Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
กลยุทธ์ปรับโครงสร้างงานวิจัย&พัฒนารับยุโรป 1992             
 


   
search resources

โอลิเวตติ
บรูโน ลัมโบร์กินี่
Research




การวิจัยและพัฒนาจะเป็นแขนงธุรกิจหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในยุโรปยุคทศวรรษ 1990 ซึ่งเน้นความก้าวหน้าทางเทคนิคอย่างมากการจะดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในตลาดร่วมได้นั้น บริษัทต่างๆ ต้องมีความริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องปรับสินค้าที่มีอยู่แล้วให้มีมาตรฐานใหม่ พัฒนาสินค้าไฮเทคแบบใหม่ๆ เพื่อฉกฉวยโอกาสใหม่ๆ ที่มีขึ้น

ปัจจุบันต้นทุนของการวิจัยและพัฒนามักสูงคิดเป็น 5% ของทุนหมุนเวียน ทำให้บริษัทเล็กๆ จำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือทั้งในด้านของสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องแล็บและเงินทุน บริษัทเหล่านี้สามารถรับความช่วยเหลือด้วยการร่วมมือกัน รวมทั้งรับเงินช่วยเหลือภาครัฐบาล หรือไม่ก็จากสมาคมวิจัยของแต่ละแขนงอุตสาหกรรม หรือจากโครงการวิจัยและพัฒนาของอีซีก็ได้

สำหรับบริษัทขนาดใหญ่นั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็แตกต่างกันไป โดยห้องแล็ปเพื่อการวิจัยของบริษัทเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่มีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรประจำราว 100 คน แต่บริหารแบบรวมศูนย์เป็นขั้นตอนแบบราชการมากเกินไป ทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ไม่มีแรงผลักดันจากความริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการเลียนแบบโครงการที่ตั้งอยู่คนละแห่งกันซึ่งถือเป็นการสูญเปล่านั่นเอง ผลคือปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่ต่างตระหนักแล้วว่า งานวิจัยและพัฒนาต้องได้รับการจัดการ และต้องปรับให้เป็นไปตามหลักของเหตุและผลในแง่ของงานวิจัย เพื่อเตรียมรับมือกับการพัฒนาของตลาดร่วมยุโรป

เครือข่ายระหว่างประเทศของ "โอลิเวตติ"

โอลิเวตติได้ชื่อว่าเป็นซัพพลายเออร์อุปกรณ์ในสำนักงานรายใหญ่ที่สุดของอิตาลี และทำยอดขายเมื่อปี 1988 ได้ 6.5 พันล้านดอลลาร์นั้น ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเป็นอันดับแรกมานานแล้ว ปี 1987 โอลิเวตติใช้งบวิจัยและพัฒนาคิดแล้วเท่ากับ 6% ของยอดขายรวม ต่อมาก็เพิ่มเป็น 7% ซึ่งแน่นอนว่าเงินทุนที่ต้องใช้ก็ย่อมทะยานสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะส่วนใหญ่จะใช้ไปในการธุรกิจคอมพิวเตอร์ ส่วนธุรกิจผลิตพิมพ์ดีดนั้นต้องการเงินทุนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในปี 1986 โอลิเวตติตัดสินใจปรับโครงสร้างส่วนวิจัยและพัฒนาซึ่งบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นการเตรียมรับมือกับตลาดร่วมยุโรปที่กำลังใกล้เข้ามาทุกที

แนวโน้มของการต้องเน้น "1992" มีบทบาทและความหมายในตัวของมันเอง ถือเป็นโอกาสอันสำคัญยิ่งของอุตสาหกรรมในยุโรปด้วย "บรูโน ลัมโบร์กินี่" ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนเชิงยุทธศาสตร์องค์กรให้ความเห็น "การรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยุโรปนี้ถือว่ามีความสำคัญในเชิงพื้นฐานในแง่ที่ว่า อย่างไรเสียก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความล่าช้าในขั้นตอนและระบบรวมถึงการเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศตนเองเป็นหลัก ดังนั้น อุตสาหกรรมและประเทศใดก็ตามที่ไม่สามารถเข้าร่วมกระบวนการปรับตัวนี้ได้อย่างรวดเร็วพอ ก็จะพบว่าตัวเองถูกคู่แข่งเขี่ยให้ตกขอบไปอยู่ข้างเวทีแข่งขันสำหรับอิตาลีนั้น เส้นตายปี 1992 ควรจะเป็นตัวกระตุ้นความพยายามให้มีการชุบชีวิตใหม่แก่โครงสร้างพื้นฐานล้าสมัย โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการขนส่งและการสื่อสาร"

โอลิเวตติจึงมีการเตรียมการณ์อย่างดีเพื่อฉกฉวยความได้เปรียบจากแนวโน้มนี้ ซึ่งลัมโบร์กินี่เพิ่มเติมว่า "เราได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีความเป็นสากลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จากการที่ 60% ของทุนหมุนเวียนได้มาจากตลาดนอกอิตาลี และกว่าครึ่งของพนักงานในทั่วโลกก็ไม่ได้เป็นอิตาเลียนเสียด้วย"

กุญแจสำคัญของการที่โอลิเวตติเตรียมการณ์รับปี 1992 ก็คือ การสร้างเอกลักษณ์องค์กรใหม่ทั้งหมดเป็น "บริษัทเครือข่าย" (NETWORK COMPANY) โดยโอลิเวตติเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายที่กว้างขวางและยืดหยุ่นในแง่ความสัมพันธ์กับบริษัทอื่นๆ ซึ่งถือว่าแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับแนวความคิดของบริษัทข้ามชาติแบบเก่าที่มีรูปแบบ "สำนักงานใหญ่/สาขา" (HEAD OFFICE / FIELD OFFICE)

"เครือข่าย" เป็นกุญแจสำคัญของการปรับโครงสร้างหน่วยวิจัยและพัฒนาของโอลิเวตติเลยทีเดียว ที ดร.เฮอร์มานน์ เฮาเซอร์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเป็นริเริ่มวิธีการใหม่ และนักฟิสิกส์ผู้ถือกำเนิดในออสเตรียคนนี้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท "เอคอร์ คอมพิวเตอร์" ซึ่งโอลิเวตติเข้าซื้อกิจการและควบคุมการบริหารเมื่อปี 1985 ปัจจุบันเข้าเป็นหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของโอลิเวตติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทิศทางการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ของบริษัท

แนวความคิดใหม่ของ "บริษัทเครือข่าย" ประกอบด้วย เครือข่ายระหว่างประเทศของห้องแล็ปเชิงยุทธศาสตร์ขนาดเล็ก ควบคุมและประสานงานโดยบรรดาหัวหน้าสตาฟฟ์ผ่านทางคณะกรรมการวิจัยแล็ปเหล่านี้จะตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยซึ่งมีด้านศูนย์วิจัย หรือไม่ก็ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อไล่ตามให้ทันการพัฒนาล่าสุดทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับบริษัทที่มีการริเริ่มสร้างสรรค์อื่นๆ และเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถรับสมัครนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรหนุ่มสาวผู้มีความสามารถจากรั้วมหาวิทยาลัยทันที

จนถึงขณะนี้มีการตั้งห้องแล็ปที่ว่ารวมแล้ว 8 แห่งด้วยกัน 5 แห่งอยู่ในอิตาลี นอกนั้นอยู่ในอังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐฯ อีกประเทศละแห่ง ห้องแล็ปที่ว่าประกอบด้วย "บาริ" (วิจัยประมวลผลเอกสารระบบอัตโนมัติ) "อิฟรีอา" (พัฒนาแผงวงจรรวม,วิจัยด้านอิมเมจโฟรเซสซิ่ง พรินเตอร์และสแกนเนอร์) , "มิลาน" (ซอฟท์แวร์ระบบ) , "ปิซ่า" (อุปกรณ์ด้านซอฟท์แวร์ ระบบจัดเก็บและปัญญาประดิษฐ์) และ"ตูริน" (ปฏิกิริยาต่อคอมพิวเตอร์ควบคุมเสียง)

สำหรับในอังกฤษมีห้องแล็ป "เคมบริดจ์" วิจัยความก้าวหน้าของเครือข่ายในท้องถิ่นและโครงสร้างของหน่วยประมวลผลส่วนกลาง นอกจากนี้ ยังมีห้องแล็ปในเมืองนูแรมเบิร์ก,เยอรมนี และเมนโลพาร์คในสหรัฐฯ รับผิดชอบงานวิจัยแม่แบบของการพัฒนาระบบการทำงาน ภาษและระบบฐานข้อมูล

ห้องแล็ปเหล่านี้จะถูกจัดให้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยโอลิเวตติโน้มน้าวให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานได้ดีที่สุดในรูปของกลุ่มเล็กๆ เห็นได้จากแล็ปขนาดใหญ่ที่สุดคือ อิฟรีอาก็มีนักวิจัยเพียง 50 คน เมนโลพาร์คมี 30 คน และเคมบริดจ์มีเพียง 15 คน บรรดานักวิจัยส่วนใหญ่มักอยู่ในวัย 20 กว่าๆ เพราะโอลิเวตติเห็นว่าคนวัยนี้มีความริเริ่มสร้างสรรค์สูงสุดและไม่มีอคติต่องทฤษฎีว่าด้วยมรรควิธีในอดีต ผู้อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าสตาฟฟ์จะมีอายุมากกว่า และแต่ละคนต่างก็เลือกทีมงานฝ่ายสร้างสรรค์ของตนเอง สำหรับแต่ละโครงการนั้นแต่ละกลุ่มวิจัยจะเลือก "ผู้นำ" ของตนเองขึ้นมาและผู้นำสามารถเปลี่ยนตัวได้เมื่องานแต่ละโครงการเสร็จลง ในท้ายที่สุด ระบบขั้นตอนก็จะถูกกำจัดไปจนเกือบหมดสิ้น เพื่อกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยมีสตาฟฟ์ของสำนักงานอีกทีมหนึ่งเป็นผู้รับผิดชองงานเอกสารของฝ่ายบริหาร

ห้องแล็ปเหล้านี้ยังตั้งอยู่ในทำเลที่ดีด้วย โดยแล็ปในอิตาลีจะตั้งอยู่ใกล้กับคณะที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละแขนงของงานวิจัย แล็ปเคมบริดจ์ซึ่งเป็นฐานของเอคอร์น คอมพิวเตอร์นั้นจะตั้งอยู่ใกล้กับคาเวนดิช แล็บบอราทอรี่ส์ของมหาวิทยาลัย ส่วนแล็ปนูแรมเบิร์กก็จะตั้งอยู่ใกล้กับซิลิคอน เวลลีย์ของเยอรมนี ขณะที่เมนโลพาร์คในสหรัฐก็ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด

คณะกรรมการวิจัยซึ่งคอยควบคุมทีมวิจัยอีกทีหนึ่ง มี "ฟิลิปโป เดมอนเต้" หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของโอลิเวตติเป็นประธาน คณะกรรมการวิจัยนี้ประกอบด้วยหัวหน้าสตาฟฟ์ของแต่ละแล็ปผู้อำนวยการของแผนกปฏิบัติการ และที่ปรึกษาด้านวิจัยจากภายนอก กรรมการเหล่านี้จะประชุมกันทุก 3 เดือน เพื่อทบทวนความคืบหน้าและยุทธศาสตร์ของแผนในอนาคต เดมอนเต้ายังมีกลุ่มสตาฟฟ์ส่วนกลางสำหรับการประสานงานนอกองค์การ โครงการและการวางแผนในอีซี

ดูเหมือนอุปสรรคของความพยายามในงานวิจัยและพัฒนาเหล่านี้จะอยู่ที่การทำให้เกิดมาตรฐานด้านเทคนิคภายในตลาดร่วมยุโรป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกมากสำหรับโอลิเวตติ

บรูโน ลัมโบร์กินี่ อธิบายว่า "อีกตัวอย่างหนึ่งของการเตรียมการณ์ของโอลิเวตติ เพื่อรับมือกับตลาดร่วมอยู่ที่การสร้างมาตรฐานคอมพิวเตอร์ เราได้ใช้ความพยายามอย่างมหาศาลที่จะสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเหมือนระบบของยูนิกซ์ ซึ่งเป็นระบบเปิดที่ยอมให้มีการใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตหลายรายด้วยวิธีที่ง่ายๆ และโปร่งใส อันนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะมาตรฐานย่อมก่อให้เกิดรูปแบบของอุปสรรคทางการค้า ที่ทำให้ผู้ผลิตบางรายเท่านั้นที่เป็นผู้ได้เปรียบการขจัดอุปสรรคเหล่านี้ เป็นการแผ้วทางไปสู่ความร่วมมือระหว่างบริษัทยุโรปด้วยกันในระดับสูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะกิจการที่อยู่ในแขนงธุรกิจเทคโนโลยีข้อมูล"

"ต้นทุนของผู้ผลิตที่ต้องเสียไปเพื่อให้คงอยู่ได้ในฐานะผู้ได้เปรียบทางเทคโนโลยีนั้นสูงมาก" ลัมโบร์กินี่สรุปตบท้าย "หนทางเดียวที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้ฟื้นตัวได้จากการลงทุนก็คือ ต้องสามารถจัดจำหน่ายและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้กระจายไปตามตลาดต่างๆ ในวงกว้าง สำหรับโอลิเวตติแล้วผมพูดได้ว่าโดยทั่วไปจะต้องมองไปข้างหน้าสำหรับอุสาหกรรมแขนงต่างๆ ในยุโรป ส่วนการเลือกตลาดร่วมยุโรปนั้นก็ไม่ใช่การเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำอย่างยิ่งยวด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us