|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังเปิดประเด็นใหม่ซักฟอกแบงก์ชาติกรณีขายหุ้นไทยธนาคาร (BT) รับผิดชอบกลุ่มซีไอเอ็มบีกรณีไม่ทำตามเงื่อนไขฟื้นฟูแบงก์หรือไม่ แฉที่ผ่านมาขาย "นครธน-เอเชีย" ให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% พร้อมสิทธิพิเศษซื้อเพื่อฟื้นฟู แต่ครบกำหนด 10 ปียังไม่มีการเพิ่มทุนเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นให้ต่ำกว่า 49%
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทำหนังสือสอบถามไปยังกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการขายหุ้นเพิ่มทุนธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (BT) ให้กับกลุ่มซีไอเอ็มบี ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากต้องการให้ ธปท.ชี้แจงว่าข้อตกลงในการขายหุ้นดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย ธปท.หรือไม่
"เรื่องนี้ไม่ได้ใช้เป็นข้อต่อรองในการอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ของนางธาริษา วัฒนเกส แต่เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายก็รู้กันอยู่ว่าการขายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ให้กับต่างชาติถือเป็นเรื่องใหญ่ที่แบงก์ชาติจะพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะเสนอมายังกระทรวงการคลัง หากผิดพลาดขึ้นมาก็ต้องถึงขั้นรับโทษทางอาญาได้"แหล่งข่าวกล่าวและยืนยันว่า การกระทำของกระทรวงการคลังเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องการถ่วงเวลาการขายหุ้นออกไป และไม่เกี่ยวกับการรอผลการสอบสวนความเสียหายการเพิ่มทุนธนาคารไทยธนาคารของคณะกรรมการที่ รมว.คลังแต่งตั้ง แต่เพื่อให้สิ่งที่แบงก์ชาติเสนอมานั้นถูกต้องตามกฎหมาย
"สิ่งที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธปท.ชี้แจงให้ชัดเจนก็คือเงื่อนไขในการซื้อหุ้นไทยธนาคารของกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งเราพบว่า ธปท.ยอมให้ซีไอเอ็มบีสามารถถือหุ้นไทยธนาคารได้เกิน 49% เมื่อถือหุ้นครบ 10 ปีแล้วจะต้องทำการเพิ่มทุนโดยไม่ให้สิทธิซีไอเอ็มบีซื้อเพื่อให้สัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติในธนาคารไทยลดลง ตามกฎกการเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อเข้ามาเพื่อฟื้นฟูฐานะธนาคาร"
กระทรวงการคลังมีข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เหตการณ์จะซ้ำรอยกับการขายหุ้นธนาคารพาณิชย์ของกองทุนฟื้นฟูที่ผ่านมา เพราะเหตุใดธนาคารไทยหลายแห่งที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2540 และมีธนาคารต่างชาติเข้ามาถือหุ้น ทั้งธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน จำกัด(มหาชน) SCNB เดิม ปัจจุบันคือ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด(มหาชน) SCBT และธนาคารเอเชีย จำกัด(มหาชน) BOA เดิมที่ปัจจุบันถูกธนาคารยูโอบี จำกัด(มหาชน) UOB ทำไมจึงไม่มีการเพิ่มทุนเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติลงต่ำกว่า 49%
“การขายหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ให้กับต่างชาตินั้นตั้งแต่หลังวิกฤตปี 40 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็ครบครบ 10 ปีแล้ว แต่เงื่อนไขที่แบงก์ชาติบอกว่าจะต้องเพิ่มทุนเพื่อไดลูทสัดส่วนหุ้นของต่างชาติลงก็ยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ออกมาจากแบงก์ชาติเลย แต่เรื่องนี้ก็ต้องรอให้ทางแบงก์ชาติตอบมาก่อนว่ามีเหตุผลใดๆ” แหล่งข่าวระบุ
ทั้งนี้ กลุ่มซีไอเอ็มบีได้เสนอซื้อหุ้นไทยธนาคาร 2,811 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 42.12% จากกองทุนฟื้นฟูฯ ในราคาหุ้นละ 2.10 บาท คิดเป็นมูลค่าราว 5.9 พันล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าจะเข้าร่วมในการเพิ่มทุนไทยธนาคารภายหลังจากที่ได้ดำเนินการซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ และซีไอเอ็มบี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไทยธนาคาร รวมถึงการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยแล้ว
นอกจากนี้ ธนาคารไทยธนาคาร ได้ดำเนินการขายตราสารหนี้ที่ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน(ซีดีโอ) ที่ธนาคารถือครองไว้ออกหมดแล้ว โดยเป็นการขายผ่านการประมูลผ่านนักลงทุนรวมทั้งหมด 6 ราย โดยธนาคารได้เงินจากการขายซีดีโอครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 77.04 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,579 ล้านบาท ขาดทุนไป 6,195 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะถูกบันทึกลงในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
เลี้ยบยังไม่ปลดผู้ว่าฯ ธปท.
วานนี้ (19 ส.ค.) นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ไม่มีแนวคิดที่จะปลดผู้ว่าฯ ธปท.จากเหตุผลนโยบายดอกเบี้ยหรือบางมุมมองในการบริหารเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เพราะการที่มีมุมมองทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากมุมมองในทุกเรื่องเหมือนกันหมดถือว่าอันตราย
|
|
|
|
|