Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 สิงหาคม 2551
ธอส.อ่วมหนี้NPLพุ่ง 11%ฉุดกำไรลด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Banking and Finance




ธอส.อ่วม "ขรรค์" ครวญภาวะเศรษฐกิจรุมเร้า ขณะที่เกณฑ์จัดชั้นหนี้ทำพิษ จุกเอ็นพีแอลพุ่ง 11.84% อ้อนคลังเลื่อนบังคับใช้ไอเอเอส 39 แบงก์รัฐออกไปปี 55 หวั่นปล่อยกู้สนองนโยบายรัฐยาก เผยผลประกอบการครึ่งปีกำไรลดเหลือ 727 ล้านบาทหลังเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารปรับเปลี่ยนวิธีการจัดชั้นหนี้จากระบบนับงวดค้าง เป็นแบบนับวันสะสม (เดย์พาสดิว) ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ทางเทคนิคพุ่งขึ้นทันที 30,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีเอ็นพีแอลพุ่งขึ้นไปอีก 50,000 ล้านบาท พร้อมยอมรับว่าเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพกลับเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่มีความผันผวน แต่ ธอส.ได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยให้นานที่สุด เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ธอส.กำลังพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่ โดยวางแผนงาน 3 ประการที่จะลดเอ็นพีแอล และมีเป้าหมายว่าสิ้นปีนี้จะมีเอ็นพีแอลไม่เกิน 80,000 ล้านบาท จากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา มีเอ็นพีแอล 68,991 ล้านบาท หรือ 11.84% จากปีก่อนที่มีเพียง 5.81%

“การเปลี่ยนวิธีคำนวณทำให้ลูกค้าสวัสดิการต่างกว่า 70,000 บัญชี รวมมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาทนั้นมีปัญหาเอ็นพีแอลทางเทคนิคทันที เพราะหลังจากที่ธอส.อนุมัติสินเชื่อแล้ว ต้นสังกัดของลูกค้าสวัสดิการเหล่านั้นตัดบัญชีในงวดแรกไม่ทันตามวันที่กำหนด ต้องมาเริ่มตัดบัญชีทันในงวดที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งหากนับตามระบบเดิมที่ใช้มา 20-30 ปี จะยังไม่เป็นเอ็นพีแอลเพราะยังไม่ครบ 90 วัน แต่ระบบใหม่นี้ ค้างชำระเพียงวันเดียวก็เริ่มนับเอ็นพีแอลแล้ว และทำให้ลูกค้าสวัสดิการทั้งหมดมีปัญหาดังกล่าวขึ้นมาทันที ทั้งนี้ได้เริ่มแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว โดยเหลือเพียง 10,000-20,000 บัญชีเท่านั้น”

สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ธอส.จะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ โดยเข้าสู่ระบบรวมศูนย์ และสำหรับลูกค้าสวัสดิการนั้น เมื่อได้รับอนุมัติเงินกู้แล้ว อาจจะเก็บเงินใน 2 งวดแรกทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น นอกจากนี้จะติดตามหนี้ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ รวมทั้งจ้างบุคคลภายนอกติดตามหนี้บางประเภทออกไป

นอกจากนี้ ธอส.ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ ไอเอเอส 39 ออกไปจากเดิมที่ต้องใช้ภายในปี 52 นี้เป็นปี 55 โดยระหว่างนี้จะพยายามตั้งสำรองให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 20% เนื่องจาก หากตั้งสำรองตามเกณฑ์ธปท.ทันที จะมีผลทำให้ธอส.ขาดทุน กระทบต่อฐานะธนาคารในแง่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) และจะปล่อยกู้ไม่ได้ ขณะที่ต้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล แต่ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังเองยังไม่ได้เพิ่มทุนให้

ผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ธอส.ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 34,523 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่ปล่อยได้ 45,309 ล้านบาท ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 582,744 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.74% มีสินทรัยพ์รวม 637,394 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.67% มีสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) 7,425 ล้านบาท ทำให้มีผลกำไรสุทธิ 727 ล้านบาท ลดลง 4.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปีนี้จะปล่อยสินเชื่อได้ 80,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,700 ล้านบาท

“ครึ่งปีแรก ถ้าเราไม่ต้องสำรองตามเกณฑ์ เราจะทำกำไรได้มากกว่า แต่ได้ต้องตั้งสำรองไป 4,092 ล้านบาท และถ้าใช้ไอเอเอส 39 จริง ๆ แล้วต้องสำรองที่ 50% หรือเพิ่มอีกรวมแล้วเป็น 9,000 ล้านบาท แม้ว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเอ็นพีแอลเพิ่มมากขึ้น แต่เราต้องพยายามทำให้สถานการณ์คงที่ให้ได้และประคองให้ผ่าน 1-2 ปีนี้ไปให้ได้ก่อน”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us