Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กรกฎาคม 2546
"สามารถ" รีแบรนดิ้ง ดันยอดทะลุหมื่นล้าน             
 


   
search resources

สามารถกรุ๊ป
เจริญรัฐ วิไลลักษณ์
ธวัชชัย วิไลลักษณ์
Telecommunications




สามารถรีแบรนดิ้งใหม่ มุ่งเน้นธุรกิจ Infocom ครบวงจรหลังเข็ดขยาดกับโครงการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ยันปีนี้รายได้ทะลุ 1 หมื่นล้านบาท เตรียมดันกลุ่มธุรกิจไอ-โมบาย มัลติมีเดียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมคืนสัมปทานโพสต์เทลให้กรมไปรษณีย์โทรเลข

นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการรีแบรนดิ้งองค์กรของกลุ่มสามารถว่าเป้าหมายของกลุ่มสามารถมุ่งไปสู่ธุรกิจ Infocom หรือสื่อสารสารสนเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าและความคุ้มค่าให้กับลูกค้า การรีแบรนดิ้งครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ลักษณะคือ 1.Customer Focus การใส่ใจและเข้าใจถึงความ ต้องการลูกค้า 2.Fast ประสิทธิภาพในการเสนอบริการที่ดี บริการหลังการขายมีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาลูกค้าได้ฉับไว 3.Synergy รวบรวมบริการที่หลากหลายภายในกลุ่มสามารถและพาร์ตเนอร์เพื่อเสนอบริการลูกค้าแบบครบวงจร

4.Innovative ความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่หยุดนิ่งพยายามแสวงหาผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ๆ ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร และ 5.Can Do&Well Done เป็นทัศนคติคนในองค์กรต้องมีความเชื่อว่าสามารถทำได้และต้องทำได้ดี

"ปีนี้สามารถจะมีรายได้ 1 หมื่นล้านบาทเป็นปีแรก"

การรีแบรนด์ดิ้งเกิดขึ้นภายหลังจากที่กลุ่มสามารถทำธุรกิจมากว่า 50ปี เข้าสู่ยุคที่ 3 ที่เน้น Infocom หลังจากยุคแรกที่เริ่มจากเสาอากาศทีวีจาน ดาวเทียมเติบโตจากฐานการผลิต มาสู่ยุคที่ 2 ธุรกิจ บริการโทรคมนาคมเฟื่องฟู การสร้างโครงสร้างพื้นฐานอินฟราสตรักเจอร์ขนาดใหญ่อย่างดีพีซีหรือฮัลโหล 1800 ที่ทำให้กลุ่มสามารถเจอภาวะวิกฤตจากพิษ เศรษฐกิจและตลาดโทรคมนาคมซบเซา รวมทั้งการลงทุนโครงการขนาดใหญ่

"วิกฤตเศรษฐกิจเหมือนการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถแข็งแรง เราปรับตัวอย่างรวดเร็วภายหลังเกิดวิกฤต"

นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่นกล่าวว่าสามารถใช้เงินใน การรีแบรนด์ดิ้งประมาณ 30-40 ล้านบาท และใช้เงินด้านกิจกรรมการตลาดในบริษัทลูกประมาณ 150-200 ล้านบาทซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่จากเดิมที่บริษัทลูกจะใช้เงินในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้า บริการ ก็ให้เพิ่มด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์ใหม่สามารถเข้าไปด้วย

"เราศึกษาแบรนด์มา 7-8 เดือนรวมทั้งโครงสร้างธุรกิจ การเปลี่ยนแบรนด์ไม่ใช่แค่เปลี่ยนสีเปลี่ยนแบบตัวอักษรใหม่ ไม่ง่ายอย่างนั้น" นายธวัชชัยกล่าวและว่าเดิมบริษัทลูกของสามารถต่างมีโลโกของตัวเอง ทำให้ดูวุ่นวายขาดความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ภายใต้การรีแบรนดิ้งใหม่นี้ จะมีเพียงมาสเตอร์โลโกคือสามารถเท่านั้น และถ้าหากบริการอย่าง BUG LIVE(บริการ BUG 1113เดิม) BUG MODE (บริการนอนวอยซ์)และ BUG FUN (บริการออดิโอเท็กซ์) จะมีโลโกเป็นแมลงเหมือนตัว BUG1113 เดิมแต่จะต้องมีชื่อสามารถอยู่ด้านล่าง ซึ่ง BUG จะเป็นตัวแทนธุรกิจด้านคอนเทนต์

การรีแบรนดิ้งเกิดขึ้นพร้อมการปรับโครงสร้าง ธุรกิจใหม่ เป็น 4 กลุ่มคือ 1.กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมภาครัฐ 2.กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชน 3.กลุ่มธุรกิจไอ-โมบาย มัลติมีเดีย และ 4.กลุ่มธุรกิจอื่นๆ

กลุ่มไอ-โมบาย มัลติมีเดีย เป็นกลุ่มที่มีการปรับมากที่สุด ด้วยเป้าหมายต้องการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยขยายเครือข่ายบริการให้ครอบคลุม ธุรกิจ Mobile Business กับ Infotainment Multi-media

ภายใต้กลุ่มธุรกิจ ไอ-โมบาย มัลติมีเดีย ประกอบด้วยบริษัทแม่ สามารถ ไอ-โมบาย ที่ดำเนิน ธุรกิจนำเข้าเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆรวมถึง I-Mobile Package และการให้บริการหลังการขาย ซึ่งมีการเพิ่มทุนจาก 150 ล้านบาทเป็น 320 ล้านบาทและมีบริษัทในกลุ่มอีก 3 บริษัทคือบริษัท สามารถอินโฟมีเดีย ให้บริการข้อมูลผ่านสื่ออินเตอร์แอ็กทีฟ ภายใต้ชื่อ BUG บริษัท สามารถ โมบาย เซอร์วิสเซส เป็นช่องทางจัดจำหน่ายและให้บริการภายใต้ชื่อร้าน ไอ-โมบาย ช้อป และบริษัท สามารถ อินเตอร์แอ็คทีฟ มีเดีย ให้บริการสื่อในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการในเชิงธุรกิจ พร้อมทั้งมีบริการด้าน Event Organizer เพื่อจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆตามความต้องการของลูกค้า

ทิศทางธุรกิจของกลุ่มสามารถ จะไม่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรืออินฟราสตรักเจอร์อีกแล้ว อย่าง บริการวิทยุติดตามตัวโพสต์เทล ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 3 หมื่นราย ซึ่งลูกค้าในส่วนราชการกำลังจะเลิกใช้เหลือเพียงคอนซูเมอร์ไม่มากนัก โพสต์เทล ก็จะลดบทบาทลงและหาแนวทางเจรจากับกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อคืนสัมปทาน

รายได้ของกลุ่มสามารถในปีนี้ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 30% โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่ทำรายได้มากคือกลุ่มไอ-โมบาย มัลติมีเดียประมาณ 60% ธุรกิจต่างประเทศกับตลาดเอกชนรวม กันประมาณ 30% ที่เหลืออีก 10% เป็นตลาดราชการ ในช่วงไตรมาส 3 กลุ่มสามารถจะดำเนินการปรับโครง สร้างหนี้ที่มีอยู่ประมาณ 4 พันล้านบาทเสร็จเรียบร้อย ซึ่งในขณะนี้ดำเนินการแล้วกว่า 80% หลังจากนั้นจะทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น

"การวัดผลสำเร็จของการปรับโครงสร้างธุรกิจหรือการรีแบรนดิ้ง อยากให้วัดที่ฐานะการเงินผลประกอบการ จบปีนี้ภาพเราน่าจะดีขึ้น แข็งแรงพอที่จะไปแข่งขันกับคนอื่นได้"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us