Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 กรกฎาคม 2546
KCE ทุ่มกว่า 200 ล้าน ผลิต "อินเนอร์เลเยอร์"             
 


   
search resources

เคซีอี อีเลคโทรนิคส์, บมจ. - KCE
พัฒนสิน, บล
Electronic Components




KCE ทุ่มกว่า 200 ล้านบาท ขยายไลน์การผลิต อินเนอร์เลเยอร์ ด้วยกำลังการผลิต 3 แสนตารางฟุต โดยใช้เงินสดและอาจต้องกู้เพิ่มบางส่วน ปีนี้ตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ฟื้นแล้ว คาดปีนี้รายได้กว่า 4 พันล้านบาท และกำไรโตกว่า 100% จากปีก่อน ผลจากบริษัท ย่อยที่ก่อนหน้านี้ฉุดให้ผลประกอบการขาดทุนเริ่มทำกำไรเข้ามาแล้ว

นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการบริษัท เคซีอี อิเลคโทรนิกส์ จำกัด(มหาชน) (KCE) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ในระหว่างการขยายไลน์การผลิต อินเนอร์เลเยอร์ โดยจะขยายไลน์ในโรงงานที่ 3 ที่สร้าง เสร็จแล้ว และจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ไตรมาส 4 ปีนี้ โดยในช่วงแรกจะทดลองเดินเครื่องผลิตก่อน

สำหรับ อินเนอร์ เลเยอร์ เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แผ่น Printed Circuit Board (PCB) ซึ่งอินเนอร์เลเยอร์นี้ จะมีกำลังการผลิต 3 แสนตารางฟุต โดยบริษัทต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อใช้ในการผลิต สำหรับเงินที่ใช้ในการลงทุนเพื่อขยายการผลิตสินค้าตัวใหม่นี้ KCE ทุ่มทุ่นกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะใช้เงินทุน หมุนเวียนจากการดำเนินงานมาใช้ลงทุนครั้งนี้ แต่หากเงินสดไม่พอต้องกู้จากสถาบันการเงินเพิ่ม และขณะนี้ภาวะตลาดการเงินเอื้อต่อการลงทุนมาก เพราะดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์

ปัจจุบัน KCE มีกำลังการผลิต PCB 6 แสนตารางฟุต หลังจากขยายโรงงานเฟสที่ 3 แล้ว จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเป็น 9 แสนตารางฟุต ในช่วงที่ผ่านมา KCE ได้ขยายโรงงานอย่างต่อเนื่อง เพราะโรงงานเฟส 2 ได้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตแล้ว ดังนั้นเฟส 3 เพื่อรองรับการผลิตที่เติบโตขึ้นตามออร์เดอร์ที่สั่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

โดยสัดส่วนการผลิตของ KCE คือ Double-Sided 45% และ Multi-Layer 55% ซึ่งทั้งสองส่วนนี้คือชิ้นส่วนที่ผลิต PCB ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของ KCE เปลี่ยนไปจากก่อนหน้านี้ คือขายในประเทศ 9% ที่เหลือส่งออกขายยังต่างประเทศแบ่งเป็นยุโรป 51% สหรัฐอเมริกา 26% ที่เหลือเป็นประเทศในแถบเอเชียคือ 14%

"ยอดขายปีนี้ของเราน่าจะไม่ต่ำกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีกำไรเกินกว่า 100% จากปีก่อนเพราะตลาดสดใสมาก และแนวโน้มดีกว่าปีที่แล้วมาก" นายปัญจะกล่าว

สำหรับภาวะของตลาด PCB นั้น ยังเป็นที่ต้องการของลูกค้า และปีนี้แนวโน้มดีกว่าปีก่อนมาก เนื่องจากความต้องการของตลาดมีเพิ่มขึ้น ที่สำคัญลูกค้ารายใหญ่หลายรายเริ่มเข้ามาหาแล้ว นอกเหนือจากที่มีอยู่ปัจจุบัน อีกทั้งปัญหาการทุ่มตลาด PCB จากไต้หวันได้คลี่คลายแล้ว ทำให้การขาย PCB ในตลาดกลับมาขายราคาปกติได้ หลังจากที่ KCE ต้องลดราคาลดต่ำกว่าที่เคยขายเพื่อให้ แข่งขันในตลาดได้

นอกจากการขยายกำลังการผลิต PCB แล้ว KCE ยังขยายการลงทุนในการผลิตลามิเนตเพิ่มขึ้นอีก เพราะเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตแผ่น PCB ซึ่งการผลิต ลามิเนตใช้เองนี้ เป็นวิธีการลดต้นทุนในการดำเนินงานทางหนึ่ง และย่อมส่งผลต่อการดำเนินงานที่สามารถลดและควบคุมต้นทุนได้ระดับหนึ่ง

สำหรับการดำเนินงานของ KCE ไตรมาสแรกของปีนี้พบว่า บริษัทมีรายได้สุทธิ 617.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 478.61 ล้านบาท ส่งผลให้จากที่ขาดทุนอยู่ 15.04 ล้านบาทเป็นมีกำไร 89.67 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายที่โตขึ้น ขณะเดียวกันกับที่โรงงานแห่งที่สองรับรู้รายได้เข้ามาแล้ว หลังจากที่ปีก่อน KCE ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการขยายงาน คือการสร้างโรงงานของ บริษัท เคซีอี เทคโลโลยี จำกัด (KCET) ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวยังไม่ทำเงินเข้ามาให้กับKCE ซึ่งเป็นบริษัทแม่ และกลายเป็นตัวฉุดให้ผลประกอบการของบริษัทต้องประสบกับภาวะการขาดทุน

บทวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน จำกัด(มหาชน) (CNS) เปิดเผยว่า KCE เป็นบริษัทคนไทยที่รับจ้างประกอบ Printed Circuit Board (PCB) ทั้งที่เป็น Double-Sided และ Multi-Layer ให้แก่บริษัทชั้นนำทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

โดยปี 2546 KCE ได้เริ่มเดินเครื่องสายการผลิตในเฟสที่ 2 กำลังการผลิต 300,000 ตร.ฟุต ตั้งแต่ต้นปี 2546 และคาดว่าสายการผลิตในเฟสที่ 3 กำลังการผลิตอีก 300,000 ตร.ฟุต จะเริ่มเดินเครื่อง ได้ในราวต้นปี 2547 ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมด ของ KCE อยู่ที่ 1.5 ล้าน ตร.ฟุต จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 ล้าน ตร.ฟุต

ขณะที่ TML ได้ขยายกำลังการผลิตในเฟสที่ 3 อีก 2 เท่าจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ 2.67 ล้านตร.ฟุต ต่อเดือน เพื่อรองรับส่วนขยายของ KCET จากแผนการขยายกำลังการผลิตของ KCET ทำให้ KCE มีแนวโน้มที่จะลดอัตราส่วนการจ่ายเงิน ปันผลลงจากปี 2545 ที่จ่ายในสัดส่วน 41.6%

บทวิเคราะห์ระบุว่า CNS ประมาณการรายได้ ปี 46 ของ KCE จะมีอัตราการขยายตัวถึง 21.2% เป็น 4.4 พันล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นเป็น 23.5% จาก 21.2% ในปี 2545 เนื่องจาก Product Mix ที่เป็นแบบ Multi-Layer มากกว่าในปี 2545 ที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรสุทธิใน ปี 2546 คาดว่า KCE จะสามารถทำได้ถึง 339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129 % และจะเพิ่มขึ้นเป็น 443.8 ล้านบาทในปี 2547 หรือขยายตัว 30.9% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี

อย่างไรก็ตาม จากการปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของ Nomura Research Institute (NRI) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกา และยุโรปมีแนวโน้มที่ไม่สดใสในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2546 นี้ โดยฐานลูกค้า 30% ของรายได้ของ KCE อยู่ในยุโรป ทำให้แนวโน้ม ผลประกอบการในครึ่งหลังอาจไม่สดใสอย่างที่คาด กอปรกับการปรับประมาณการเงินปันผลลงจาก 4.4 บาทต่อหุ้นเป็น 2.9 บาท และราคา ณ ปัจจุบัน Discount จากราคาตามปัจจัยพื้นฐานเพียง 6.8% CNS จึงคงคำแนะนำ "ถือ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us