สสว.เป็นแกนกลางร่วมหน่วยงานรัฐจัดทำแผนปฏิบัติการ SMEs ระดมทุกหน่วยงานพิจารณาโครงการที่เหมาะสมภายใต้
6 ยุทธศาสตร์ หลักใส่ในแผนปฏิบัติการ พร้อมกำหนดนโยบายการบริหารจัดการเดิน ตาม
3 แนวทาง จัดสรรงบภายใต้กรอบแผนแม่บท ส่งให้สำนักงบประมาณใช้เป็นแนวทาง ตั้งคณะทำงานรับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์
หลัก โดยตั้งคณะทำงานพิจารณาโครงการที่เหมาะสม
ลิขิต หงส์ลดารมภ์ ที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
กล่าวถึงแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่า หลังจากแม่บท
SMEs ผ่านการเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการปี
2547-2549 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทระดับชาติ โดยสำนักงบประมาณจะใช้แผนปฏิบัติการนี้เป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณต่อไป
โดยขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการสสว.เป็นการพิจารณา จากโครงการที่หน่วยงานต่างๆ เสนอมากว่า
260 โครงการ พิจารณาแนวคิดของโครงการที่เหมาะสมตลอดจนแนวทางการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการจัดนโยบายส่งเสริมในอดีตที่ผ่านมาคือ การขาดทิศทางหลักของนโยบายและการดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำขาดการเชื่อมโยงกัน
มาในปัจจุบันเริ่มดำเนินไป ในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งนี้เพราะมี กฎหมายหลักคือ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
พ.ศ. 2543 และสสว.ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานในการจัดทำ แผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง โดยแนวทางการบริหารจัดการนโยบายส่งเสริมควรมีการปรับเปลี่ยนไปใน
3 แนวทางคือ
1. การจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศต้องอยู่ภายใต้กรอบแผนส่งเสริมและปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ
โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณไปเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณ
2. ในการจัดทำแผนปฏิบัติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องกำหนด ให้มีหน่วยงานหลัก
หรือเจ้าภาพในแต่ละยุทธศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการดูแลร่วมกับสสว.
3. คณะกรรมการบริหารสสว.ต้องจัดตั้งคณะอนุกรรม การหรือคณะทำงานพิจารณาโครงการภายใต้แผนปฏิบัติ
การส่งเสริม SMEs โดยมีสสว.เป็นเลขานุการเพื่อพิจารณา โครงการที่บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการ
โดยกำหนดให้มี การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการเพื่อขอรับ การจัดสรรงบประมาณ
กำหนดวงเงินงบประมาณ เพื่อใช้ในการดำเนินการ คัดเลือกลำดับความสำคัญของโครงการของหน่วยงานต่างๆ
ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนงาน
ที่ปรึกษาสสว. กล่าวว่าที่ผ่านมาภาครัฐมีความต้องการผลของการจัดทำโครงการโดยหน่วยงานต่างๆ
ในเรื่องการ ส่งเสริมผู้ประกอบการเป็นปริมาณมากเช่นการอบรมผู้ประกอบการที่หวังผลให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ในปริมาณมาก
แต่ผลที่ได้เป็นสัดส่วนต่ำกว่าจำนวนที่เข้าอบรมเป็นอย่างมาก การจัดทำแผนปฏิบัติการที่ต้องสอดคล้องกับแผนแม่บท
SMEs ตามแนวใหม่นี้คาดว่าจะส่งผลให้ นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ของไทยได้ผลดีมาก
กว่าที่ผ่านมา