|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บลจ.สนับสนุนพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (11 ส.ค.) ชี้ระยะแรกของการเริ่มใช้ประชาชนจะไม่ตื่นตัว แต่จะเริ่มให้ความสนใจการลงทุนอื่นๆมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 เป็นต้นไป ขณะที่แบงก์จะแข่งขันอย่างดุเดือดในอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อรักษาฐานและเม็ดเงินของตน ด้าน “ฟินันซ่า”เตรียมออกกองใหม่มารองรับโดยเฉพาะ ส่วนนักวิชาการนิด้า เชื่อช่วยปลุกตลาดหลักทรัพย์ ตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาลตื่นตัว และอาจเห็นการควบรวมของแบงก์เล็ก
นายวนา พูนผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด กล่าวถึงการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากในวันแรก (11ส.ค.)ว่า ในช่วงแรกนี้ผู้ฝากเงินจะไม่มีกระแสความตื่นตัวมากเท่าไหร่ เพราะยังอยู่ในเป็นระยะเวลาที่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน ผู้ฝากเงินจะไม่ทำอะไรกับเงินฝากของตนมากนัก แต่หลังจาก 1 ปีนี้ผ่านไปจนถึงในปี 2555 การคุ้มครองวงเงินฝากที่น้อยลง จะเร่งให้กลุ่มผู้ฝากเงินมองหาลู่ทางอื่นมาเสริมแทน และทำให้ในช่วง 2 – 3 สุดท้ายผู้ฝากเงินจะมีการปรับตัวหาทางแก้ไขมากขึ้น
“พอใกล้เวลาที่วงเงินคุ้มครองจะเหลือแค่ 1 ล้านบาท ผู้ฝากเงินจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับศักยภาพของธนาคารที่ตนเองฝากเงิน ว่ามีสภาพคล่อง และความมั่นคงของการเงินมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในเรื่องนี้ย่อมส่งผลต่อแบงก์เล็ก ขณะเดียวกันเม็ดเงินฝากในระบบจะปรับตัวลดลง แต่คงจะไม่มากเหมือนในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่เม็ดเงินจะไปอยู่ที่ด้านการลงทุนมากกว่า”นายวนา กล่าว
ขณะเดียวกันจากนี้ไป จะพบว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มมีการแข่งในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากมมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะมีผลมากระทบกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมแน่ แต่จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่ในระยะยาว เนื่องจากการที่ธนาคารนำเสนอดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราพิเศษ ย่อมหมายถึงทางธนาคารแห่งนั้น จะต้องมีช่องทางการระบายเงินในรูปแบบสินเชื่อได้ดี มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเงินระบบตึงตัว โดยแม้จะระดมเงินทุนจากผู้ฝากได้เยอะ แต่ถ้าไม่สามารถหาทางระบายเงินผ่านทางอื่นเพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาได้ ก็จะเกิดปัญหา ทำให้เชื่อว่าการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารจะไม่เป็นไปในระยะยาว
“เรื่องการโหมออกโปรโมชั่นด้านเงินฝากของแบงก์ เชื่อว่าจะไม่ทำกันนาน แต่จะเป็นการทำในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยคาดว่าจะเริ่มเบาบางลงในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้”
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย กล่าวถึงข้อดีของการมีพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ว่า การเติบโตของกองทุนมันนี่มาร์เก็ตของสหรัฐอเมริการมาจากการประกาศใช้พรบ.ประกันเงินฝาก ซึ่งคนในอเมริกันได้หาวิธีการออมเงินรูปเเบบใหม่เพื่อเป็นการทดเเทนการฝากเงิน ส่วนการประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าวในประเทศไทยนั้นย่อมส่งผลดีต่อบลจ.เช่นกัน
"ตามจริงเราเห็นด้วยที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพราะต่อไปนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้เพื่ออุ้มธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยหนี้สินโดยไม่รอบครอบทำให้เกิดหนึ้เสียตามมา โดยต่อจากนี้การปล่อยสินเชื่อต่างๆต้องมีความรอบครอบขึ้น เเต่สิ่งที่อยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำก็คือ ช่วยกันให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพรบ.ประกันเงินฝาก เนื่องจากประชาชนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าการมีพรบ นั้นมีไปเพื่ออะไร เเล้วจะได้รับผลประทบอะไรตามมา"
ฟินันซ่าเล็งออกกองเฉพาะกิจ
นายธีระ ภู่ตระกูล กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บลจ. ฟินันซ่า จำกัด กล่าวถึงในเรื่อง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีผลบังคับใช้ในวันนี้ว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่จะต้องเริ่มต้นทำเพราะในต่างประเทศเองมีการคํ้าประกันไว้เช่นกัน แต่ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีเรื่องของการเมืองเข้าไปแทรกแซงด้วย ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองได้มีการเข้าไปอุ้มธนาคารขนาดใหญ่ที่ประสบปัญหา เนื่องจากไม่ต้องการให้ธนาคารขนาดใหญ่ล้มลง ส่วนธนาคารขนาดเล็กอาจจะมีการปล่อยให้ล้มไปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยที่จะยุติธรรมเท่าไรนัก
นอกจากนี้ทาง บลจ. ฟินันซ่าเอง ได้เตรียมที่จะออกกองทุนประเภท มันนี่ มาร์เก็ตฟัน เพื่อรองรับการลงทุน โดนจะออกภายในเดือนนี้ แต่ในขณะนี้ทาง บลจ.เอง กำลังรอดูอยู่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งคาดว่าคงไม่ย่าแย่ลงไปกว่านี้
จี้แบงก์อย่าปล่อยโอกาสหลุดมือ
ด้านนายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ.นครหวงไทย กล่าวว่า สำหรับเรื่องพร.บ.สถาบันเงินฝากนั้นนั้น เชื่อว่าประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงวันเริ่มมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ทำให้ในวันแรกไม่มีผลหรือความตื่นตัวเท่าไร ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับเร่องนี้มากเป็นพิเศษตั้งแต่ก่อนวันบังคับใช้ ดูได้จากการแข่งขันด้านแคมเปญอัตราดอกเบีร้ยเงินฝากในระดับสูงที่มีเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนเอง
โดยในช่วงเริ่มต้นของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จะได้รับประโยชน์ จากความเชื่อถือและความมั่นคงของธุรกิจจากผู้ฝากเงิน ผิดกับบรรดาธนาคารขนาดเล็ก เพราะถ้าปล่อยโอกาสในรอบนี้ออกไปจะส่งผลต่อไปในอนาคต ซึ่งอาจทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เข้าแย่งเม็ดเงินและบัญชีลูกค้าไปหมด
“วันที่ 11 สิงหาคมนี้ คงไม่มีอะไร เพราะยังเป็นปีแรกที่จะเริ่มให้ความคุ้มครอง ซึ่งยังอยู่ในช่วงคุ้มครองเต็มจำนวน ขณะที่ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทนั้น มองว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีคนจากธนาคารคอยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆอยู่แล้ว ขณะที่รายย่อยอาจต้องรออีกสักระยะหนึ่ง”นายนที กล่าว
นิด้าชี้ช่วยปลุกตลาดหุ้น –ตราสารหนี้
รศ.มนตรี โสคติยานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมนี้มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองเงินฝากทุกบัญชีในปีแรกไม่จำกัดวงเงิน ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท และปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท ต่อ 1 บัญชีต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง ซึ่งการบังคับใช้ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประชาชนที่มีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท จะเลือกการออมเงินในรูปแบบอื่น เช่น การลงทุนในตลาดทรัพย์ การซื้อตราสารหนี้ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเหล่านี้มีเม็ดเงินจากการลงทุนเพื่อออมเงินของประชาชนเข้ามาในตลาดมากยิ่งขึ้น
“การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะทำให้ประชาชนที่มีเงินออมจำนวนมาก ต้องบริหารเงินออม โดยรูปแบบอาจกระจายการออมเงินไปยังธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง หรือกระจายการออมเงินสู่การลงทุนอื่นๆ เพื่อการออมทรัพย์ ส่งผลให้การออมในรูปแบบของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือพันธบัตร ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ หรือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้รับความสนใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุนอีกด้วย” รศ.มนตรี กล่าว
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้ความคุ้มครองเงินฝาก โดยจะมีรายได้จากการเรียกเก็บเบี้ยประกันเงินฝากจากสถาบันการเงิน ที่นำเงินฝากที่ได้จากผู้ฝากเงินมาทำประกันคุ้มครองเงินฝากอีกทอดนั้น ซึ่งในระยะแรกนั้นสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเรียกเก็บประกันเงินจากสถาบันการเงินเท่ากัน ทุกแห่ง ในอัตรา 0.40%ของเงินฝาก เริ่มตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป โดยการเก็บเบี้ยประกันเงินฝากของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเรียกเก็บเบี้ยประกันจากสถาบันการเงินไม่เท่ากัน ซึ่งใช้เกณฑ์เรื่องของฐานะการเงินและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน มาเป็นตัววัดในการเรียกเก็บเบี้ยประกัน
แบงก์อาจต้องควบรวมเพื่ออยู่รอด
ทั้งนี้ จะทำให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สถาบันการเงินเสียเบี้ยประกันเงินฝากกับสถาบันคุ้มครองเงินฝากในอัตราที่ต่ำ เพื่อหวังให้ต้นทุนในการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ต่ำลงด้วย ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กที่มีการบริหารการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ต้องควบรวมกิจการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มอำนาจการแข่งขันในกลุ่มสถาบันการเงิน รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้ฝากเงิน
รศ.มนตรี กล่าวว่า สถาบันประกันเงินฝากจึงเป็นจิ๊กซอว์ที่ช่วยให้ระบบสถาบันการเงินมีความสมบูรณ์และมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เมื่อสถาบันการเงินมีการพัฒนา ประชาชนก็จะมีความเชื่อมั่นในการฝากเงินมากขึ้น เพราะมีสถาบันประกันเงินฝากเข้ามาดูแลในการคุ้มครองเงินฝากให้ จึงทำให้แต่ละฝ่ายสามารถกำกับซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนเสา 3 ต้นที่ช่วยค้ำจุนระบบสถาบันการเงินของไทย ที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมต่อไปในอนาคต
|
|
 |
|
|