นอร์เทลยื่นข้อเสนอน่าสนใจ โครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ เปิด 2 ทางเลือกลงทุน
8 พันล้านบาท 1 พันสถานี ฐานครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยคุณสมบัติดีกว่าข้อเสนอ 3.1
หมื่น ล้านบาท หรือ 150 สถานีฐาน 15 เมืองยุทธศาสตร์ ลงทุน 1 พันล้านบาท ชี้ทางออก
กสท.จะลงทุนบนพื้นฐานสนองความต้องการตลาดแท้จริงหรือเลือกลงทุนครอบคลุมทั่วประเทศเพราะแรงอีโก้
(EGO)
นายจุลภาส เครือโสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ (ประเทศไทย)
กล่าวว่าเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา นอร์เทล ได้ทำหนังสือถึง น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงไอซีทีในฐานะประธานบอร์ดการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) และนายธีระพงษ์ สุทธินนท์ ผู้ว่าการกสท.เพื่อเสนอทางออกโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ
ภูมิภาค ภายหลังจากที่บริษัทเรียลไทม์ ในกลุ่มยูคอม ไม่ยอมยืนราคาที่ประมูล
"คนที่ไม่ยอมยืนราคาคือเรียลไทม์ ไม่ใช่นอร์เทล ซึ่งเมื่อเป็นอย่าง นี้แล้วทำไมไม่ยอมให้นอร์เทล
ดำเนินการต่อ"
ข้อเสนอของนอร์เทล แบ่งเป็น 2 ทางเลือก ภายใต้หลักการว่ากสท. จะต้องซื้อเน็ตเวิร์กตรงจากซัปพลายเออร์
เพื่อตัดปัญหาบุคคลที่ 3 ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งทำให้ต้น ทุนสูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยเหมือน
การประมูลที่ผ่านมาคือ แนวทางที่ 1 นอร์เทลเสนอที่จะส่งมอบอุปกรณ์ ระบบ CDMA 1X ในลักษณะ
Full Turnkey สำหรับ 1,000 สถานี ฐานในราคาที่ต่ำกว่า 8 พันล้านบาท (ประมาณ 200
ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยทางนอร์เทล จะจัดหาไฟแนนซ์ ให้ด้วยเป็นระยะเวลา 6-7 ปี โดย
ที่ติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 9 เดือน
"อุปกรณ์ที่กสท.จะได้ รับรองว่าไม่ต่างจากข้อเสนอ 3.1 หมื่น ล้านบาทคราวที่แล้ว
แต่ตอนนี้ดีกว่าเก่าด้วยเพราะนอร์เทลจะแถมระบบ EVDO ให้ด้วยซึ่งจะทำให้การสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วเต็มที่
2 เม็ก ในราคาเพียงไม่ถึง 8,000 ล้านบาท"
ภายใต้ข้อเสนอไฟแนนซ์ 6-7 ปี หมายถึง กสท.จะเริ่มจ่ายเมื่อเน็ตเวิร์กติดตั้งแล้วเสร็จ
และจ่ายเพียงดอกเบี้ยในช่วงปีแรกถึงปีที่ 6 ซึ่งเมื่อถึงปีที่ 7 ถึงจะจ่ายคืนเงินต้น
ซึ่ง กสท.จะคุ้มทุน มีเงินจ่ายค่าอุปกรณ์ให้นอร์เทล เมื่อฐานลูกค้ามีประมาณ 9.8
แสนรายและรายได้ต่อเลขหมายประมาณ 540 บาท สำหรับการทำตลาดเกือบ 6 ปี
แนวทางที่ 2 เพื่อให้กสท. ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น และสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาด้านการตลาดประกอบกันคือ
ลงทุนเฟส 1 จำนวน 150 สถานีฐาน ใน 15 เมือง ใหญ่ๆ ติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ในวงเงินต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (25 ล้านเหรียญสหรัฐ)
แนวทางนี้นอร์เทลเสนอทำไฟแนนซ์ด้วยหลักการเช่นเดียวกัน โดยปีแรกถึงปีที่ 6 ดอกเบี้ยประ-
มาณ 5% หรือปีละ 50 ล้านบาท พอ ขึ้นปีที่ 7 กสท.ก็จ่ายคืนเงินต้นทั้งหมดหรืออาจใช้วิธีรีไฟแนนซ์เมื่อมีฐานลูกค้ามากพอสมควร
แนวทางนี้จุดคุ้มทุนของ กสท.ต้องมีลูก ค้าเพียง 2 แสนคนเท่านั้นก็คุ้มค่า เพราะลูกค้าของซีดีเอ็มเอเป็นคนที่ต้องการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง
แนวทาง 150 สถานีฐาน 15 เมืองใหญ่ ลงทุน 1,000 ล้านบาท ในสายตาของเขาซึ่งเคยผ่านการดีลโครงการดีพีซี
โทรศัพท์มือถือในระบบจีเอสเอ็ม 1800 เมื่อครั้งเป็นผู้บริหารในกลุ่มสามารถ ถือ
ว่าน่าสนใจสำหรับกสท.อย่างมาก เนื่องจาก 1.เมื่อพิจารณาด้านการตลาด ลูกค้าซีดีเอ็มเอ
ต้องทำการตลาดในลักษณะ Pull Marketing หรือการดึงลูกค้าเข้าสู่ระบบ เพราะ ลูกค้าซีดีเอ็มเอ
เป็นกลุ่มคนที่ต้อง การใช้ประโยชน์การสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การเดินทางไปต่างจังหวัด
มักเลือกหัวเมืองใหญ่ๆหรือจังหวัดท่องเที่ยว ต่างจากการตลาดของระบบจีเอสเอ็ม ที่เป็น
Push Market กระตุ้นให้ลูกค้าใช้งานให้มากๆ
2.พื้นที่ให้บริการครอบคลุม วันนี้ซีดีเอ็มเอไม่จำเป็นต้องครอบ คลุมทั่วประเทศเหมือนจีเอสเอ็ม
แต่ควรเลือกครอบคุลมในพื้นที่ที่มีความต้องการมากกว่า เนื่องจากซีดีเอ็มเอ สามารถโรมมิ่งกับระบบเดิมของกสท.ในการใช้บริการด้านวอยซ์ได้ทั่วประเทศอยู่แล้ว
การเลือกลงทุนในจังหวัดที่น่าจะมีการใช้งานด้านข้อมูลต่างหาก ถึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ
มากกว่าต้องการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยไร้เป้าหมายการตลาดที่ชัดเจน
"สิ่งสำคัญในเรื่องการลงทุนซีดีเอ็มเอของกสท.คือลงทุนในพื้นที่มีความต้องการ
มากกว่าลงทุนเพราะอีโก้"
หากกสท.เลือกที่จะลงทุนในขนาดที่จำกัด ก็จะลดต้นทุนด้านการตลาดไปได้มาก เพราะอาศัยการทำตลาดของ
HUTCH ในกรุงเทพฯและอีก 20 กว่าจังหวัดโดยรอบ สิ่งที่กสท.ต้องลงทุนเพิ่มคือระบบบิลลิ่งและระบบบริการลูกค้า
ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากกสท.สามารถจ้างเอกชนเอาซอร์ตไปดำเนินการได้
นอร์เทลยังอยู่ระหว่างเจรจากับซัมซุง เพื่อให้ช่วยซัพพอร์ตตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือให้ไม่ว่ากสท.
จะเลือกลงทุนวิธีไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเหมือนที่เกิดกับ HUTCH ในช่วงแรกที่เครื่องโทรศัพท์มือถือไม่พร้อมรองรับ
การที่นอร์เทลดิ้นรนทำหนัง สือถึงรมว.ไอซีทีเพราะ 1.น.พ. สุรพงษ์ พูดเสมอว่าซีดีเอ็มเอเป็นเรือธงของกสท.ในการทำธุรกิจในอนาคต
ครั้งนี้นอร์เทลหาโซลูชั่นข้อ เสนอที่เหมาะสมโดยที่กสท.ไม่เสีย ประโยชน์และไม่ทำให้กสท.เสียหายมากกว่านี้ในลักษณะการเสียโอกาส
เพราะ HUTCH รุกตลาดในกรุงเทพฯด้วยโปรโมชันที่จูงใจมาก ไม่ว่าซื้อเครื่องแถมเครื่อง
หรือ เครื่องราคาถูกมาก หากมีการทำตลาดภูมิภาคควบคู่ไปด้วยกันหรือ ลูกค้าสามารถใช้คุณสมบัติสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงในจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆ
น่าจะเป็นโอกาสดีในการทำตลาด
2.น.พ.สุรพงษ์พูดเสมอว่าต้องการให้ราคาถูกลงกว่า 3.1 หมื่น ล้านบาทที่เรียลไทม์กับนอร์เทลเคย
เสนอ ซึ่งข้อเสนอครั้งใหม่นี้เหลือแค่ไม่ถึง 8 พันล้านบาท หรือเลือก ทำเพียง 1
พันล้านบาทก็ได้เพื่อทด สอบตลาดก่อน
3.กสท.ได้เงื่อนไขและอุปกรณ์ที่ดีมากกว่าเก่า รวมทั้งไฟแนนซ์ที่ความเสี่ยงต่ำมาก
เพราะหากกสท.ซื้อเองโดยตรงไม่ต้ำงทำเงื่อนไขอาศัยบุคคลที่ 3 เหมือนการประมูลที่ผ่านมา
ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยลดลงมาก
4.นอร์เทลไม่เกี่ยงที่จะให้ซัปพลายเออร์ที่ผ่านการทดสอบด้านเทคนิค เข้ายื่นข้อเสนอแข่งขันกันเพื่อให้กสท.ได้ประโยชน์ที่สุด
"นอร์เทลจะยื่นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับกสท.ประโยชน์กับ ประเทศชาติ ไม่เอาภาษีอากรมาถลุงเล่น
จนกว่าจะมีคนออกมาบอกว่าจะทำหรือไม่ทำโครงการซีดีเอ็มเอ เพราะหากล้มประมูลให้ยื่นประมูลใหม่
อย่างน้อยนพ.สุรพงษ์จะได้มีข้อเสนอของนอร์เทลเป็น Benchmark ในการเปรียบเทียบได้"