance Workstation System) ซึ่งรวมเอาคุณสมบัติที่เด่น ๆ ของโปรดักส์ทุกตัวไว้เข้าด้วยกัน

นอกจากนั้นหากลูกค้าเป็นลูกค้าของทั้งรอยเตอร์และเทเลอเรทในเวลาเดียวกันก็สามารถใช้เอดับบลิวเอสดึง (feed) เอาข้อมูลของรอยเตอร์ให้มาปรากฏบนจอเดียวกันได้

ส่วนโปรดักส์ทางค่ายรอยเตอร์ ก็มีคุณสมบัติที่ไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากเออาร์ที (Advance Reuter) ซึ่งแสดงข้อมูลในรูปของตัวอักษรล้วน ๆ ที่ต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถแสดงข้อมูลได้เพิ่มเติมในรูปของกราฟ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบได้ตามความต้องการ

อาร์ที (Reuters) เป็นระบบที่ใช้ดึงข้อมูลของรอยเตอร์ให้ไปปรากฏบนเครื่องรับที่ลูกค้าต้องการ, ดีลลิง (Dealing)เป็นโปรดักส์ที่ใช้สำหรับแบงก์ในต่างประเทศโดยตรง และล่าสุดบีอาร์ที (Boardcast Reuters) จะเป็นโปรดักส์ที่ใช้รับข้อมูลจากดาวเทียมเท่านั้น

โปรดักส์ดังกล่าวนี้ ทั้ง 2 ค่ายต่างก็ให้ความมั่นใจในประสิทธิภาพที่เหนือกว่าอีกฝ่าย แต่หากมองด้วยสายตาที่เป็นคนนอกแล้ว จะเห็นได้ว่าโปรดักส์ล่าสุดของเทเลอเรทจะมีประสิทธิภาพที่สูงมาก ซึ่งจุดนี้ฝ่ายเทคนิคของรอยเตอร์เองก็ยอมรับแต่ทั้งนิ้มิได้หมายความว่ารอยเตอร์จะไม่มีในสิ่งที่เทเลอเรทมี เพียงแต่ควอนตัม (Quantum) ที่รอยเตอร์มีเป็นระบบที่มีคุณสมบัติมากมายจนกลายเป็นระบบที่ใหญ่เกินไป จึงไม่ถูกสั่งเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามี 2 สัญญาการซื้อขายที่ไม่ควรมองข้ามในการนำมาประกอบการพิจารณาถึงขีดระดับความสำคัญแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารในวันนี้ก็คือ หนึ่ง เมื่อกลางปี 34 แบงก์ชาติซื้อระบบเอดับบลิวเอสจากเทเลอเรท เพื่อนำมาใช้ในห้องค้าเงินตราต่างประเทศ (Trading Room) และ สอง ได้มีการซื้อขายระบบเดียวกันนี้อีกครั้งเมื่อประมาณต้นปี 35 โดย แบงก์กสิกรไทย เพื่อนำไปใช้ในงานลักษณะเดียวกัน

ถึงแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินใจซื้อด้วยเหตุผลตัวเลขของราคาที่ถูก และแบงก์ชาติไม่ต้องการให้รอยเตอร์เป็นเจ้าที่ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว!

ก็ยังมีภาพของการทดลองใช้งานระบบเอดับบลิวเอสของเทเลอเรทตามแบงก์ และกลุ่มบริษัทการค้าหลายแห่งจนมีข่าวคราวว่าจะมีการติดต่อซื้อขายโปรดักส์ตัวเดียวกันนี้ตามมาอีกโดยแบงก์ใหญ่ ๆ อีกหลายแบงก์

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าประสิทธิภาพของเอดับบลิวเอสจะเป็นจริงตามคำบอกเล่าของเทเลอเรทหรือไม่ ไม่ว่าแบงก์ชาติหรือกสิกรไทยจะซื้อระบบดังกล่าวด้วยเห็นถึงประสิทธิภาพดังกล่าวจริง หรือด้วยเหตุผลของตัวเลขราคาก็ตาม

การซื้อเทคโนโลยีที่เป็นการลงทุนในระดับ 10 ล้านขึ้นไปเพื่อใช้งานในหน่วยงานหน่วยหนึ่งที่ฝ่ายผู้ลงทุนเห็นว่าคุ้มแล้วสำหรับการปูทาง เพื่อไปสู่แนวนโยบายระดับชาติที่ว่าด้วยการเป็นศูนย์กลางทางการเงินสำหรับตลาดอินโดจีน

ขณะเดียวกันการลงทุนของสถาบันทางการเงินแห่งชาติอย่างแบงก์ชาติ หรือแบงก์พาณิชย์ชั้นนำอย่างแบงก์กสิกร ได้เป็นการสร้างฐานเครดิตที่มั่นคงทางการตลาดให้แก่เอดับบลิวเอส และเทเลอเรทแล้ว

ในประเด็นเดียวกันเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของรอยเตอร์ได้ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่ตามกันทันอยู่แล้ว ใช้เวลาไม่กี่ปีก็ไล่กันทัน โดยที่ผ่านมาเทเลอเรทจะไล่ตามรอยเตอร์มาตลอดประมาณปีสองปี จะมีระบบบเอดับบลิวเอสนี้เท่านั้นที่เทเลอเรทมาแรงและไปไกลกว่ารอยเตอร์ แต่มองเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสารยังคงเป็นเรื่องของคุณภาพในตัวข้อมูลมากกว่า

เกรแฮม สเป็นเซอร์ผู้จัดการประจำประเทศไทย พม่า และอินโดจีนได้ให้ความเห็นว่าจุดเด่นที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกบริการของรอยเตอร์ก็ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็วอันเนื่องมาจากเครื่อข่ายที่มีอยู่ทั่วโลก และถึงแม้ว่าแบงก์ชาติ หรือกสิกรจะซื้อโปรดักส์ทางเทเลอเรทก็ตาม ข้อมูลของรอยเตอร์ก็ยังเป็นบริการที่ทั้งแบงก์ชาติ กสิกรหรือแบงก์ใด ๆ ต้องมี

บริษัทเทเลอเรท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของดาวโจนส์ โกบอล อินฟอร์เมชั่น (Dow Jones Global Information) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่พยายามพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเงิน มีสาขาใน 150 ประเทศทั่วโลก โดยเทเลอเรทมีชื่อเสียงในข้อมูลด้านอัตราเงินตราระหว่างประเทศและตลาดทุน (Currency & Capital)

ส่วนรอยเตอร์มีบริษัทแม่ชื่อเดียวกันอยู่ที่ลอนดอน มีสาขา 74 แห่งทั่วโลก รอยเตอร์ทำข่าวทุกประเภท แต่เน้นหนักไปที่ข่าวเศรษฐกิจและรอยเตอร์ได้รับการยอมรับมากในสายข่าวธุรกิจการเงินทุกประเภท (Business & Financial)

มีข้อมูลเสริมมาเล็ก ๆ ก็คือ ทั้งเทเลอเรทและรอยเตอร์ต่างมีบริษัทสำนักข่าวในเครือซึ่งอยู่วงการเดียวกันคือ เทเลอเรทจะมีสำนักข่าวเอพี และรอยเตอร์จะมีสำนักข่าววิสนิวส์

โดยรอยเตอร์จะมีนักข่าวประจำอยู่ในแต่ละสาขา และรับข้อมูลจากวิสนิวส์ ในขณะที่เทเลอเรทจะไม่มีนักข่าวประจำในทุกสาขา (เช่นประเทศไทย) แต่อาศัยการรับข้อมูลและข่าวสารจากสำนักงานใหญ่ในแต่ละแห่งและจากสำนักข่าวเอพีด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us