Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534
ทำไมเถลิงศักดิ์เลือกลงทุน ฮานอย มากกว่า ไซง่อน ?             
 


   
search resources

ทีเอ็น อินเตอร์เทรด
เถลิงศักดิ์ มณีเนตร
Investment
Vietnam




ทีเอ็น. เป็นกลุ่มธุรกิจที่เริ่มต้นมาจากการให้บริการด้านซักรีดในโรงแรมและภัตตาคารมานานกว่า 10 ปี การสบช่องโอกาสในการขยายธุรกิจเข้าไปในเวียดนามเมื่อ 5 ปีก่อนทำให้ปัจจุบันทีเอ็น. กลายเป็นบริษัทของคนไทยรายเดียวที่ลงทุนทำธุรกิจในเวียดนามมากถึง 5 บริษัท มีขอบข่ายของธุรกิจครอบคลุมถึง 8 ประเภท และกลายเป็นผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจะลงทุนทำธุรกิจในเวียดนาม

การเข้าไปในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่งเมื่อ 5 ปีที่แล้วเป็นรูปแบบเริ่มแรกของการเข้าไปศึกษาเวียดนามอย่างจริงจังของผู้บริหารกลุ่มทีเอ็น. ภาพของคนทั่วไปที่สูบบุหรี่ต่างประเทศและดื่มน้ำอัดลมกระป๋องแสดงให้เห็นถึงตลาดใหญ่ที่น่าจะมีกำลังซื้อในระดับหนึ่งและอนาคตก็น่าจะดีด้วย

ความตั้งใจที่จะขยายธุรกิจในเวียดนามจากภาพที่ได้พบเห็นทำให้ผู้บริหารของกลุ่มฯ กลับมาศึกษาเพิ่มเติมและพยายามติดต่อสถานฑูตและหน่วยงานของเวียดนามที่ไปทำความรู้จักสมัยที่เข้าไปท่องเที่ยว

หลังจากนั้น 2 ปีบริษัททีเอ็น. อินเตอร์จึงเกิดขึ้นพร้อมกับความเอาจริงจังในการเปิดตลาดธุรกิจในเวียดนาม

เถลิงศักดิ์ มณีเนตร กรรมการผู้จัดการของทีเอ็น. อินเตอร์เทรดเล่าให้ฟังว่า "ในปลายปี 2531 เราเอาจริงเอาจังด้วยการขอวีซ่าเดินทางเข้าไปในเวียดนามใหม่อีกครั้ง และในครั้งนั้นเราได้ไปเจรจากับองค์การเภสัชกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม ซึ่งพิจารณาแล้วว่าน่าจะเป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและมีศักยภาพในการเซ็นสัญญาหรือมีสิทธิทำอะไรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงเริ่มทำการค้าแบบซื้อมาขายไปด้วยการสั่งวัตถุดิบจากสิงคโปร์ รวมถึงยาสำเร็จรูปจากเมืองไทยขายให้กับองค์การเภสัชกรรม"

จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ทีเอ็น.ฯ เริ่มมองเห็นช่องทางที่จะขยายธุรกิจต่อเนื่องออกไปด้วยการเข้าไปในตลาดผ้าอนามัย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ยังไม่มีบริษัทใดเข้าไปอย่างจริงจังโดยเฉพาะสินค้าที่เวียดนามผลิตขึ้นเองก็เป็นสินค้าที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร

ทีเอ็น.ฯ เริ่มทดลองนำผ้าอนามัยสำเร็จรูปจากประเทศไทยเข้าไปล็อตแรกจำนวน 200 กล่อง ปรากฏว่าขายหมดภายใน 1 วัน การที่ตลาดเปิดรับอย่างรวดเร็วทำให้ผู้บริหารของทีเอ็น. มีความคิดที่จะลงทุนผลิตผ้าอนามัยในเวียดนาม

แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากฎหมายการลงทุนของเวียดนามไม่เป็นที่ยอมรับ รวมถึงนโยบายของประเทศไทยขณะนั้นก็ไม่ชัดเจนจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในเวียดนาม

ทีเอ็น.ฯ แก้ปัญญาจากความเสี่ยงที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตด้วยการเจรจาร่วมทุนกับองค์การเภสัชกรรมของเวียดนาม โดยพยายามต่อรองให้องค์การเภสัชฯ เป็นฝ่ายลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่าจนกระทั่งสำเร็จและได้จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นใช้ชื่อว่า "บริษัท ที.เอ็น.วีนาไทย จำกัด" ด้วยสัดส่วนการลงทุนขณะนั้นคือ 65:35 จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด 16.5 ล้านบาท

ต้นปี 2533 ทีเอ็น.ฯ ได้สั่งซื้อเครื่องจักรเก่าสำหรับผลิตผ้าอนามัยเข้าไปติดตั้งในโรงงานโดยทำการผลิตผ้าอนามัยภายใต้ชื่อยี่ห้อ "SOFTINA" ออกขายในเวียดนามด้วยกำลังการผลิตประมาณ 3 ล้านชิ้นต่อเดือนและขายในราคาห่อละ 9.50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาผ้าอนามัยที่ผลิตขายในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากหน่วยงานของรัฐบาลเวียดนาม รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า

ต่อจากนั้นอีกไม่นานทางทีเอ็น.ฯ จึงได้สั่งซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่เสริมอีกหนึ่งตัวเมื่อสินค้าที่ผลิตออกมาได้รับความนิยมในตลาดเวียดนาม และช่วงนี้เองที่ทีเอ็น.วีนาไทยได้รับการแต่งตั้งการบริษัทอนามัยภัณฑ์ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตผ้าอนามัย ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักดังกล่าวในประเทศเวียดนามในปลายปีที่แล้ว และผลจากการนำเครื่องจักรใหม่ ไปติดตั้งในโรงงานทำให้สัดส่วนของการร่วมทุนเปลี่ยนไปคือ ทางทีเอ็น.ฯ ถือหุ้น 70% และองค์การเภสัชกรรมเวียดนามถือหุ้นที่เหลือ 30%

หลังจากเดินเครื่องจักรผลิตผ้าอนามัยเครื่องไปได้ระยะหนึ่ง ทางผู้บริหารของทีเอ็น.ฯ จึงได้ส่งเอกสารต่างๆ เพื่อขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของเวียดนามเกี่ยวกับการลงทุน

จนกระทั่งต้นปี 2534 ทีเอ็น.วีนาไทยจึงได้รับใบอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจากรัฐบาลเวียดนามพร้อมกันกับใบอนุญาตนำเข้ายารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนามอีกด้วย

นับเป็นบริษัทไทยบริษัทแรกและบริษัทเดียวทางเหนือที่ได้รับเอกสิทธิ์ในการจัดตั้งบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมายของเวียดนาม

ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เองได้กลายเป็นความได้เปรียบสำหรับทีเอ็น. ต่อการขยายโครงการลงทุนอื่นๆ ในเวียดนามในเวลาต่อมา

"คนส่วนใหญ่มักจะเลือกไปลงทุนทางใต้ของเวียดนามคือไซ่งอนเนื่องจากที่นั่นเป็นเมืองเศรษฐกิจ กำลังซื้อส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่นี่ การค้าขายอยู่ในลักษณะของโลกเสรีมากกว่าทางเหนือแต่ทีเอ็น. เลือกที่จะไปเปิดตลาดทางเหนือของเวียดนามคือ ฮานอย ก่อนด้วยเหตุผลในเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจซึ่งมีน้อยกว่า ดังนั้นความเสี่ยงที่บริษัทใหม่จะได้รับจากการเข้าตลาดจึงมีน้อย และการที่ทางเหนือเป็นศูนย์รวมแก่งอำนาจทั้งหมดของเวียดนามเป็นเหตุผลสำคัญของการเลือกที่จะลงทุนในฮานอยแทนที่จะเป็นไซ่งอน ถึงแม้ว่าการเข้าไปทีแรกจะยากก็ตามแต่เมื่อเข้าไปได้แล้วการจะขยายธุรกิจออกไปจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป" เถลิงศักดิ์อธิบายถึงเหตุผลของการเข้าไปลงทุนที่ฮานอย

ทีเอ็น.วีนาไทย มีโครงการขยายการลงทุนออกไปหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้วนั่นคือการสร้างโรงงานผลิตผ้าอนามัย SOFTINA ที่ไซ่ง่อน นอกจากนี้ยังขยายธุรกิจไปด้านเรียลเอทเตทด้วยการปรับปรุงสถานที่แห่งหนึ่งในฮานอย เพื่อสร้างเป็นโรงแรมสำหรับเป็นศูนย์ให้ข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจและติดต่อธุรกิจในเวียดนาม ทั้งนี้เป็นเพราะโรงแรมที่มีอยู่ทางเหนือ 7 แห่งหรือประมาณ 1,000 ห้องไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และค่าบริการก็ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสภาพของห้องพักคือเฉลี่ยราคาประมาณ 35-70 เหรียญสหรัฐ

โรงแรมที่ทีเอ็น. วีนาไทยจะจักสร้างมีทั้งหมด 60 ห้อง โดยใช้งบในการปรับปรุงประมาณ 25 ล้านบาท ส่วนสถานที่ได้ติดต่อขอเช่าจากหน่วยงานรัฐบาลเวียดนามในสัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปีในวงเงิน 10 ล้านบาทและจ่ายค่าเช่าเป็นรายปีอีกโดยเฉลี่ยตารางเมตรละ 5-10 บาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้จะเริ่มได้ในราวต้นปีหน้า

และโครงการที่อยู่ในระหว่างการศึกษาก็คือการตั้งโรงงานผลิตตัวยาบางตัวที่ตลาดไปได้ดีแทนการนำเจ้าจากประเทศอื่นโดยขยายผ่านทางองค์การเภสัช และในอนาคตจะมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายยาออกไปอีกด้วย

ช่วงระยะเวลา 3 ปีของการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในเวียดนามประสบการณ์ในการติดต่อรวมถึงเรื่องราวในเวียดนามทำให้ผู้บริหารของทีเอ็น.ได้เรียนรู้ถึงขั้นตอน ระเบียบและวิธีการของเวียดนามเป็นอย่างดี ดังนั้นทีเอ็น. วีนาไทยจึงเปิดบริการให้คำปรึกษาการลงทุนในเวียดนาม รวมถึงการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอันเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งของบริษัทด้วย

เถลิงศักดิ์ได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับการเข้าไปลงทุนในเวียดนามว่า "ควรศึกษาเวียดนามในแง่ของกฎระเบียบให้ถ่องแท้ ตัวเองจะต้องมีความเข้าใจและความพร้อม เวียดนามเป็นตลาดที่มีอนาคตดี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเข้าไปทำแล้วจะได้กำไรทันที มันอาจจะมีปัญหาบ้างในช่วงแรก นั่นเป็นแล้วเรื่องแน่นอนเพราะระบบการเงินของเวียดนามยังไม่พรั่งพรูเหมือนบ้านเรา ถ้าจะทำธุรกิจอะไรในเวียดนามควรจะมองการลงทุนระยะยาว อย่ามองสั้นๆ อย่างเช่นการทำอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วยการนำวัตถุดิบที่มีในเวียดนามส่งออกขายต่างประเทศและข้อสำคัญควรหาพาร์ตเนอร์ให้ถูกต้อง"

ธุรกิจในเครือข่ายของกลุ่มทีเอ็น.
ชื่อบริษัท ประเภทธุรกิจ
ทีเอ็น.ลอนดรี แอนด์ ดรายคลีนนิ่ง รับซักรีดจากกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม
ทีเอ็น.ลอนดรี แอนด์ แอสโซซิเอท รับซักรีดจากกลุ่มลูกค้าอพาร์ทเม้นท์
ทีเอ็น.อินเตอร์ซัพพลาย (สิงคโปร์) ตัวแทนจัดหาสินค้าทั่วทุกมุมโลก
ทีเอ็น.แอมเท็ค ผลิตแอร์ยี่ห้อเอ็มเท็ค
ทีเอ็น.อินเตอร์เทรด ผลิตผ้าอนามัย
  ขายเครื่องจักรผลิตผ้าอนามัย
  นำเข้ายา
  รับเป็นที่ปรึกษาโครงการลงทุนในเวียดนาม
  ทำธุรกิจเรียลเอสเตท

ปัญหาหนึ่งที่นักลงทุนจะต้องเผชิญคือค่าเงินด่องของเวียดนามที่ตกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นราคาสินค้าจึงต้องมีการปรับกันตลอดเวลาเช่นกัน (ในระยะเวลา 3 ปี ค่าเงินด่องลดค่าลงจาก 3,700 ด่องต่อ 1 ดอลลาร์เป็น 11,000 ด่องต่อ 1 ดอลลาร์ในปัจจุบัน)

เถลิงศักดิ์ได้แนะนำวิธีง่ายที่สุดที่จะปลอดภัยจากความเสี่ยงที่จะเก็บเงินด่องไว้คือ การนำเงินด่องที่ได้มาซื้อสินค้าในเวียดนามเก็บไว้และเอาสินค้านั้นขายในอนาคตอย่างเช่นการซื้อวัตถุดิบแล้วส่งกลับมาขายในประเทศทไทย "ทุกคนต้องเร็วเสมือนความหวังของเวียดนามแข็งขึ้นก็คือ การที่อเมริกาจะยกเลิกกฎหมายห้ามค้ากับเวียดนาม และเวียดนามเองสามารถสร้างความเชื่อให้กับโลกภายนอก จะทำให้เวียดนามมีเงินตราต่างประเทศเข้าไปเกื้อหนุนมากขึ้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us