|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธปท.ยอมรับสภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัวเล็กน้อย เหตุแบงก์ปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ขณะที่การระดมทุนผ่านเงินฝากและตั๋วบี/อีชะลอตัว หลังผู้ออมเงินหันไปลงทุนในธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น ส่งผลให้แบงก์ปรับกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินระยะสั้นและปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินให้ทันต่อการแข่งขันรุนแรง มั่นใจสภาพคล่องในระบบยังเหลือเฟือในการปล่อยกู้ แนะแบงก์บริหารความเสี่ยงที่ดีลดปัญหาการระดมทุนสั้นๆ ปล่อยกู้ช่วงอายุยาว
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้สภาพคล่องโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการเร่งปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ขณะเดียวกันการระดมทุนผ่านเงินฝากและตั๋วแลกเงิน(บี/อี)ชะลอตัวลงส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับกลยุทธ์การตลาดออกเงินฝากและบี/อีอายุสั้นๆ มาสนองความต้องการลูกค้า และมีการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อมาแข่งขันด้านตราสารประเภทอื่นออกมามากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจกองทุนรวม ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกการลงทุนอื่นๆ ได้มากขึ้น
“แม้แบงก์จะมีการระดมฝากและออกตั๋วบี/อีในช่วงอายุสั้นๆ แต่ก็มีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินยังมีอยู่ แม้สภาพคล่องไม่ได้ผ่อนคลายเหมือนในไตรมาส 1 เห็นได้จากเครื่องชี้สัดส่วนเงินฝากและบี/อีต่อสินเชื่อรวมยังคงเพิ่มขึ้นจาก 84.9% ในไตรมาสก่อนมาเป็น 89.8% ในไตรมาส 2 ถือว่ายังเป็นบวกอยู่”
อย่างไรก็ตามปัญหาการระดมเงินฝากในช่วงสั้นๆ อาจไม่สอดคล้องกับกับการปล่อยกู้ในระยะยาวได้ ดังนั้น ธปท.ได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์มีการดูแลเรื่องระบบบริหารความเสี่ยงให้สอดรับกับพฤติกรรมของเงินในช่องทางต่างๆ
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 ของปีนี้เงินรับฝากมีการหดตัวที่ 0.3% เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 2.8% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินด้วยการออกตั๋วบี/อีมากขึ้น เพราะมองว่าให้ผลตอบแทนสูงกว่าและสามารถรอบรับความต้องการของนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ได้ เช่น กองทุนรวม ทำให้ยังมีความต้องการในตลาด นอกเหนือจากลดปัญหาการนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินมียอดคงค้างตั๋วบี/อีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.68 แสนล้านบาท แต่หากรวมเงินฝากและตั๋วบี/อีแล้วมีการขยายตัว 3.6% ชะลอตัวลงบ้างจาก 5.7%ในไตรมาส 1
สำหรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระบบมีอัตราการขยายตัวที่ 11% จากระยะเดียวกันของปีก่อน เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 7.3% ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้น 3 ไตรมาสต่อเนื่อง โดยสินเชื่อภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนถึง 76.1%ของสินเชื่อรวมมีอัตราขยายตัว 9.5% เทียบกับไตรมาสก่อน 5.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการเงินทุนหมุนเวียนตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้นมากกว่าการขยายการลงทุน ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 16% เทียบกับไตรมาสก่อน 13.5% จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลัก
“ปัจจัยท้าทายในการดำเนินธุรกิจของแบงก์ในช่วงไตรมาสนี้ ได้แก่ ปัญหาการเงินระดับโลกราคาน้ำมันแพง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่แบงก์ก็ให้ความสำคัญในการดูแลด้าน Credit Risk ต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ”
ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทั้งสิ้น 4.48 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 6.4% ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.77 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้เอ็นพีแอลที่มีการกันสำรองแล้ว(เอ็นพีแอลสุทธิ)ขยายตัว 3.4% ซึ่งสัดส่วนของหนี้เอ็นพีแอลทั้ง 2 ตัวมีการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงจาก 7.6% เหลือ 7.2% ในไตรมาสนี้ โดยเป็นการลดลงเกือบทุกภาคธุรกิจ ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยรวมมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงเล็กน้อยจาก 4% เหลือ 3.8% ซึ่งเป็นผลจากที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์มีการรับชำระหนี้และขายหนี้มากขึ้นด้วย
ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 2.7 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และลดลงจากไตรมาสก่อน 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากกำไรการลงทุนลดลงและมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 6.1 พันล้านบาท เนื่องจากมีการกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล(IAS39) 900 ล้านบาท ถือว่าธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองครบแล้วตามเกณฑ์ดังกล่าว
|
|
 |
|
|