Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2551
ธาริษาชี้ฝรั่งขายหุ้นฉุดบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Currency Exchange Rates




ผู้ว่าฯ ธปท.ชี้ต่างชาติขายหุ้นทำบาทอ่อนค่าแต่ยังเกาะกลุ่มเพื่อนบ้าน ย้ำบทบาทกนง.ดูเงินเฟ้อ-GDP-ค่าเงิน ขณะที่เงินบาทวานนี้กลับมาแข็งค่าหลังธปท.เข้าแทรกแซง ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ ระบุจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังสูงและเศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่อาจชะลอตัว

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ยังเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มในภูมิภาค โดยอ่อนค่าในระดับกลางเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในขณะนี้เริ่มอ่อนค่าลดลง หลังจากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาอ่อนค่าลงมาก เนื่องจากช่วงดังกล่าวต่างชาติขายหุ้นและนำเงินออกนอกประเทศ ทั้งนี้ ธปท.จะเข้าไปดูแลเฉพาะในช่วงที่มีความผันผวนมาก

"ขณะนี้ค่าเงินบาทไทยอยู่ระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย นับตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าประมาณ 1%เศษ ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียมีเพียงมาเลเซียเท่านั้นที่มีค่าเงินอ่อนน้อยกว่าที่ระดับ 0.8% ที่เหลืออ่อนกว่าเรา เช่น ค่าเงินเกาหลี 10% อินเดีย ฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 9% ขณะเดียวกันประเทศที่ค่าเงินแข็งบ้าง เช่น สิงคโปร์และอินโดนีเซีย 1-2% ส่วนจีนแข็งค่าสุดในภูมิภาคที่ 6% จึงสบายใจได้ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงเกาะกลุ่มไปกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย” นางธาริษากล่าวและว่า แม้อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงบ้างแล้ว ทำให้ความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งต้องมีการประเมินข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ในช่วงสถานการณ์นั้นๆ รวมทั้งด้านความเสี่ยงการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคต และปัจจัยภายในและนอกต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยค่าเงินที่อ่อนลงจะมีแรงกดดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย

บาทดีดกลับหลังธปท.แทรก

นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงเช้าวานนี้ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.12-34.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 33.93-33.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยการเคลื่อนไหวโดยรวมของค่าเงินบาทวันนี้แข็งค่าค่อนข้างมากจากวานนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้ามาดูแล ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบายที่ไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทผันผวน ทั้งนี้ มองว่าหาก ธปท.ไม่เข้ามาดูแลค่าเงินบาทอาจจะอ่อนค่าไปถึง 34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนการเคลื่อนไหววันนี้ ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 34.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนวันนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.85-33.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และทิศทางมีแนวโน้มแข็งค่า

คาดกนง.คงดอกเบี้ยที่ 3.50%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าภายใต้สถานการณ์แวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อน กอปรกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ ในโลกที่เริ่มมีความไม่แน่นอนมากขึ้น คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) อาจต้องเผชิญกับความท้าทายในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินในการประชุมรอบที่หกของปีในวันที่ 27 สิงหาคม 2551 นี้ โดยคาดว่า ท้ายที่สุดแล้ว กนง.อาจโน้มเอียงที่จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 อันเป็นผลจากความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ที่น่าจะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับในการประชุมรอบก่อนหน้า หลังจากการคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อมีทิศทางที่ผ่อนคลายลงกว่าเดิม ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลงและมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาครัฐ

ในขณะที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น จากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักในโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย รวมไปถึงความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนที่ยังคงถดถอย ตามภาวะค่าครองชีพสูงและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเศรษฐกิจไทยที่อาจมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในระยะที่เหลือของปี 2551 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.0 ในไตรมาสแรก ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับในการประชุม กนง.รอบที่แล้ว

ด้านตลาดการเงินปรับตัวโน้มเข้าหาการคาดการณ์ว่า กนง.อาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ จากการประชุม กนง.รอบก่อนหน้าในวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 จนถึงขณะนี้การปรับตัวของตลาดเงินตลาดทุนไทย บ่งชี้ว่า ตลาดได้ทยอยปรับลดการคาดการณ์ที่มีต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.อีกในการประชุมวันที่ 27 สิงหาคมนี้ลงมาตามลำดับ ดังจะเห็นได้จาก อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นที่เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุตั้งแต่ 1-29 ปี ที่ปรับตัวลดลงในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณร้อยละ 0.35-0.87 ตามความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่คลายตัวลง ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินให้กู้ยืมของระบบธนาคารพาณิชย์ ก็ยังไม่ได้ถูกปรับขึ้นเป็นการทั่วไปเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นก่อนการประชุม กนง.รอบที่แล้ว ถึงแม้ว่าการแข่งขันระดมเงินฝากที่เข้มข้นจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมแบบพิเศษด้วยอัตราผลตอบแทนที่จูงใจออกมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมนโยบายอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ คงจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการให้น้ำหนักหรือมุมมองที่มีต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ กนง.เป็นสำคัญ ซึ่ง กนง.คงจะรอติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลก การปรับตัวของเศรษฐกิจหลักและตลาดการเงินโลก ตลอดจนเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป นอกจากนี้ ตลาดคงจะจับตาประเด็นการแต่งตั้งคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง กนง. (หลัง กนง.ชุดปัจจุบันหมดวาระในช่วงปลายเดือนสิงหาคม) และการกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เพราะคงจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของไทยในระยะถัดๆ ไปด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us