Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535
"แสงขายหุ้นไทยสรรพ์ ลางร้ายวงการยางไทย"             
 


   
search resources

ไทยสรรพ์รับเบอร์
แสง อุดมจารุณี
Stock Exchange




ในวงการยางพารา กล่าวกันว่าไม่มีใครไม่รู้จักคนชื่อ แสง อุดมจารุมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยสรรพ์รับเบอร์ บริษัทผู้ผลิตยางแผ่นรมควันรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ และยังดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมพ่อค้ายางแห่งประเทศไทย ด้วย

หลายคนย้ำกับ "ผู้จัดการ" ว่าสำหรับต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ลงมาจนถึงเอเชีย ชื่อของแสง มีความ "ขลัง" กว่าชื่อของรัฐมนตรีผู้ดูแลเรื่องยางพาราของรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาทุกคน

ดังนั้น ครั้งหนึ่งที่ "ผู้จัดการ" เรียกเขาว่า Mr. THAILAND RUBBER จึงไม่ได้เป็นเรื่องเกินเลยแต่อย่างใด สำหรับคนที่คลุกคลีอยู่กับวงการยางกว่า 30 ปีอย่างเขา

แสง อุดมจารุมณี หรือ LEE SAENG HO ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเขาเมื่อครั้งยังใช้สัญชาติมาเลเซีย มีธุรกิจของตนเองภายหลังลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดของเต็กบี ห้าง คือ ไทยสรรพ์รับเบอร์ ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่างเขากับเพื่อนนักธุรกิจทั้งในและนอกวงการยางหลายคน ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 และเพิ่งฉลองครบรอบ 10 ปีพร้อม ๆ กับเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง

กล่าวกันว่าหุ้นของไทยสรรพ์รับเบอร์ ได้รับการซื้อขายมากพอสมควรในบรรดาบริษัทยางพาราที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 2-3 แห่ง

อยู่มาวันหนึ่ง ในช่วงเดือนมิถุนายน ราคาหุ้นของไทยสรรพ์รับเบอร์ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติท่ามกลางความสงสัยของบรรดานักลงทุนว่าเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท (ดูตารางราคาหุ้นประกอบ)

และมีข่าวตามมาว่า แสง อดุมจารุมณีขายหุ้นไทยสรรพ์ทิ้ง!!

สำหรับการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นไทยสรรพ์รับเบอร์ในช่วงที่มีข่าวดังกล่าวนั้น มีการซื้อขายประมาณ 1.5 ล้านหุ้น และราคามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก โดยขยับจากราคา 49.25 บาท (ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดที่เคยมีการซื้อขายหุ้นตัวนี้) ขึ้นไปอยู่ที่ 60-65 บาทในช่วงไม่กี่วัน

นอกจากนั้น ยังมีการยืนยันว่า กำลังมีการเจรจาซื้อขายหุ้นล็อตใหญ่ออกมา โดยบริษัทไทยสรรพ์โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณ 44% เพื่อขายต่อนักลงทุนกลุ่มใหม่ (ที่ยังไม่มีการเปิดเผยชื่อ) แต่การเจรจายังไม่มีข้อยุติ

ดังนั้น ไม่กี่วันหลังจากการที่มีข่าวการเจรจาขายหุ้นรั่วไหลออกมา คณะกรรมการไทยสรรพ์รับเบอร์จึงยื่นเรื่องขอเอสพีหุ้นบริษัทกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ข่าวดังกล่าวไม่เป็นผลดีกับไทยสรรพ์รับเบอร์เอามาก ๆ และที่สำคัญก็คือ ส่งผลกระทบต่อวงการยางพาราของไทยมาก เพราะหากคนอย่างแสง จำเป็นที่จะต้องขายหุ้นทิ้ง ก็อาจจะเป็นการชี้ว่า อนาคตของยางพาราไทย กำลังอยู่ในช่วงวิกฤติเอามาก ๆ ทั้ง ๆ ที่อุตสาหกรรมยางพาราของไทย กล่าวกันว่ากำลังอยู่ในยุคที่รุ่งเรืองสุดขีด จนกระทั่งก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของการเป็นผู้ผลิตยางแผ่นรมควันของโลก แทนที่มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งมานาน

"ผมเองยังงงเลยที่มีข่าวออกมาว่าผมขายหุ้นทิ้ง" แสงบอกกับ "ผู้จัดการ" ในวันหนึ่งหลังจากที่มีข่าวดังกล่าวออกมา ในขณะที่มีการตอกย้ำจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับไทยสรรพ์รับเบอร์หลายคนว่าแสง อุดมจารุศรีมณี ยังคงถือหุ้นในไทยสรรพ์รับเบอร์อยู่มากในระดับที่ยังสามารถที่จะบริหารไทยสรรพ์รับเบอร์ได้

ที่สำคัญก็คือ หากมีการขายหุ้นทิ้งจริง ๆ สิ่งที่แสงไม่สามารถที่จะตอบคำถามของใครต่อใคร รวมทั้ง "ผู้จัดการ" ได้ก็คือ เขาจะไปทำอะไรต่อไปในอนาคต?

เพราะตลอดชีวิตของแสงดูเหมือนจะผูกพันกับยางพารามากกว่าอย่างอื่น!!

ทั้งนี้พลิกประวัติของแสง อุดมจารุมณี หรือ LEE SAENG HO นับตั้งแต่จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแห่งหนึ่งในเมืองอลอสตาร์ แสงเริ่มต้นด้วยการเป็นครูที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐเปอร์ลิส ซึ่งอยู่ทางเหนือของมาเลเซีย ในต้นปี 2499 แต่ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น คือประมาณเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน ญาติคนหนึ่งซึ่งทำงานกับเต็กบีห้าง (ยางไทยปักษ์ใต้) ในตำแหน่งผู้จัดการสาขาหาดใหญ่ได้ไปพบแสงที่มาเลเซีย แล้วก็ชักชวนแสงมาร่วมงานกับเต็กบีห้างที่หาดใหญ่ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการยางของบุคคลผู้นี้

"คุณแสง เป็นหนึ่งในพ่อค้ายางที่สร้างหาดใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางยางพาราของไทย" จนกระทั่งวันนี้" นายธนาคารคนหนึ่งในหาดใหญ่บอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงเรื่องของแสงในอดีต

สิ่งหนึ่งที่แสงยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ด้วยความภาคภูมิใจมากก็คือ การได้รับสัญชาติไทยภายหลังจากที่มาตั้งรกรากอยู่ในหาดใหญ่นับตั้งแต่มาร่วมงานกับเต็กบีห้าง สาขาหาดใหญ่เป็นต้นมา ดังนั้น จึงไม่แปลกใจนัก ที่แสงมักจะกล่าวกับใครต่อใครว่าเขาเป็นคนไทย และพร้อมที่จะสร้างอุตสาหกรรมยางพาราของไทยให้เป็นอันดับหนึ่งของโลก

วันนี้ เมื่อแสงทำสำเร็จมีหรือที่จะทิ้งวงการยางพาราไป

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าปัญหาเรื่องยางพาราในขณะนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก (และรัฐบาลควรจะให้ความสนใจมาก) เพราะในขณะที่ยางพาราในประเทศมีการผลิตมากจนขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง ตลาดโลกกลับไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก อันเนื่องมาจากความต้องการมีไม่มากนัก เพราะภาวะเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวงการยางต่างก็อยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่นหรือบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบตามมา

ขณะเดียวกัน นักธุรกิจในวงการยางให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวที่ว่า แสง อุดมจารุมณีจะทิ้งวงการยางด้วยการขายหุ้นทิ้งว่า เป็นเครื่องชี้ว่ารัฐบาลควรจะให้ความสนใจกับเรื่องนี้ให้มาก ในขณะที่ไทยกำลังเป็นผู้ส่งออกยางแผ่นรมควันรายใหญ่ของโลก เพราะข่าวดังกล่าวไม่มีผลดีกับวงการยางพาราของไทย ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริง

ทั้งนี้ เหตุผลที่อรรถาธิบายได้ชัดเจนที่สุดก็คือ แสงเป็นบุคคลที่วงการยางทั่วโลกให้ความเชื่อถือสูงมาก โดยเฉพาะในเรื่องการตลาด ดังนั้นการที่แสงให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องตลาดยาง จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องรับฟัง

โบราณกล่าวว่าจิ้งจกทักยังต้องรับฟัง นี่คนที่ทักเป็นถึงผู้รู้เรื่องยางดีคนหนึ่งมีหรือที่ไม่น่าจะฟัง

ยังไงฉายา Mr.THAILAND RUBBER ของแสงก็ไม่ได้ได้มาอย่างง่าย ๆ แน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us