Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์18 สิงหาคม 2551
CPN เข้าวินต่อสัญญาเช่าที่ ร.ฟ.ท.ผลงานแรกพิสูจน์ "นคร จันทศร”             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ การรถไฟแห่งประเทศไทย

   
search resources

เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.
การรถไฟแห่งประเทศไทย




“นคร จันทศร” โชว์ผลงานชิ้นโบแดง สรุปผลต่อสัญญาเช่าที่ดินสามเหลี่ยมพหลโยธิน กลุ่มเซ็นทรัลเข้มวินไม่พลิกโผ ด้วยมูลค่า 21,000 ล้านบาท สูงกว่า MBK 35% อายุสัญญา 20 ปี เตรียมเสนอครม.อนุมัติใน 1 เดือน คาดเซ็นสัญญาทันก่อนหมดสัญญา

ความวุ่นวายของการต่อสัญญาเช่าบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา(CPN) ที่จะหมดสัญญาลงในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ มีมานาน 2-3 ปี เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีการเจรจาต่อสัญญากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากภาครัฐเรียกเก็บค่าเช่าที่สูงเกินจริง ส่งผลการเจรจาครั้งนั้นล้มเหลว

จนมาถึงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ก็มีการเจรจาต่อสัญญากันอีกรอบ โดยครั้งนั้นได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ได้ทำหนังสือถึงธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขณะนั้น โดยเสนอให้ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาคัดเลือกเอกชนรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลด้วย เพื่อให้ร.ฟ.ท.ได้รับค่าเช่ามากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าหากมีการเปิดประกวดราคาร.ฟ.ท.อาจได้ผลตอบแทนถึง 50,000 ล้านบาท ในอายุสัญญา 30 ปี สุดท้ายก็ไม่มีบทสรุปเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การต่อสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัลได้บทสรุปแล้วโดยคณะกรรมการตามมาตรา 13 โดยมีนคร จันทศร ผู้ว่าการร.ฟ.ท.เป็นประธาน กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 13 ได้ข้อสรุปแล้วว่า ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาเช่ากับผู้รับสัมปทานรายเดิม คือ กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา อายุสัญญา 20 ปี ในวงเงินผลตอบแทน 21,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา

“ตอนนี้การเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินจบแล้ว หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการครั้งสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนขั้นตอนที่เหลือก็จะตรวจร่างสัญญาเพื่อเสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณา จากนั้นก็เสนอบอร์ดเพื่อให้พิจารณาก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติ ซึ่งภายใน 90 วัน คาดว่าจะสามารถต่อสัญญาเช่าได้ก่อนหมดสัญญา”นครกล่าว

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาครั้งนี้ยึดตามหลักของกรมธนารักษ์และมาบุญครองกับจุฬาฯ โดยมีระยะเวลา 20 ปี ส่วนผลตอบแทนนั้น เดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท แต่ทางเซ็นทรัลฯขอใช้วิธีผ่อนชำระ ดังนั้นร.ฟ.ท.จึงจะต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6 % ส่งผลให้ร.ฟ.ท.ได้รับผลตอบแทนอยู่ที่ 21,000 ล้านบาท

“ถามว่า 30 ปีตลอดอายุสัญญาได้มั้ย ตอบว่าได้ แต่เนื่องจากเป็นอาคารขนาดใหญ่ การบูรณะบำรุงรักษาอาคารต้องใช้เวลานาน ขณะที่ 20 ปี การบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าครม.ได้ภานใน 1 เดือนหลังจากนี้ ”แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวว่า ในช่วงของอายุสัญญา 20 ปี หากพบว่าทางเซ็นทรัลฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น จะต้องแบ่งผลตอบแทนให้ร.ฟ.ท.เพิ่มอีก 5% ทุกๆ 3 ปี และการคิดค่าเช่าในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้น เช่นในปีแรกอาจเก็บที่ 600-650 ล้านบาท และปีต่อๆไปจะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงหลักพันล้านบาท นอกจากนี้ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนปรับปรุงอาคารทั้งหมดเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี หลังจากที่มีการต่อสัญญา นอกจากนี้ในสัญญาฉบับใหม่ไม่ได้ระบุว่าหากหมดสัญญาทางกลุ่มเซ็นทรัลฯจะเป็นผู้ได้รับการต่อสัญญาอีกครั้ง ซึ่งอาจมีการเปิดประมูลหาผู้ลงทุนรายอื่นต่อไป

ทั้งนี้เดิมผลตอบแทนที่ทางเซ็นทรัลเสนอให้กับร.ฟ.ท.ในครั้งแรกเพียง 8,500 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี ซึ่งในครั้งนั้นผู้บริหารร.ฟ.ท.เห็นว่าน้อยเกินไป จึงมีการเจรจาต่อรองกันจนสรุปที่ ตัวเลข21,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามาบุญครองถึง 35% หากคิดค่าเช่าต่อตร.มจะพบว่าค่าเช่าต่อตร.มของมาบุญครองอยู่ที่ 4,000 บาทต่อปี ขณะที่ค่าเช่ากลุ่มเซ็นทรัลฯอยู่ที่ตร.มละ 5,200 บาทต่อปี

ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.เคยระบุว่า การต่อสัญญากับเซ็นทรัล ได้ยึดรูปแบบการต่อสัญญาสัมปทานเช่าทรัพย์สินและที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมาบุญครองเซ็นเตอร์ โดยทางจุฬาฯ ได้ตกลงต่ออายุสัญญาให้อีก 20 ปี มูลค่าโครงการรวม 25,310 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงวดแรก สำหรับค่าตอบแทนของการได้สิทธิการทำสัญญาก่อนรายอื่น 2,450 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าจะแบ่งชำระ 20 งวด พร้อมดอกเบี้ยอีก 6% คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 22,860 ล้านบาทจากเดิมที่จุฬาฯทำสัญญาสัมปทานกับมาบุญครอง 30 ปี มูลค่าโครงการรวม 885 ล้านบาท

สำหรับสัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 ซึ่งอยู่ในสมัยของสง่า นาวีเจริญ เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และจะหมดอายุสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.2551 รวมเวลา 30 ปี พื้นที่ 47.22 ไร่ หรือ 75,558.65 ตารางวา โดยกำหนดว่ากลุ่มเซ็นทรัลฯต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ให้ร.ฟ.ท. 16 ล้านบาท ค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยปีแรกนับแต่วันลงนาม ร.ฟ.ท.จะไม่คิดค่าเช่าที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ปีที่ 2 , 3 และ 4

เซ็นทรัล ต้องชำระค่าเช่าอัตรา 25% , 50% และ 100% ตามลำดับของอัตราค่าเช่าที่ดิน และนับตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป กลุ่มเซ็นทรัลฯต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน เพิ่มขึ้นอัตโนมัติในอัตรา 5% ต่อปีของค่าเช่าครั้งสุดท้าย ณ วันครบรอบปีต่อไป จนกว่าจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธ.ค.2551 และเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร ,สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us