Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กรกฎาคม 2546
THAI จุดขายบอร์ดโปร่งใส มัดใจต่างชาติซื้อหุ้นเพิ่มทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ทนง พิทยะ
โอฬาร ไชยประวัติ
วิชิต สุรพงษ์ชัย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
สมใจนึก เองตระกูล
Aviation




การบินไทยชูจุดขายบอร์ดธรรมาภิบาลสูงสุด ดึงดูดใจนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นเพิ่มทุน ระบุหมดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร หลังเริ่มแอ็กชั่นแพลนต้นปีหน้า ด้านสัดส่วนหุ้นเพิ่มทุนสูตรไหนไม่สำคัญเท่าราคาเสนอขาย และเวลากระจายหุ้นที่เหมาะสม ซึ่งฐานะการบินไทยมีความพร้อมตลอดเวลาที่จะระดมทุน ด้วยการพยายามรักษามาตรฐานดีอีที่ 3 ต่อ 1 เท่า เชื่อมั่นซาร์สไม่กระทบผลกำไรปีนี้ แม้ทำให้รายได้ Q2 ลดลงไป 2 พันล้านบาท แต่สถานการณ์กลับสู่ปกติรายได้กลับมาอยู่ที่ระดับ 4-5 พันล้านบาท ต่อไตรมาส

นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เปิดเผยว่า การ ที่คณะกรรมการ (บอร์ด) การบิน ไทยชุดปัจจุบันมีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง จนได้รับการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับทริสว่าเป็นบอร์ดที่มีธรรมาภิบาลสูงสุด ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจที่ต้องมีความโปร่งใสเป็นหลักจะเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้

เพราะการทำงานของบอร์ดชุดนี้ทุกคนจะถูกจัดวางหน้าที่ไว้ชัดเจน โดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จะรับผิดชอบเรื่องธรรมาภิบาล และระบบประเมินผลงาน ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช รับผิดชอบเรื่องการบริหารงาน ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย รับผิดชอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ รับหน้าที่ประธานกรรมการตรวจสอบ ขณะที่นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ดูแลเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งทุกคนมีบทบาทสำคัญในการบริหารการบินไทย

ส่วนปัญหาความขัดแย้งในองค์กรที่ผ่านมาเป็นเพียงความขัดแย้งในแง่ของความคิดเห็นภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติขององค์กรใหญ่ที่มีสายงานมากทำให้การสื่อสารติดขัดและเกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้น บอร์ดจึงมอบหมายให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงสายงานในองค์กรให้มีความรัดกุม มีความกระชับ ลดความขัดแย้งระหว่างสายงาน และนำแผนงาน ดังกล่าวมาเสนอบอร์ด เพื่อจะเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในปีหน้า ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นในทุกด้าน

ปัจจุบันคณะกรรมการของบมจ.การบินไทย ประกอบด้วย ดร.ทนง พิทยะ ประธานกรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.45 ดร.ศรีสุข จันทรางศุ รองประธานกรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 02 พ.ค.44 นายสมใจนึก เองตระกูล รองประธานกรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.43 นายกนก อภิรดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 ก.พ.45

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 44 นายวิโรจน์ นวลแข

กรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ต.ค.44 พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา กรรมการ เข้า รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 45 พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ กรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5

ต.ค.44 พลเรือเอกทวีศักดิ์ โสมาภา กรรมการ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 46 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช กรรมการอิสระ เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 28 ต.ค.45 ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการ อิสระ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 ต.ค.45 ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการอิสระ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 ต.ค.45 นายธัชชัย สุมิตร กรรมการอิสระ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.45 นายถิรชัย วุฒิธรรม กรรมการอิสระ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.45

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธานกรรมการตรวจสอบ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.44 ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการตรวจสอบ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 44 ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการตรวจสอบ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค.44 นายถิรชัย วุฒิธรรม กรรม การตรวจสอบ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.45

ประธานบอร์ด บมจ.การบินไทย กล่าวต่อว่า ขณะนี้บอร์ดยังไม่ได้รับเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุน สำหรับสัดส่วนการกระจายหุ้น 400 ล้านหุ้น และกระทรวงการคลัง 100 ล้านหุ้นนั้น เป็น ข้อเสนอของที่ปรึกษาทางการเงิน โดยการกระจายหุ้นจะใช้สัดส่วนไหนไม่แตกต่างกัน มากนัก เพราะสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับราคาที่จะเสนอขาย ดังนั้นจึงควรมีการหารือขอความคิดเห็นจาก บอร์ดของบริษัท เพราะการขายหุ้นเพิ่มทุนไม่ใช่เรื่องง่ายต้องพิจารณาจังหวะตลาดที่เหมาะสมด้วย ซึ่งที่ประชุมบอร์ดเดือนนี้จะมีการพิจราณาเรื่องนี้

อย่างไรก็ดี การขายหุ้นเพิ่มทุนการบินไทยจะต้องมีความพร้อม 2 ประการ คือ ธุรกิจการบินต้องเป็นที่สนใจของนักลงทุน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้สำรวจความต้องการของนักลงทุน และปัญหาทางการเงินต้องมีน้อยที่สุด ด้วยฐานะของการบินไทยในปัจจุบันสามารถระดมเงินทุนได้ตลอดเวลา และบริษัทมีความพร้อมมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะจัดตารางการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างไรให้เหมาะสม เพราะขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่มีความพร้อมเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ดังนั้น การทำให้บริษัทการบินไทยมีความเป็นสากล สิ่งสำคัญคือสถานะการเงินต้องแกร่งด้วยการรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ ในระดับ 3 ต่อ 1 เท่า ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะเกิดสถานการณ์ของโรคทางเดินลมหายใจเฉียบ พลัน(ซาร์ส)ส่งผลให้ผลการดำเนินงานระยะ 2 เดือน ในไตรมาส 2/46 ทำให้รายได้หายไปประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีผลกระทบกับผลกำไรของการบินไทยทั้งปีให้ลดต่ำลง เพราะไตรมาส 3-4 ปีนี้ รายได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติที่ 4,000-5,000 ล้านบาทต่อไตรมาส

"ในแง่ของฐานะการเงินการบินไทยถือเป็นสายการบินที่มีฐานะอันดับต้น ส่วนการบริการเรามีปัญหาในเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้นที่จะต้องปรับปรุง ด้านปัญหาเครื่องบินซึ่งไม่เพียงพอรองรับบริการ เพราะประมาณ 10% จะต้องหมุนเวียนเข้าซ่อมแซม จากจำนวนที่มีอยุ่ 82 ลำ ในแผนระยะ 5 ปี ได้จัดงบประมาณเพื่อรองรับการจัดซื้อเครื่องบินไว้แล้ว เพื่อให้มีเครื่องบิน ครบ 95 ลำ ภายใน 5 ปี"

ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 3 เดือนมกราคม 2546 บมจ. การบินไทย มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 103,128 คน มีสัดส่วนการ ถือหุ้นของผู้ถือหุ้นที่น้อยกว่า 0.5% ที่ 6.45% โดยมีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวน 1,112 ล้านหุ้น คิดเป็น 79.46% ธนาคาร ออมสิน 187 ล้านหุ้น คิดเป็น 13.39% ธนาคาร HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 9.67 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.69%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us